Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62643
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิเทศ ตินณะกุล-
dc.contributor.authorวิทยา อรรถโยโค-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-09T08:15:53Z-
dc.date.available2019-08-09T08:15:53Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745685631-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62643-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างของสถาบันครอบครัวในสังคมชนบทไทยที่แตกต่างกัน กับการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการศึกษาของสมาชิกในครอบครัว โดยมีสมมติฐานว่า ลักษณะโครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวได้แก่ การศึกษา อาชีพ และรายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์ในเชิงสอดคล้องกับการเข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดแผนการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยา-คาร 221 คน จาก 221 ครอบครัว โดยใช้แบบสอบถามเป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ ได้ใช้ค่าสถิติ G (GAMMA) ในการวิเคราะห์หาทิศทางความสัมพันธ์ และทดสอบความสัมพันธ์ตามสมมติฐานด้วยค่า X2 และการควบคุมตัวแปร ผลการวิจัยพบว่าลักษณะโครงสร้างของครอบครัวที่เข้าไปมีอิทธิพลต่อการกำหนดแผนการเรียนของนักเรียนในเชิงสอดคล้องมากที่สุดคือ ลักษณะโครงสร้างทางด้านการศึกษา และรองลงมา คือ โครงสร้างทางด้านอาชีพ ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (G = .33 และ .25) ส่วนลักษณะโครงสร้างของครอบครัวทางด้านรายได้นั้นเข้าไปมีอิทธิพลในระดับที่ต่ำมาก จนอาจกล่าวได้ว่าไม่มีอิทธิพลเลย ทางด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพบว่า อิทธิพลของโครงสร้างครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเชิงสองคล้องคือ ลักษณะโครงสร้างทางด้านการศึกษาเท่านั้น ส่วนลักษณะโครงสร้างของครอบครัวทางด้านอาชีพและรายได้นั้น ถือได้ว่าไม่ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในเชิงสอดคล้องเลย จากผลการวิจัยทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า ลักษณะโครงสร้างของครอบครัวในสังคมชนบทไทยที่ก่อให้เกิดความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ลักษณะโครงสร้างทางด้านการศึกษา ซึ่งใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการแบ่งชนชั้นในสังคมได้ เพราะว่าความแตกต่างกันทางด้านการศึกษาเป็นเหตุเป็นผลให้บุคคลตลอดจนครอบครัวสามารถรักษาสถานภาพเดิมและเลื่อนชั้นทางสังคมให้สูงขึ้นได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to investigate the influences of family structures on education of their members. It was hypothesised that there was a positive relationship between the socio-economic structure of the family, including education, occupation and family income, and their children’s plan of education and achievement. The data was collected from 221 students of Phayakkhaphumwithayakarn school and their families by method of structured interview. To test the research hypothesis, the chi-square test and gamma correlation were used. From the research result, it was found that the educational and occupational structures of families had significantly influences upon the students’ plan of education at .05 level. Family income seemed to have little or no influence. In addition, their was a significant relationship between educational structure and students’ achievement. For occupation and family income, however, both did not have significant influences upon students’ achievement. In conclusion, it may be drawn from the research results that the educational structure was the significant structure indicating the differences of the structure of Thai rural families. Also, it can be used as a criterion variable indicating social class since, education can help individuals and their families maintain or up grade their status-quo.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครอบครัวชนบท -- ไทยen_US
dc.subjectครอบครัว -- ไทยen_US
dc.titleอิทธิพลโครงสร้างของครอบครัวในชนบทไทยต่อการศึกษา ของสมาชิกในครอบครัว : ศึกษารายกรณีโรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคามen_US
dc.title.alternativeInfluences of family structure on the education of family members in rural Thailand : A case study of phayakkhaphum-withayakarn school phayakkhaphum phisai district mahasarakham provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสังคมวิทยามหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสังคมวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Withaya_au_front.pdf12.96 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_au_ch1.pdf30.37 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_au_ch2.pdf8.1 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_au_ch3.pdf20.62 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_au_ch4.pdf47.7 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_au_ch5.pdf49.97 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_au_ch6.pdf9.89 MBAdobe PDFView/Open
Withaya_au_back.pdf19.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.