Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62648
Title: ทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ
Other Titles: Consumers' attitude in Bangkok metropolitan area towards canned fish in tomato sauce
Authors: วิทิต ธีระสานต์
Advisors: สุรพัฒน์ วัชรประทีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปลากระป๋อง -- การตลาด
ผู้บริโภค
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปลากระป๋องซอสมะเขือเทศ เป็นอาหารกระป๋องประเภทหนึ่งซึ่งกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตลาดภายในประเทศและยังมีลู่ทางในการส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศที่ดีอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากในชีวิตประจำวันทุกคนต้องรีบเร่งเพื่อออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่ค่อยมีเวลาในการที่จะซื้อของสดมาประกอบเป็นอาหารรับประทาน ปลากระป๋องจึงเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการช่วยเหลือให้แม่บ้านได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการประกอบอาหารยิ่งขึ้น ตลอดจนในท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากทะเล และไม่สามารถที่จะหาซื้ออาหารทะเลมารับประทานได้ ปลากระป๋องก็มีส่วนช่วยที่จะทำให้ผู้บริโภคในแถบนั้นได้มีโอกาสบริโภคปลาทะเลในลักษณะบรรจุกระป๋องได้อีกด้วย พร้อมทั้งยังสามารถเก็บไว้รับประทานได้เป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้เองผู้เขียนจึงมีความสนใจในเรื่องนี้ และได้ทำการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เพื่อนำมาเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ การศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนได้เน้นหนักในด้านการวิจัย โดยการออกแบบสอบถาม เพื่อให้ทราบถึงทัศนคติของผู้บริโภคต่อปลากระป๋องซอสมะเขือเทศ โดยศึกษาเฉพาะผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาเรื่องนี้ก็คือ จะทำให้ทราบถึงแนวทางในการปรับปรุงกลยุทธทางด้านการตลาดของปลากระป๋องซอสมะเขือเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ และยังเป็นแนวทางในการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจหรือผู้ผลิตรายใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมประเภทนี้ การศึกษาในเรื่องนี้ ทำให้ทราบถึงสภาพตลาดของปลากระป๋องซอสมะเขือเทศว่าเป็นประเภทตลาดการแข่งขันแท้จริง ตัวผลิตภัณฑ์มีลักษณะใกล้เคียงกัน ช่องทางการจำหน่ายมีทั้งการจำหน่ายโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย จำหน่ายโดยผ่านพ่อค้าส่งและจำหน่ายโดยตรงกับพ่อค้าปลีก ราคาจำหน่ายส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกัน เว้นแต่ขนาดของการบรรจุจะแตกต่างกันเท่านั้น ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ส่วนใหญ่จะไม่มีการโฆษณา แต่สำหรับผู้ผลิตที่ใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์และวิทยุจะได้รับความนิยมมากกว่าผู้ผลิตรายอื่น ๆ ที่ไม่ใช้การโฆษณา ผลจากการศึกษาและวิเคราะห์ทำให้ทราบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะรู้จักปลากระป๋องซอสมะเขือเทศ โดยเห็นจากการโฆษณาทางโทรทัศน์มากที่สุด และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะเคยรับประทาน จะมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่เคยรับประทานโดยให้เหตุผลว่าชอบรับประทานของสด ๆ มากกว่าและผู้ที่ไม่เคยรับประทานนี้ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าจะไม่ซื้อมารับประทานอีก ส่วนผู้ที่เคยรับประทานส่วนใหญ่จะชอบรับประทานของที่ผลิตภายในประเทศมากกว่าของที่ผลิตจากต่างประเทศเนื่องจากมีทัศนคติว่า คุณภาพของปลากระป๋องซอสมะเขือเทศที่ผลิตภายในประเทศมีคุณภาพพอ ๆ กับของต่างประเทศและนิยมยี่ห้อ “โรซ่า ซาร์ดีน” มากที่สุด โดยให้เหตุผลว่า ชอบในรสชาติเป็นสำคัญ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเป็นผู้ซื้อปลากระป๋องซอสมะเขือเทศด้วยตนเอง ในระดับราคา 5 ถึง 10 บาท และมีความเห็นว่าการบรรจุหีบห่อนั้นอยู่ในระดับพอใช้ และราคาอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับคุณภาพ โดยส่วนใหญ่จะซื้อจากร้านค้าปลีกข้างบ้านและนิยมซื้อเพียง 1 ครั้งใน 1 สัปดาห์ และครั้งละ 2 ถึง 4 กระป๋อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เคยซื้อปลากระป๋องซอสมะเขือเทศไปเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้าน การศึกษาในเรื่องนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะพอสรุปได้ดังนี้คือ1. ด้านผลิตภัณฑ์ ควรให้ความสนใจในเรื่องคุณภาพและรสชาติของผลิตภัณฑ์โดยสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ มีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพ และขอคำรับรองคุณภาพจากกระทรวงอุตสาหกรรม มีการผลิตปลากระป๋องที่มีรสชาติที่แปลก ๆ ใหม่ ๆ ออกสู่ท้องตลาด 2. ด้านราคา ควรมีการกำหนดราคาตามคุณภาพของปลากระป๋องอย่างแท้จริง กล่าวคือ ปลากระป๋องที่มีคุณภาพต่ำ เนื้อปลาเละ น้ำซอสไม่ใช่ซอสมะเขือเทศแท้ ก็ควรใช้ราคาจำหน่ายที่ต่ำ ส่วนปลากระป๋องที่มีคุณภาพดีมีการคัดเกรดของเนื้อปลาก็สามารถตั้งราคาให้สูงหรือเหมาะสมกับคุณภาพที่ดีนั้นได้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสตัดสินใจเลือกซื้อได้ตามความต้องการ โดยอาศัยราคาเป็นหลัก และเป็นราคาที่ยุติธรรมด้วย3. ด้านช่องทางการจำหน่าย ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายควรเน้นหนักในการจำหน่ายสู่ร้านค้าปลีกให้มากที่สุด เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้อจากช่องทางการจำหน่ายประเภทนี้ 4. ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ในด้านการโฆษณาควรใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ดีที่สุด และพยายามโฆษณาให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริโภคปลากระป๋องซอสมะเขือเทศ เช่น ความสะดวกในการรับประทาน การประหยัดเวลา ราคาเหมาะสม และมีคุณค่าทางอาหารเช่นเดียวกับของสด พร้อมกันนี้ก็อาจมีการส่งเสริมการจำหน่ายไปสู่ร้านค้าและผู้บริโภคอีกด้วย โดยการให้ส่วนลดแก่ร้านค้า การแจกของแถมแก่ผู้บริโภคและการจัดรายการชิงโชคต่างๆ เพื่อดึงให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น 5. ด้านการบรรจุ อาจจะมีการใช้กระป๋องบรรจุชนิดใหม่ที่สามารถเปิดได้ทันทีเพื่ออำนวยความสะดวกในการที่ผู้บริโภคสามารถ นำปลากระป๋องไปบริโภคได้ทุกสถานที่และทุกโอกาส เช่น ไปค้างแรมตามสถานที่ต่าง ๆ หรือทำบุญใส่บาตร เป็นต้น
Other Abstract: Canned Fish in Tomato Sauce is a kind of caned food which is now in great demand both in the local and export markets. It is very popular with consumers because it is time-saving, which of course suits our modern way of living, and also with consumers in places distant from the sea where seafood is scare. Because of its popularity and practicality, the author pays attention to this case and study for thesis. For this purpose, the author has concentrated on research from questionnaires concerning consumers’ attitude towards Canned Fish in Tomato Sauce within the Bangkok metropolitan area only. This study aims to investigate certain aspects of improving the product, its marketing and help guide new investors who wish to introduce improved marketing techniques for this industry. The study, indicates that the market for Canned Fish in Tomato Sauce is a Pure Competition market, there are a variety of brands at similar prices, diferring only in containers. Distribution channels can be divided into agents, wholesalers and retailers, and promotion for the popular brands are advertised with television as the major media. The result of this research shows that for the most part consumers know a certain brand because they have seen it on television and they are used to eat it too. The main reason some consumer never eat canned fish is because they prefer fresh food. The research also shows that the majority of consumer prefer canned fish produced in Thailand to exported brands. Consumers’ attitude towards the packaging is fair and feel prices to be reasonable. Most purchase 2 to 4 cans from local groceries once a week. Most part consumers never purchase canned fish for feeding their pets. From the above research, it is suggested that…1. In production, producers ought to pay attention to the quality and taste of Canned Fish in Tomato Sauce, They should promote public confidence in the standard of products, and try to produce new tastes.2. In pricing, producers ought to standardize prices in relation to quality, i.e. poor-quality fish and sauce should be low-priced while a good-grade fish with real tomato sauce can get a higher price. This would provide consumers with a variety of choices. 3. In distribution, producers ought to concentrate on retail stores which consumers usually buy through this channel. 4. To promote products, producers ought to use television as their major media for advertising and emphasis the usefulness of the product, such as the convenience in preparation, its time-saving, its fair price, its good taste, etc. Also, promotion can be achieved through discounts, premiums, and large purchases contests. 5. In packaging, producers can improve containers by attaching a ring to make it easier to open. This will also make it more practical when consumers go on a trips or camping or even when making an offering to the monks.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62648
ISBN: 9745631086
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vitit_Th_front.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Vitit_Th_ch1.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open
Vitit_Th_ch2.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open
Vitit_Th_ch3.pdf5.9 MBAdobe PDFView/Open
Vitit_Th_ch4.pdf26.21 MBAdobe PDFView/Open
Vitit_Th_ch5.pdf8.83 MBAdobe PDFView/Open
Vitit_Th_back.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.