Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62650
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิฤดี เหมะจุฑา-
dc.contributor.advisorเทียมจันทร์ ลีพึ่งธรรม-
dc.contributor.authorวินัดดา ชุตินารา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-10T03:49:58Z-
dc.date.available2019-08-10T03:49:58Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746325957-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62650-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538-
dc.description.abstractจุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมของการผสมผสานงานระบบการกระจายยาและการบริบาลผู้ใช้ยา รวมถึงศึกษาผลการดำเนินงาน ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความสัมพันธ์ต่อผู้ป่วยโดยตรงและเพิ่มบทบาทของเภสัชกรในการร่วมกันทำงานกับทีมการรักษา ทำการศึกษาในผู้ป่วยรับใหม่ 200 ราย ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2537 ถึง 31 มกราคม 2538 ผลการศึกษาได้จำแนกเป็น ปัญหาที่เกิดจากยา เวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายในการให้บริบาล รวมทั้งการสำรวจด้านทัศนคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากแบบสอบถาม การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ระบบการกระจายยา ดำเนินการจัดทำบัญชียาสำรอง การควบคุมดูแลการเบิกจ่ายยาสำรองประจำหอผู้ป่วย กำหนดระบบตรวจสอบยาหมดอายุ-เสื่อมสภาพ และจัดระบบยาหมุนเวียน รวมถึงการจัดเก็บยาเหลือใช้-ค้างสต๊อกบนหอผู้ป่วย 2. การบริบาลผู้ป่วย : ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลทุกขั้นตอนเกี่ยวกับการใช้ยา ได้แก่ การสั่งใช้ยา การคัดลอกคำสั่ง การจ่ายยา การบริหารยา และผลจากการใช้ยา ตลอดจนการให้คำแนะนำการใช้ยาด้วยตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ผลการศึกษาเมื่อใช้ระบบผสมผสานพบว่าในส่วนของระบบการกระจายยา สามารถลดมูลค่ายาสำรอง-ค้างสต๊อก เป็นจำนวนเงิน 196,088.91 บาท และสามารถกำจัดยาหมดอายุ-เสื่อมสภาพบนหอผู้ป่วยที่พบ มูลค่า 27,912.84 บาท ทำให้เกิดการหมุนเวียนของยาที่คงค้าง คิดเป็นมูลค่า 23,661.40 บาท ส่วนผลการดำเนินงานด้านการบริบาลผู้ป่วยเมื่อค้นหาปัญหาจากเกณฑ์ของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา 745 ปัญหา เป็นความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการสั่งใช้ยาร้อยละ 12.76 การคัดลอกคำสั่งใช้ยาลงใบสั่งร้อยละ 1.7 ลงในเอกสารบริหารยาร้อยละ 8.83 การจ่ายยาร้อยละ 1.97 และการบริหารยาร้อยละ 5.23 ความคลาดเคลื่อนที่พบพิจารณาว่ามีโอกาสหรือเป็นปัญหาที่เกิดจากยา และดำเนินการประสานงาน โดยผลการดำเนินการแก้ไขหรือป้องกันปัญหา พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้การยอมรับในการแก้ไขหรือป้องกันปัญหา คิดเป็นร้อยละ 82.93-100.00 เวลาที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 10.59 นาที และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยประมาณ 129 บาทต่อผู้ป่วยหนึ่งราย จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเภสัชกรหนึ่งคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนการกระจายยา และให้การบริบาลผู้ป่วยตามรูปแบบที่กำหนดได้-
dc.description.abstractalternativeจุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมของการผสมผสานงานระบบการกระจายยาและการบริบาลผู้ใช้ยา รวมถึงศึกษาผลการดำเนินงาน ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างความสัมพันธ์ต่อผู้ป่วยโดยตรงและเพิ่มบทบาทของเภสัชกรในการร่วมกันทำงานกับทีมการรักษา ทำการศึกษาในผู้ป่วยรับใหม่ 200 ราย ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลราชวิถี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2537 ถึง 31 มกราคม 2538 ผลการศึกษาได้จำแนกเป็น ปัญหาที่เกิดจากยา เวลาที่ใช้และค่าใช้จ่ายในการให้บริบาล รวมทั้งการสำรวจด้านทัศนคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากแบบสอบถาม การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.ระบบการกระจายยา ดำเนินการจัดทำบัญชียาสำรอง การควบคุมดูแลการเบิกจ่ายยาสำรองประจำหอผู้ป่วย กำหนดระบบตรวจสอบยาหมดอายุ-เสื่อมสภาพ และจัดระบบยาหมุนเวียน รวมถึงการจัดเก็บยาเหลือใช้-ค้างสต๊อกบนหอผู้ป่วย 2. การบริบาลผู้ป่วย : ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลทุกขั้นตอนเกี่ยวกับการใช้ยา ได้แก่ การสั่งใช้ยา การคัดลอกคำสั่ง การจ่ายยา การบริหารยา และผลจากการใช้ยา ตลอดจนการให้คำแนะนำการใช้ยาด้วยตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม ผลการศึกษาเมื่อใช้ระบบผสมผสานพบว่าในส่วนของระบบการกระจายยา สามารถลดมูลค่ายาสำรอง-ค้างสต๊อก เป็นจำนวนเงิน 196,088.91 บาท และสามารถกำจัดยาหมดอายุ-เสื่อมสภาพบนหอผู้ป่วยที่พบ มูลค่า 27,912.84 บาท ทำให้เกิดการหมุนเวียนของยาที่คงค้าง คิดเป็นมูลค่า 23,661.40 บาท ส่วนผลการดำเนินงานด้านการบริบาลผู้ป่วยเมื่อค้นหาปัญหาจากเกณฑ์ของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา 745 ปัญหา เป็นความคลาดเคลื่อนในขั้นตอนการสั่งใช้ยาร้อยละ 12.76 การคัดลอกคำสั่งใช้ยาลงใบสั่งร้อยละ 1.7 ลงในเอกสารบริหารยาร้อยละ 8.83 การจ่ายยาร้อยละ 1.97 และการบริหารยาร้อยละ 5.23 ความคลาดเคลื่อนที่พบพิจารณาว่ามีโอกาสหรือเป็นปัญหาที่เกิดจากยา และดำเนินการประสานงาน โดยผลการดำเนินการแก้ไขหรือป้องกันปัญหา พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องให้การยอมรับในการแก้ไขหรือป้องกันปัญหา คิดเป็นร้อยละ 82.93-100.00 เวลาที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 10.59 นาที และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยประมาณ 129 บาทต่อผู้ป่วยหนึ่งราย จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเภสัชกรหนึ่งคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนการกระจายยา และให้การบริบาลผู้ป่วยตามรูปแบบที่กำหนดได้ The objective of this study was to determine the usefulness of the integrated system between drug distribution and primary pharmaceutical care with the goal of improving relationship between pharmacist-patients and other health care team. The study was conducted at Rajavithi hospital between October, 1st 1994-January, 31st 1995. 200 patients were admitted to a general medicine ward were included in this study. Results of the study were expressed in terms of drug related problems (DRPs), time and expenses in providing patient care, as well as impact on floor stocks, Attitudes of all discipline involved were surveyed by questionaires. The model consisted of 2 structured activities; (1) drug distribution : restriction of floor stock items, drug return policy, periodic inspection and refilling of floor stock ; (2) patient care : indentification, prevention and resolution of DRPs. The amount of floor stock was decreased by 196,088.91 baht ; 27,912.84 baht worth of deteriorated drug were found and discarded ; and 23,661.40 baht worth of drugs that could be returned for use. Among 745 medication errors observed ; 12.76% were prescribing errors, 1.74% were transcribing to order sheet errors, 8.83% were transcribing to other administration forms error, 1.97% were dispensing errors and 5.23% were administration errors. These errors would be determined as actual or potential DRPs and would be averted. Pharmacist recommendations were 82.93-100.00% accepted. Time spent was 10.59 minutes/patient and the estimated cost was 129 baht/patient. The study results demonstrated the usefulness of model which combined distributive and clinical functions in providing pharmaceutical care.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา-
dc.subjectการใช้ยา-
dc.subjectเภสัชกร-
dc.subjectHospitals -- Drug distribution system-
dc.subjectDrug utilization-
dc.subjectPharmacists-
dc.titleการผสมผสานงานระบบการกระจายยาและการบริบาลผู้ใช้ยาระดับต้น ในโรงพยาบาลราชวิถี-
dc.title.alternativeIntegrated of drug distribution system and primary pharmaceutical care at Rajavithi Hospital-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเภสัชกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winadda_ch_front.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open
Winadda_ch_ch1.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Winadda_ch_ch2.pdf12.63 MBAdobe PDFView/Open
Winadda_ch_ch3.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open
Winadda_ch_ch4.pdf24.09 MBAdobe PDFView/Open
Winadda_ch_ch5.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open
Winadda_ch_back.pdf34.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.