Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62664
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพาลาภ สิงหเสนี-
dc.contributor.authorวินิจ ตันสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-13T06:28:58Z-
dc.date.available2019-08-13T06:28:58Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62664-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528-
dc.description.abstractการศึกษาวิธีการเพาะพันธุ์และเลี้ยงดูปลาซิวหนวดยาว (Esomus metallicus Ahl) ในสภาพห้องปฏิบัติการสำหรับการนำมาใช้เป็นสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการวาริชพิษวิทยานั้น ได้ใช้พ่อแม่ปลาที่มีลักษณะดีและสมบูรณ์เพศซึ่งจับและรวบรวมพันธุ์ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยปล่อยลงในตู้กระจกเพื่อเพาะพันธุ์ อัตราปล่อยปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้เท่ากับ 1 ต่อ 2 ปล่อยปลาในตอนเย็น พบว่าปลาจะวางไข่ในตอนเช้ามืดของวันรุ่งขึ้น แม่ปลาขนาด 6.5-7.2 เซนติเมตร น้ำหนัก 2.0-2.4 กรัม ได้วางไข่ครั้งหนึ่งๆประมาณ 2,200-3,800 ฟอง อัตราการผสมร้อยละ 70.1 อัตราฟักร้อยละ 62.1 ไข่ที่แม่ปลาปล่อยออกมาใหม่ๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0 มิลลิเมตร เมื่อพองน้ำขยายตัวออกมีเส้นผ่าศูนย์กลางเป็น 1.3 มิลลิเมตร ไข่ปลาซิวหนวดยาวเป็นไข่จมติดกับพื้นตู้กระจก ลูกปลาฟักออกเป็นตัวภายใน 12-14 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 28-30 °C ลูกปลาที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ มีขนาดความยาวเฉลี่ย 2.0 มิลลิเมตร หลังจากฟักออกเป็นตัวแล้ว 36-40 ชั่วโมง ถุงไข่แดงจะยุบหมดและเริ่มกินอาหาร อาหารที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาในแต่ละช่วงอายุได้แก่ ไข่แดงต้มสุกบดละเอียด ไรแดง และอาหารสำเร็จรูป พบว่าลูกปลามีขนาดโตขึ้นจาก 2.2 เป็น 27.4 มิลลิเมตรในเวลา 45 วัน โดยมีอัตราการรอดตายร้อยละ 15.3 การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของพาราควอต เพนตาคลอโรฟีนอลและคาร์บาริลต่อปลาซิลหนวดยาว ปลาตะเพียนขาว และปลาหางนกยูง ซึ่งมีขนาดและพื้นที่ผิวตัวเท่ากัน เพื่อเปรียบเทียบความไวสัมพัทธ์ของปลาทั้งสามชนิดต่อสารเคมีดังกล่าว โดยพิจารณาจากค่า LC50 และช่วงแห่งความเชื่อมั่นที่ 95% ที่ระยะเวลา 96 ชั่วโมง พบว่าปลาซิวหนวดยาวมีความไวของการตอบสนองต่อพาราควอตและเพนตาคลอโรฟีนอลใกล้เคียงกับปลาตะเพียนขาวและมากกว่าปลาหางนกยูง มีความไวของการตอบสนองต่อคาร์บาริลน้อยกว่าปลาตะเพียนขาวแต่ใกล้เคียงกับปลาหางนกยูง ปลาซิวหนวดยาวมีความเหมาะสมในการนำมาใช้เป็นสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการวาริชพิษวิทยา เนื่องจากไม่ยุ่งยากต่อการเลี้ยงดูในห้องปฏิบัติการ สามารถเลี้ยงรวมกลุ่มได้อย่างหนาแน่น มีความอดทนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในห้องปฏิบัติการ สามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์ในตู้กระจกในสภาพของห้องปฏิบัติการโดยวิธีการเลียนแบบธรรมชาติ ขนาดเหมาะสมตามวัตถุประสงค์ และมีความไวต่อพาราควอตและเพนตาคลอโรฟีนอล-
dc.description.abstractalternativeMinnows of flying barb (Esomus metallicus Ahl) were collected from natural freshwater habitat for breeding experiment and maintained in laboratory condition. The brood stocks were selected and kept in an aquarium with a ratio of male: female = 2:1. The female spawners at the length of 6.5-7.2 cm and the weight of 2.0-2.4 g had the fecundity between 2,200-3,800 eggs. The ripened eggs were semi-adhesive. After absorbing water, the diameter was 1.0-1.3 mm. The fertilization rate was 70.1% and the fertilized eggs hatched at a rate of 62.1% within 12-14 hours at 28-30 °C of water temperature. The average length of newly hatched fry was 2.0 mm. Fry reared with boiled chicken yolk, Daphnia and artificial food, reached a length of 27.4 mm in 45 days; the survival was 15.3%. The acute toxicity tests were conducted for paraquat, pentachlorophenol and carbaryl using minow barb (Esomus metallicus Ahl), silver barb (Puntius gonionotus Bleeker) and guppy (Poecilia reticulata Peter). The fishes having approximately the same body surface were used for testing. Results show that the minnow barb was sensitive to paraquat and pentachlorophenol as the same as silver barb, but less sensitive to carbaryl. The suitability of minnow barb as a test animal for aquatic toxicology was that it is easily reared and bred species in captivity, having small size at adult stage, and being sensitive to most toxic chemicals.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectปลาซิวหนวดยาว-
dc.subjectพิษวิทยา-
dc.titleการประเมินความเหมาะสมของปลาซิวหนวดยาว (Esomus metallicus Ahl) เพื่อใช้เป็นสัตว์ทดลองทางพิษวิทยา-
dc.title.alternativeEvaluation of Esomus Meatllicus (AHL) as a standard fish in aquatic toxicology-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vinij_ta_front.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Vinij_ta_ch1.pdf760.03 kBAdobe PDFView/Open
Vinij_ta_ch2.pdf8.42 MBAdobe PDFView/Open
Vinij_ta_ch3.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Vinij_ta_ch4.pdf9.21 MBAdobe PDFView/Open
Vinij_ta_ch5.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Vinij_ta_ch6.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Vinij_ta_back.pdf8.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.