Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62679
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์-
dc.contributor.authorวิภัสรินทร์ ประพันธสิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-13T09:26:00Z-
dc.date.available2019-08-13T09:26:00Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745818887-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62679-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายแก่นของคำเรียกญาติพื้นฐานในภาษาคำเมืองโดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ และการใช้คำเรียกญาติดังกล่าวในแวดวงอื่น ๆ ได้แก่ การใช้เป็นสรรพนามและคำเรียกขานในหมู่คนที่เป็นญาติและไม่ใช่ญาติ และการใช้เป็นอุปลักษณ์ นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังมุ่งแสดงลักษณะสำคัญบางประการในวัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนจากความหายและการใช้คำเรียกญาติดังกล่าวด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา 4 คนซึ่งเป็นตัวแทนของผู้พูดภาษาคำเมือง 4 จังหวัดล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูนและลำปาง ผลการวิจัยพบว่าคำเรียกญาติในภาษาคำเมืองอาจจำแนกให้แตกต่างกันในความหมายแก่นด้วย 4 หรือ 5 มิติแห่งความแตกต่างในภาษาเชียงราย และลำปาง คำเรียกญาติต่างกันในเรื่อง รุ่นอายุ สายเลือด อายุและเพศ ส่วนในภาษาเชียงใหม่และลำพูน จะมีมิติที่เพิ่มขึ้นคือ ฝ่ายพ่อ/แม่ ซึ่งในรายละเอียดคำเรียกญาติในภาษาคำเมืองทั้ง 4 จังหวัด มีทั้งลักษณะที่ร่วมกันและต่างกัน ลักษณะที่ร่วมกัน ได้แก่ การใช้คำเรียกญาติประเภทเดียวกัน ในความหมายเหมือนกัน ส่วนลักษณะที่ต่างกัน ได้แก่ การใช้คำเรียกญาติซึ่งมีความหมายละเอียดที่ต่างกันในเรื่องเพศ และฝ่ายพ่อ/แม่ ในการใช้คำเรียกญาติเป็นสรรพนามและคำเรียกขานในหมู่คนที่เป็นญาติ และไม่ใช่ญาติ พบว่าคำเรียกญาติในรุ่นอายุสูงกว่าหรือมีอายุมากกว่าตัวเองมีการนำไปใช้มากกว่าคำเรียกญาติในรุ่นอายุต่ำกว่าหรือมีอายุน้อยกว่า เช่น คำว่า “พ่อ” และ “แม่” จะใช้เป็นสรรพนามและคำเรียกขานบ่อยมากกว่า “ลูก” เป็นต้น ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะสำคัญประการหนึ่งในวัฒนธรรมล้านนา คือ “ระบบอาวุโส” สำหรับการใช้เป็นอุปลักษณ์พบว่า คำว่า “แม่” ใช้มากที่สุด โดยเฉพาะในความหมาย “ใหญ่” “สำคัญ” “ต้นกำเนิด” “ผู้ใหญ่ เช่น คำว่า mE:3khO:3 ในภาษาลำพูนหมายถึงนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งคำคู่กันคือ “พ่อ” ไม่ปรากฏ หลักฐานนี้แสดงให้เห็นถึง “การเน้นฝ่ายแม่” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือบทบาทของฝ่ายหญิงมีความสำคัญมากกว่าฝ่ายชาย ลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรมที่พบในการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้สอดคล้องกับข้อสังเกตในผลงานทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์ความหมายแก่นของคำเรียกญาติในภาษาคำเมืองทั้ง 4 ถิ่น ได้แสดงให้เห็นว่า คำเรียกญาติของฝ่ายพ่อและแม่มีการกลืนกันจนไม่เน้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้วิจัยจึงสรุปว่า “การเน้นฝ่ายแม่” ที่เคยมีมาแต่เดิมในวัฒนธรรมล้านนานั้น ปัจจุบันนี้กำลังลดความสำคัญลง กลายเป็นไม่เน้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to carry out a componential analysis of the basic kinship terms in Kham Muang and to analyze the use of those terms as pronouns and address terms among kins and non-kins and as methaphor. It also aims at pointing out certain significant characteristics in Lanna culture as reflected in the meanings and use of Kham Muang Kinship terms. The data used in this study was gathered by interviewing four informants representing speakers of Kham Muang in four Lanna provinces, i.e. Chiang Mai, Chiang Rai, Lamphun and Lampang. The results of the study show that kinship terms in Kham Muang may be differentiated by four or five dimensions of contrast. In Chiang Rai and Lampang dialects the kinship terms are differentiated by generation, [linearity], age and sex. In Chiang Mai and Lamphun dialects, another dimension of contrast is added to the kinship system, i.e. parental link. As for the use of kinship terms as pronominals and address terms among kins and non-kins, it is found that the kinship terms of upper generations and greater age, are used more frequently than their counterparts. This reflects a significant characteristic in Lanna culture – “seniority”. The analysis of the use of Kham Muang kinship terms as metaphor shows that the words for “mother” is used most, especially to mean “great”, “important”, “origin”, “donor”, whereas its counterpart (“father”) is not found. This implies the significance of “mother” or “matrilineality” in Lanna culture. However, based on the evidence of merging of the kinship terms on the father’s and mother’s sides, it is concluded that “matrilineality” was a significant characteristic in Lanna culture but now it is less significant, as it seems that the Lanna family does not place emphasis on either side particularly.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectภาษาไทยถิ่นเหนือ -- คำเรียกญาติ-
dc.subjectเครือญาติ-
dc.subjectภาษาไทยถิ่นเหนือ-
dc.subjectระบบอาวุโส-
dc.subjectวัฒนธรรมไทย (ภาคเหนือ)-
dc.subjectอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์-
dc.subjectการสืบเชื้อสายทางฝ่ายมารดา-
dc.subjectเครือญาติ-
dc.subjectอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์-
dc.subjectภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา-
dc.subjectภาษาไทยถิ่นเหนือ-
dc.subjectวัฒนธรรมไทย-
dc.subjectKinship-
dc.subjectSociolinguistics-
dc.subjectEthnosemantics-
dc.titleคำเรียกญาติในภาษาคำเมือง : การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์-
dc.title.alternativeKinship terms in kham muang : an ethnosemantic analysis-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vipusarin_pr_front.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open
Vipusarin_pr_ch1.pdf7.38 MBAdobe PDFView/Open
Vipusarin_pr_ch2.pdf9.21 MBAdobe PDFView/Open
Vipusarin_pr_ch3.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open
Vipusarin_pr_ch4.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open
Vipusarin_pr_ch5.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open
Vipusarin_pr_ch6.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Vipusarin_pr_back.pdf10.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.