Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62686
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกียรติ จิวะกุล-
dc.contributor.authorวิภา พูนเพียร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-14T02:43:55Z-
dc.date.available2019-08-14T02:43:55Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745625361-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62686-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526-
dc.description.abstractเมืองมีความแตกต่างกันจากปัจจัยหลายประการ เช่น สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ วิถีชีวิตของคนในสังคม ระบบเศรษฐกิจและการปกครอง เป็นต้น ความแตกต่างขององค์ประกอบเหล่านี้ทำให้เมืองมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน การศึกษาเรื่ององค์ประกอบของความเป็นเมืองของชุมชนในภาคตะวันออกครั้งนี้ประสงค์ที่จะหาความเข้าใจถึงความแตกต่างกันของเมืองในภาคตะวันออกที่กระจายตัวตามบริเวณพื้นที่ที่ต่างกัน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและการปกครองต่างกัน โดยเชื่อว่าองค์ประกอบของความเป็นเมืองในพื้นที่ที่มีการคมนาคมดี ใกล้แหล่งงานขนาดใหญ่และมีบริการในชุมชนทั่วถึง จะทำให้เมืองมีขนาดต่างกัน เมืองที่ใช้เป็นหน่วยในการศึกษาครั้งนี้หมายถึงชุมชนระดับเทศบาลและสุขาภิบาลทั้งนี้เพราะมีลักษณะในชุมชนเข้ากับหลักเกณฑ์ในความหมายของเมืองมากที่สุด มีจำนวนทั้งสิ้น 79 แห่ง เป็นเทศบาลที่ตั้งจังหวัด 7 แห่ง เป็นเทศบาลที่ตั้งอำเภอ 7 แห่ง สุขาภิบาลซึ่งเป็นที่ตั้งอำเภอ 32 แห่ง ส่วนอีก 33 แห่ง เป็นชุมชนที่ไม่ใช่ศูนย์กลางทางการบริหารจากราชการส่วนกลาง การศึกษาใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาขนาดและการกระจายตัวของชุมชนในช่วงระยะเวลา 10 ปี และ 5 ปีที่ผ่านมา ตลอดจนศึกษาการเปลี่ยนแปลงในขนาดของเมือง การขยายตัวทางการตั้งถิ่นฐาน อัตราส่วนประชากรในเขตเมืองและศึกษาถึงเขตอิทธิพลของชุมชนที่มีโอกาสให้บริการถึงบริเวณชุมชนใกล้เคียง ชุมชนเหล่านี้กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ที่มีการคมนาคมดี ใกล้แหล่งงานและมีบริการในชุมชนมากน้อยเพียงใดนำมาจัดกลุ่มตามน้ำหนักคะแนนได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีค่าน้ำหนัก คะแนนมากที่สุด มาก ปานกลาง และน้อย จากนั้นศึกษาโครงสร้างการใช้ที่ดินของเมืองตัวอย่างจากแต่ละกลุ่ม ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ความแตกต่างของพื้นที่ภาคตะวันออกตอนบนและภาคตะวันออกตอนล่างทำให้ฐานเศรษฐกิจในภูมิภาคทั้ง 2 แห่งต่างกัน ภาคตะวันออกตอนบนมีพื้นที่ 24,044 ตร.กม. เป็นพื้นที่ราบร้อยละ 29 ส่วนภาคตะวันออกตอนล่างมีพื้นที่ 12,350 ตร.กม.เป็นพื้นที่ราบร้อยละ 11 แต่เมืองในภาคตะวันออกตอนบนมี 36 แห่ง ตอนล่าง 43 แห่ง เมืองที่อยู่ในภาคตะวันออกตอนล่างมีขนาดใหญ่และรวมตัวกันมากกว่าตอนบน การที่เมืองในภาคตะวันออกตอนบนมีขนาดเล็กและกระจายตัวมากกว่าตอนล่างเพราะภาคตะวันออกตอนบนมีอาชีพทำนา มีตลาดแคบส่วนใหญ่เพื่อบริโภคภายใน รายได้จึงต่ำ ส่วนภาคตะวันออกตอนล่างทำเกษตรกรรมพืชไร่ซึ่งมีตลาดกว้างกว่า และเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม เมืองที่อยู่ในภาคตะวันออกตอนล่างจึงมีขนาดใหญ่และรวมตัวกันมากกว่า จากเมืองในกลุ่มที่มีองค์ประกอบของความเป็นเมืองสูง แต่ละกลุ่มพบว่า เมืองที่อยู่ในกลุ่มที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของความเป็นเมืองสูงจะมีสัดส่วนการใช้ที่ดินทางเศรษฐกิจ เช่น การค้าและอุตสาหกรรมสูงกว่ากลุ่มที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบน้อย ในกลุ่มที่มีค่าน้ำหนักขององค์ประกอบน้อยจะมีสัดส่วนการใช้ที่ดินเพื่อเป็นสถานที่ราชการและการศึกษามากกว่าการค้าและอุตสาหกรรม-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเมือง -- การเจริญเติบโต-
dc.subjectการใช้ที่ดิน-
dc.subjectผังเมือง -- ไทย (ภาคตะวันออก)-
dc.titleการศึกษาเบื้องต้นองค์ประกอบของความเป็นเมือง ของชุมชนในภาคตะวันออก-
dc.title.alternativePreliminary study of urban elements of communities in the East of Thailand-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวางผังเมือง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wipha_po_front.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_po_ch1.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_po_ch2.pdf7.29 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_po_ch3.pdf24.01 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_po_ch4.pdf23.97 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_po_ch5.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Wipha_po_back.pdf11.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.