Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62701
Title: สภาพและปัญหาการปฏิบัติกิจกรรม ตามกระบวนการวางแผนการศึกษานอกโรงเรียน ตามการรับรู้ของผู้บริหาร ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด
Other Titles: Status and problems of performing activities along the non-formal educational planning process as perceived by the administrators in provincial non-formal educational centers
Authors: สมจิต ใจจ้อง
Advisors: อุ่นตา นพคุณ
ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การวางแผนการศึกษา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนการศึกษานอกโรงเรียน ตามการรับรู้ของผู้บริหารของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด 2. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับสภาพและปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนการศึกษานอกโรงเรียน ระหว่างผู้บริหารระดับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด และผู้บริหารระดับฝ่ายของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด 3. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับสภาพและปัญหาการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนการศึกษานอกโรงเรียนระหว่างผู้บริหารระดับฝ่าย ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด คือ หัวหน้าฝ่ายบริหาร หัวหน้าฝ่ายแผนงานและโครงการ หัวหน้าฝ่ายการศึกษาสายสามัญ หัวหน้าฝ่ายการศึกษาสายอาชีพ หัวหน้าฝ่ายการศึกษามวลชน และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาและฝึกอบรม วิธีการดำเนินการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวยอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้บริหารระดับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดซึ่งกำลังปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ในศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด 50 ศูนย์ จำนวนทั้งสิ้น 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ซึ่งถามเกี่ยวกับการรับรู้ของผู้บริหารเกี่ยวกับสภาพและปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนการศึกษานอกโรงเรียนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบ (Check-List) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating-Scale) และคำถามปลายเปิด (Open Ended) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามไปยังศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดทั้ง 50 ศูนย์ โดยทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามคืนมา 337 ชุด ในจำนวนนี้แบบสอบถามที่ใช้ได้จำนวน 317 ชุด คิดเป็นร้อยละ 79.225 นำผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ จัดอันดับ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่โดยใช้วิธีของเซฟเฟ (Scheffe Multiple Range Test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSˣ (The Statistical Package for the Social Science) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. จากการศึกษาเกี่ยวกับสภาพในการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนตามการรับรู้ของผู้บริหารของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด โดยส่วนรวมพบว่า ศูนย์ฯจังหวัดได้ปฏิบัติกิจกรรมในทุกขั้นตอนของกระบวนการวางแผนอยู่ในระดับปานกลางทุกขั้นตอนหากเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ย ศูนย์ฯจังหวัดได้ปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผน ในขั้นนำแผนไปปฏิบัติและขั้นปรับแผนและ/หรือจัดทำแผนใหม่ อยู่ในอันดับหนึ่ง และได้ปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนในขั้นติดตาม ควบคุม และประเมินผล อยู่ในอันดับสุดท้าย 2. จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างการรับรู้ของผู้บริหารระดับศูนย์ฯจังหวัดและผู้บริหารระดับฝ่าย เกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนโดยส่วนรวม พบว่าผู้บริหารระดับศูนย์ฯจังหวัด และผู้บริหารระดับฝ่ายมีการรับรู้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวางแผนโดยที่ผู้บริหารระดับศูนย์ฯจังหวัดรับรู้ว่าศูนย์ฯจังหวัดได้ปฏิบัติกิจกรรมในทุกขั้นตอนอยู่ในระดับที่สูงกว่า ผู้บริหารระดับฝ่ายรับรู้ 3. จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างการรับรู้ของผู้บริหารระดับฝ่าย 6 ฝ่ายเกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผน โดยส่วนรวม พบว่าผู้บริหารระดับฝ่ายทุกฝ่ายมีการรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนในขั้นเตรียมการวางแผน ขั้นวางแผนและจัดทำแผน ขั้นนำแผนไปปฏิบัติ และขั้นติดตาม ควบคุม และประเมินผล ส่วนสภพาการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนในขั้นปรับแผนและ/หรือจัดทำแผนใหม่ ผู้บริหารระดับฝ่ายที่ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายแผนงานและโครงการ รับรู้ว่าศูนย์ฯจังหวัด ได้ปฏิบัติกิจกรรมในขั้นนี้อยู่ในระดับที่สูงกว่าหัวหน้าฝ่ายการศึกษาสายสามัญ 4. จากการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนตามการรับรู้ของผู้บริหารของศูนย์ฯจังหวัด พบว่าศูนย์ฯจังหวัดประสบปัญหาอยู่ในระดับปานกลางในทุกขั้นตอนของกระบวนการวางแผน หากเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยพบว่า ศูนย์ฯจังหวัดประสบปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนในขั้นเตรียมการวางแผนมากเป็นอันดับหนึ่ง และประสบปัญหาในขั้นปรับแผนและ/หรือจัดทำแผนใหม่อยู่ในอันดับสุดท้าย 5. จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างการรับรู้ของผู้บริหารระดับศูนย์ฯจังหวัดและผู้บริหารระดับฝ่ายเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผน โดยส่วนรวม พบว่าผู้บริหารระดับศูนย์ฯจังหวัด และผู้บริหารระดับฝ่าย มีการรับรู้โดยส่วนรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวางแผน โดยที่ผู้บริหารระดับฝ่ายรับรู้ว่าศูนย์ฯจังหวัดประสบปัญหาในแต่ละขั้นตอนอยู่ในระดับที่สูงกว่าผู้บริหารระดับศูนย์ฯจังหวัดรับรู้ 6. จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างการรับรู้ของผู้บริหารระดับฝ่าย 6 ฝ่ายเกี่ยวกับปัญหาในการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผน โดยส่วนรวมพบว่าผู้บริหารระดับฝ่ายทุกฝ่ายมีการรับรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เกี่ยวกับปัญหาการปฏิบัติกิจกรรมตามกระบวนการวางแผนในขั้นเตรียมการวางแผน ปัญหาในขั้นวางแผนและจัดทำแผน ปัญหาในขั้นนำแผนไปปฏิบัติ และปัญหาในขั้นติดตาม ควบคุม และประเมินผล ส่วนปัญหาในขั้นปรับแผนและ/หรือจัดทำแผนใหม่ผู้บริหารระดับฝ่ายทที่ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายการศึกษาสายสามัญรับรู้ว่าศูนย์ฯจังหวัดได้ประสบปัญหาในขั้นนี้อยู่ในระดับที่สูงกว่า ผู้บริหารระดับฝ่ายที่ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายการศึกษาสายอาชีพ
Other Abstract: The objectives of the Study 1. To study the status and problems of performing activities along the non-formal educational planning process as perceived by the administrators in the Provincial Non-formal Education Centers. 2. To compare the perceptions on the status and problems of performing activities along the non-formal educational planning process between the directors and the section chiefs of the Provincial Non-formal Education Centers. 3. To compare the perceptions on the status and problems of performing activities along the non-formal educational planning process among the section chiefs of the Provincial Non-formal Education Centers composing of section chiefs in the administrative section, the planning and programming section, the general education section, the vocational education section, the mass education section and the development and training section. Procedure of the Study and Data Analysis The sample of the study consisted of 317 administrators 79 directors plus assistants of the directors and 238 section chiefs from 50 Provincial Non-formal Education Centers. The questionnaire used for this study is composed of a check-list, rating scale and an open ended question. The data were collected by mail. A total of 317 completed questionnaires received were 79.25 percent. Data were analyzed by computer using the statistical package for the social science programme (SPSSˣ) and presented in terms of percentage, mean, standard deviation. The mean differences were tested by t-test and one-way analysis of variance (ANOVA), Testing of the mean differences of each pair were analyzed by Scheffe Multiple Range Test. The Results of the Study 1. Concerning the status of performing activities along the non-formal educational planning process, the study revealed that Non-formal Education Centers often perform activities in almost every stage of planning. It was found that the Non-formal Education Centers have performed the most activities in the implementation stage and in the revision and/or replanning stage, but have performed the least in activities in the monitoring, controlling and evaluating stage. 2. Testing the mean differences between the provincial level administrators’ perception and the sectional level administrators’ perception concerning the status of performing activities along the non-formal planning process, it was found that their perceptions were significantly different in every stage of planning. It was also found that the provincial level administrators’ perception were higher than the sectional level administrators’ perception in every stage of planning. 3. Testing the mean differences among 6 section chiefs’ perception concerning the status of performing activities along the non-formal planning process, it was found that their perceptions were not significantly different in the case of pre-planning stage, planning and plan formulation stage, implementation stage and monitoring, controlling and evaluating stage, but were significantly different in the case of revision and/or replanning stage. For this case, it was found that the section chiefs of the planning and programming section’s perception were higher than the section chiefs of the general education section’s perception. 4. Concerning the problems of performing activities along the non-formal educational planning process, the study revealed that the Non-formal Education Centers have problems in nearly every stage of the planning. It was found that the Non-formal Education Centers have the most problems in the pre-planning stage, but have the least problems in the revision and/or replanning stage. 5. Test the mean differences between the provincial level administrators’ perception and the sectional level administrators’ perception concerning the problems of performing activities along the non-formal planning process, it was found that they were significantly different in every stage of planning. It was also found that the sectional level administrators’ perception were higher than the provincial level administrators’ perception in every stage of planning. 6. Testing the mean differences among the 6 section chiefs’ perception concerning the problems of performing activities along the non-formal planning process, it was found that they were not significantly different in the case of problems in pre-planning stage, problems in planning and plan formulation stage, problems in implementation stage and problem in monitoring, controlling and evaluating stage, but they were significantly different in the case of revision and/or replanning stage. For this case, it was found that the section chiefs of the general education section’s perception were higher than the section chiefs of the vocational education section’s perception.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62701
ISBN: 9745669881
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somjit_ja_front_p.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open
Somjit_ja_ch1_p.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open
Somjit_ja_ch2_p.pdf22.02 MBAdobe PDFView/Open
Somjit_ja_ch3_p.pdf6.05 MBAdobe PDFView/Open
Somjit_ja_ch4_p.pdf29.81 MBAdobe PDFView/Open
Somjit_ja_ch5_p.pdf22.77 MBAdobe PDFView/Open
Somjit_ja_back_p.pdf11.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.