Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62743
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุบล เบ็ญจรงค์กิจ-
dc.contributor.authorสิริชัย วงษ์สาธิตศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-21T03:33:01Z-
dc.date.available2019-08-21T03:33:01Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745767026-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62743-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว พฤติกรรมการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสารในครอบครัว และลักษณะเฉพาะของโสเภณีชาย เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ความสัมพันธ์ในครอบครัว และรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวระหว่างกลุ่มโสเภณีชายและกลุ่มชายที่ประกอบอาชีพอื่น และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารในครอบครัว กับการประกอบอาชีพโสเภณีชาย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ กลุ่มโสเภณีชายที่ทำงานเป็นพนักงานในสถานบริการ เฉพาะกลุ่มรักร่วมเพศในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน และกลุ่มชายที่ประกอบอาชีพอื่น ยกเว้นอาชีพโสเภณี บริเวณย่านพัฒน์พงศ์ในเวลากลางคืน จำนวน 100 คน เท่ากัน ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในด้านปัจจัยทางประชากรศาสตร์กลุ่มโสเภณีชายและกลุ่มชายที่ประกอบอาชีพอื่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เฉพาะในด้านภูมิลำเนา ระดับการศึกษา บุคคลที่อาศัยอยู่ด้วย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษาของมารดา และอาชีพของมารดา การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นความสัมพันธ์กับบิดามารดา ความสัมพันธ์กับพี่น้อง และความสัมพันธ์กับครอบครัวโดยรวม ในด้านความสัมพันธ์กับบิดามารดาพบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เฉพาะในด้านความรู้สึกเวลาที่บิดามารดามีเรื่องไม่เข้าใจกันหรือทะเลาะกัน การแสดงออกเวลามีเรื่องขัดแย้งกับบิดามารดา และความต้องการเวลาคุยหรือใกล้ชิดกับบิดามารดา ในด้านความสัมพันธ์กับพี่น้องทั้ง 2 กลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในด้านความสนิทสนมและเห็นอกเห็นใจกันกับพี่น้องเท่านั้น และในด้านความสัมพันธ์กับครอบครัวโดยรวม ทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านความคิดเห็นที่ต่อสภาพครอบครัวโดยรวม ในการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มในด้านรูปแบบการสื่อสารในครอบครัว พบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันและจากการศึกษาพบว่า รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพโสเภณีชาย-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to investigate the demographic factors, family relationships, communication behavior, family communication patterns and characteristics of male prostitutes working in gay scenes in Bangkok. The comparison of demographic factors, family relationships and family communication patterns between male prostitutes and other males who work during nighttime in Patpong area were studied. Furthermore, the relationship between family communication patterns and male prostitution was examined. The result of this study show that the Chi-square test of demographic factors between groups are significantly different only in domicile, education, the person they live with, average income, mother’s education and mother’s occupation. Family relationships can be divided into three categories : parental relationships, brotherly relationships and altogether family relationships. In the first category, the Chi-square between groups indicates that there were significant differences only in the feeling while their parents were quarreling or misunderstanding, the action when they contradicted with their parents and the demand of time intimating with their parents. In the second category, there was significant difference only in the brotherly intimacy. As for the third category, there was significant difference in the thinking through the whole family condition. The family communication patterns of male prostitutes and males with other occupations were not different. Moreover, no significant correlation was found between family communication patterns and male prostitution.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการสื่อสารในครอบครัว-
dc.subjectผู้ชายขายตัว -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว-
dc.subjectCommunication in the family-
dc.subjectMale prostitutes -- Family relationships-
dc.titleความสัมพันธ์ในครอบครัว พฤติกรรมการสื่อสารและรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวของโสเภณีชาย-
dc.title.alternativeFamily relationships communication behavior and family communication patterns of male prostitutes-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirichai_vo_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ4.68 MBAdobe PDFView/Open
Sirichai_vo_ch1_p.pdfบทที่ 14.51 MBAdobe PDFView/Open
Sirichai_vo_ch2_p.pdfบทที่ 29.9 MBAdobe PDFView/Open
Sirichai_vo_ch3_p.pdfบทที่ 33.73 MBAdobe PDFView/Open
Sirichai_vo_ch4_p.pdfบทที่ 415.49 MBAdobe PDFView/Open
Sirichai_vo_ch5_p.pdfบทที่ 511.16 MBAdobe PDFView/Open
Sirichai_vo_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก24.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.