Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62779
Title: | โครงสร้างทางการคลังท้องถิ่นของประเทศไทย |
Other Titles: | Structure of local government finance in Thailand |
Authors: | สีเลิด กุลประสิทธิ์ |
Advisors: | วีรพงษ์ รามางกูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การคลังท้องถิ่น -- ไทย การปกครองท้องถิ่น -- ไทย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง “โครงสร้างทางการคลังท้องถิ่นของประเทศไทย” นี้มุ่งหวังที่จะทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงลักษณะและรูปแบบของโครงสร้างทางการคลังท้องถิ่นของรัฐบาลท้องถิ่นใน 4 ระดับ กล่าวคือ รัฐบาลท้องถิ่นรูปองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และกรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบใน 71 จังหวัดของประเทศไทย เพื่อที่จะศึกษาค้นคว้าให้ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับการคลังขององค์การท้องถิ่นใน 4 ลักษณะดังกล่าว และศึกษาถึงปัญหาในด้านรายได้ที่น้อยไม่พอกับรายจ่ายหรือมีรายได้ไม่พอที่จะนำไปพัฒนาท้องถิ่น และปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุมาจากอะไรและมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นของแต่ละองค์กรให้เจริญมากน้อยแค่ไหนเพียงใด เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปรับปรุงองค์กรทั้งสี่ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น วิธีการศึกษานั้นทำการศึกษาวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณา (descriptive research) ประกอบกับการใช้วิธีการทางสถิติในการทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลที่ใช้ทำการศึกษาวิจัยในปี 2520 ถึง 2522 ใน 41 จังหวัด รวบรวมจาก[กอง]นโยบายการคลังและภาษีอากร กระทรวงการคลัง กองคลังท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้จาก หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลังเป็นต้น จากการศึกษาวิเคราะห์สรุปได้ว่า รัฐบาลท้องถิ่นในทุกระดับมีรายได้สุทธิต่อหัวน้อยไม่พอกับรายจ่ายต่อหัวเป็นไปตามสมมุติฐานที่วางไว้ว่า “รายได้สุทธิของรัฐบาลท้องถิ่นไม่สมดุลกับรายจ่าย” นั่นเอง การที่รัฐบาลท้องถิ่นในทุกระดับมีรายได้สุทธิต่อหัวน้อยไม่พอกับรายจ่ายต่อหัวนี้เองทำให้รัฐบาลท้องถิ่นในทุกระดับจึงจำเป็นต้องพึ่งพาเงินอุดหนุน ช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง โดยพบว่ารัฐบาลท้องถิ่นรูปองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และสุขาภิบาล เป็นรัฐบาลท้องถิ่นที่มีรายได้จากเงินอุดหนุนต่อหัวเทียบกับรายได้รวมต่อหัวแล้วคิดเป็นสัดส่วนที่สูงตามลำดับ และเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงความไม่เป็นอิสระทางด้านการคลังของรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละระดับดังกล่าวอีกด้วย กล่าวคือพบว่า รัฐบาลท้องถิ่นรูปองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีความไม่เป็นอิสระทางด้านการคลังมากที่สุด รองลงมาก็เป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และสุขาภิบาล ตามลำดับ ทั้งนี้โดยที่รายได้สุทธิที่สำคัญของรัฐบาลท้องถิ่นในทั้ง 4 ระดับนั้นพบว่า รายได้จากภาษีอากรและรายได้ที่มิใช่ภาษีอากร (ไม่รวมเงินอุดหนุน) เป็นรายได้หลัก 2 ประเภทที่ทำเงินให้กับรายได้สุทธิต่อหัว โดยพบว่า รายได้จากภาษีอากรต่อหัวขององค์การบริหารส่วนจังหวัดคิดเป็นสัดส่วนของรายได้รวมต่อหัวและรายได้สุทธิต่อหัวแล้วน้อยที่สุด รองลงไปก็เป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และสุขาภิบาล ตามลำดับ สำหรับรายได้ที่มิใช่ภาษีอากรต่อหัวนั้น รัฐบาลท้องถิ่นรูปองค์การบริหารส่วนจังหวัด เช่นกันที่มีรายได้ที่มิใช่ภาษีอากรต่อหัวคิดเป็นสัดส่วนของรายได้รวมต่อหัวและรายได้สุทธิต่อหัวแล้วน้อยที่สุด ถัดมาก็เป็นรัฐบาลท้องถิ่นรูปสุขาภิบาล เทศบาลตำบล และเทศบาลเมืองตามลำดับ และเมื่อพิจารณาในรายภาคของรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละระดับพบว่ารายได้สุทธิต่อหัวของภาคตะวันออกเฉียวเหนือเป็นภาคที่มีสัดส่วนดังกล่าวน้อยที่สุด กล่าวคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภาคที่จนที่สุด ขณะที่ภาคที่มีรายได้สุทธิต่อหัวสูงที่สุดของรัฐบาลท้องถิ่น แต่ละระดับนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละระดับนั้นนั่นเอง และพบว่ารายได้จากภาษีอากรประเภทที่รัฐบาลท้องถิ่นจัดเก็บเพิ่มให้นั้นเป็นรายได้จากภาษีอากรสูงที่สุดที่ทำรายได้ให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองลงมาก็เป็นภาษีที่รัฐบาลท้องถิ่นจัดเก็บเอง และภาษีที่รัฐบาลกลางจัดสรรให้ ส่วนรัฐบาลท้องถิ่นรูปเทศบาลนั้นรายได้จากภาษีประเภทที่รัฐบาลกลางจัดสรรให้เป็นภาษีที่ทำรายได้ให้กับเทศบาลมากที่สุด รองลงมาก็เป็นภาษีที่รัฐบาลท้องถิ่นจัดเก็บเพิ่ม และรัฐบาลท้องถิ่นจัดเก็บเอง สำหรับสุขาภิบาลก็พบว่าภาษีที่รัฐบาลกลางจัดสรรให้ทำรายได้ประเภทภาษีให้กับสุขาภิบาลมากที่สุด รองลงมาก็เป็นภาษีที่สุขาภิบาลจัดเก็บเอง และภาษีที่สุขาภิบาลเก็บเพิ่มตามลำดับ และพบว่ารัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศส่วนใหญ่มีรายได้รวมต่อหัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่เพิ่มขึ้น และรายได้จากเงินอุดหนุนต่อหัวก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นเช่นกัน สำหรับการกู้ยืมของรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละระดับนั้นพบว่ายังเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อคิดเทียบกับรายได้รวมของรัฐบาลท้องถิ่นดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละระดับมีรายได้สุทธิน้อยไม่พอกับการใช้จ่าย โดยพบว่าการใช้จ่ายของรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละระดับนั้นหมดไปในหมวดเงินเดือน ค่าจ้างประจำ และค่าใช้สอย เสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้ไปเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นมากเท่าที่ควร กล่าวโดยสรุปแล้วรัฐบาลท้องถิ่นในทุกระดับไม่ว่าจะเป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล หรือ กทม. ก็ควรที่จะได้มีการปรับปรุงการจัดเก็บและประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้สุทธิให้มีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลในทางด้านการควบคุมจากรัฐบาลกลางจะได้น้อยลง คือ รัฐบาลท้องถิ่นทุกระดับจะได้มีความเป็นอิสระทางการคลัง กล่าวคือ มีรายได้สุทธิต่อหัวมากพอในการใช้จ่าย ขณะเดียวกันก็ควรพิจารณาประเภทรายได้ที่สามารถทำรายได้สุทธิได้เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม และการจัดสรรเงินอุดหนุนช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางน่าจะได้คำนึงถึงหลักความเป็นธรรมด้วย เพราะเท่าที่เป็นอยู่นี้พบว่าไม่ได้จัดสรรให้เป็นธรรมเลย หากแต่จัดสรรตามโครงการที่ท้องถิ่นเสนอขึ้นมา ส่วนในด้านรายจ่ายนั้นท้องถิ่นทุกระดับจำเป็นต้องพยายามตัดทอนรายจ่ายประเภทเงินเดือน ค่าจ้างและค่าใช้สอยลงบ้าง เพื่อจะได้มีรายได้เหลือพอที่จะทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่นนั้นๆ ได้ การศึกษาในครั้งนี้ยังมีจุดอ่อนหลายประการ เฉพาะอย่างยิ่งในรายละเอียดของรูปแบบโครงสร้างทางด้านการคลัง ซึ่งผู้ศึกษามุ่งหวังเอาไว้ว่าจะได้แสดงให้เห็นข้อปลีกย่อยทั้งหมด แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จำกัด แต่หวังว่าการศึกษาครั้งนี้จะได้มีส่วนให้เกิดแรงบันดาลใจให้นักวิจัยผู้สนใจในปัญหาดังกล่าวนี้ทำการศึกษาวิจัยโดยละเอียดต่อไปในอนาคตอันใกล้ เพื่อผลแห่งการพัฒนารัฐบาลในระดับท้องถิ่นรุดหน้าต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | The purpose of this study is to analyze the characteristics and pattern of the structure of local government finance of Thai government at four levels, namely, Changwat Administrative Organization, Municipality, Sanitary District and Bangkok Metropolitan Authority. The result of this study gain from comparative study in local finance of 71 provinces in Thailand. The specific purpose are to find out causes of financial problems of the above-mentioned levels and of unsufficient income for necessary expenditures and influence over the growth and policy or for local development including to study of the cause of the said problems and how they have effects to the fiscal policy of local development planned for the benefits of the four organizations in increasing their more incomes. The methodology of this study is applied by descriptive research and statistical analysis of the 71-province data during the year of 1977 to 1979. The data is obtained from Tax policy Division of the Finance Ministry, Local Finance Division of the Local Administration Department, Ministry of Interior and Office of the National Economic and Social Development Board. In addition, a number of Government officials concerned are interviewed for detailed information. The conclusion of this study is that; every local government has net income with no balance to the expense per head. Therefore, it is compatible with the hypothesis that “The Local government has the [deficit] budget.” So those organizations need to receive subsidy from the central government in rather high proportion. The size of subsidy per head compared with gross revenue per head from the central government to the local governments in ranging from the changwad Administrative Organization, Tambon Municipality, Muang Municipality and Sanitary District respectively. This indicates that local government organizations has no the financial dependence to agreat extent the net revenue per head of local governments are composed of two major parts: namely tax revenue and non-tax revenue. (excluding subsidy). A finding out of this research is that the size of the proportion between gross revenue per head and net revenue per head of tax revenue is ranging from the Changwad Administrative Organization, Tambon Municipality, Muang Municipality and Sanitary District respectively. For the non-tax revenue, the proportion ranges from the Changwad Administrative Organization, Sanitary District, Tambol Municipality and Muang Municipality. In terms of the fiscal performances of the different parts of the country, the poorest is the north-eastern part of Thailand which has least net revenue per head but the richest varies according to local government in each level. The analysis is also shows that the tax revenue of the Changwad Administrative Organization mostly come from surcharged taxed and the minor portion come from local levied taxes and shared taxes respectively. For the case of the municipality the major tax revenue is derived from the shared taxes and the minor portion is derived from the surcharged taxes and the l[e]vied taxes respectively. For the Sanitary Districts, the major revenue comes from the shared taxes and the minor portion derived from the local levied taxes and the surcharged taxes respectively. Furthermore, this study shows that the revenue per head of the majority of the local governments increase in the progressive rate. Likewise, the subsidy per head of such organizations shows the same pattern. For the loan of the local governments is found to be very little when compare with their gross revenue. Consequently, the local governments have net revenue insufficient to expenses. And most of the local government expenses exhausted to officers salaries and miscellaneous instead of local development as they should be. In summary, all local governments in any case the Changwat Administrative Organizations, Municipality, Sanitary District of Bangkok Metropolitan Authority should have to improve the administration and efficiency of tax collection for the independence of finance and net revenue per head commensurate with the expenses. Income sources should also be considered in order to increase net revenue. And the [subsidy] distribution from the central government should be more [reasonable], not being considered only from projects proposed by the local government as being practiced under the present system like now. The local government should try to decrease the expenses for officers salaries, wages and miscellaneous in order to have more budget for local development. However, this study has some limitation especially lack of detail information in the structure of finance. This is due to the limited time. However, We hope that the study may be inspired to such interested persons and further studying for the best purpose of the local government development in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62779 |
ISBN: | 9745631507 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Seelerd_ku_front_p.pdf | 118.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_ch1_p.pdf | 6.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_ch2_p.pdf | 10.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_ch3_p.pdf | 23.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_ch4_p.pdf | 33.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_ch5_p.pdf | 46.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_ch6_p.pdf | 16.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_ch7_p.pdf | 228.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_ch8_p.pdf | 7.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Seelerd_ku_back_p.pdf | 118.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.