Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62791
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมหญิง เหรียญไตรรัตน์ | - |
dc.contributor.advisor | บุญเสริม วิมุกตะนันทน์ | - |
dc.contributor.author | สุเนตรา ลีลานุภาพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-08-23T09:18:00Z | - |
dc.date.available | 2019-08-23T09:18:00Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745634743 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62791 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en_US |
dc.description.abstract | ประเทศไทยได้มีการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดมาเป็นเวลาช้านาน ปลาที่เลี้ยงกันโดยทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาบู่ และปลานิล มีวิธีการเลี้ยง หลาย ๆ วิธี เช่น เลี้ยงในบ่อ เลี้ยงในนาข้าว เลี้ยงในร่องสวน และเลี้ยงในกระชัง เป็นต้น การเลี้ยงปลาบู่ในกระชังจึงเป็นวิธีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงของเกษตรกรที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ เนื่องจากว่าปลาบู่เจริญเติบโตได้ดีในน้ำไหล มีการลงทุนน้อย เลี้ยงปลาได้จำนวนมากโดยไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ ประหยัดค่าใช้จ่ายและค่าแรงงาน นอกจากนี้ปลาบู่ยังเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีราคาแพงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศและมีรสชาติและคุณค่าทางอาหารดี วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและรายได้จากการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่การเริ่มซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาทำการเลี้ยงจนโตได้ขนาดที่ขายได้ คือ ขนาดตั้งแต่ 450 กรัม ถึง 1,200 กรัม โดยเลือกศึกษาในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ปีการผลิต พ.ศ. 2525 ประกอบกับศึกษาจากเอกสารทางวิชาการของงานพัฒนาการเลี้ยงปลาในกระชัง โครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย กรมประมง ปี 2525 ซึ่งเป็นการเลี้ยงที่นำหลักวิชาการเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงภัยจากโรคปลา การศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม เอกสารและหนังสือ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงเงินลงทุนเริ่มแรก ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลาบู่ รวมทั้งการเปรียบเทียบต้นทุน รายได้ วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน จุดคุ้มทุน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อระหว่างการเลี้ยงปลาบู่ในกระชังไม้เนื้อแข็งของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์กับการเลี้ยงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง ผลการศึกษาการเลี้ยงปลาบู่ในกระชังพบว่า การเลี้ยงปลาบู่ในกระชังไม้เนื้อแข็งของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์มีต้นทุนต่อตัวเท่ากับ 62.07 บาท และต้นทุนต่อกิโลกรัมเท่ากับ 124.14 บาท จากการใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงเฉลี่ย 12 เดือน ส่วนการเลี้ยงปลาบู่ในกระชังทดลองของนักวิชาการมีต้นทุนต่อตัวเท่ากับ 50.00 บาท และมีต้นทุนต่อกิโลกรัมเท่ากับ 118.39 บาท ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 8.4 เดือน จะเห็นได้ว่า การเลี้ยงของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์ มีต้นทุนต่อตัวและต้นทุนต่อกิโลกรัมสูงกว่าเท่ากับ 12.07 บาท และ 5.75 บาท ตามลำดับ จากการวิเคราะห์หาปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุน (จุดเสมอตัว) และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ปรากฏว่า การเลี้ยงของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์มีปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุน (จุดเสมอตัว) เท่ากับ 99.32 กิโลกรัม ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุนเท่ากับ 18,870.80 บาท และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ 14.19 ส่วนการเลี้ยงในกระชังทดลองของนักวิชาการมีปริมาณการผลิต ณ จุดคุ้มทุน 61.03 กิโลกรัม ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุนเท่ากับ 11,595.70 บาท และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อเท่ากับ 9.35 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์มีปริมาณการผลิตและยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อที่สูงกว่าเท่ากับ 38.29 กิโลกรัม, 7,275.10 บาท และ 4.84 ตามลำดับ นอกจากนี้การเลี้ยงปลาบู่ในกระชังของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์และของนักวิชาการ ยังแสดงอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่คุ้มค่า คือ 46.57 เปอร์เซนต์ และ 42.70 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลาบู่จะมีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเลี้ยงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น อัตราการปล่อยปลาบู่ลงเลี้ยงในกระชังที่หนาแน่นเกินไป มีผลทำให้อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาบู่เพิ่มขึ้น เป็นต้น ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง คือปัญหาเรื่องโรคระบาดของปลา ปัญหาเรื่องเงินทุน ปัญหาเรื่องอาหารปลา ปัญหาเรื่องพันธุ์ปลา ปัญหาเรื่องตลาดในการจัดจำหน่าย คือการที่มีนายหน้ามาทำการซื้อปลาถึงที่เป็นเงินเชื่อ ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา คือ รัฐบาลควรสนับสนุนการเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง ในด้านความรู้ทางวิชาการ จัดตั้งสหกรณ์ผู้เลี้ยงปลาบู่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสินเชื่อ ด้านจัดหาพันธุ์ปลาบู่ ด้านจัดหารอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาบู่ รับซื้อปลาบู่ด้วยเงินสดและราคายุติธรรม และด้านวิชาการ เป็นต้น สนับสนุนให้มีการคิดค้นอาหารสำเร็จรูปแบบเม็ดลอยน้ำที่มีคุณภาพดีและราคาถูก มาใช้แทนปลาทะเล นอกจากนี้ควรมีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ เอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างรอบคอบและเด็ดขาดในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ผลที่ได้จากการทำวิจัยดังกล่าวข้างต้น อาจจะเป็นแนวทางนำไปสู่การเลี้ยงปลาบู่ในกระชังที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | Aquaculture has long been practised in Thailand. The species commonly cultured are catfish, striped catfish, snakehead fish, sand gobies and tilapia. There are several methods in culturing these fish, for example, pond culture, paddy field culture, ditch culture, cage culture, etc. Fish farmers by the river bank mostly earn thier living by culturing sand gobies in cages because the sand gobies grow easily in running water and large number of fish could be kept while there is no need to change water which economises expenses and labour. In addition, sand gobies, being tasteful and richly nutritious, are extremely expensive fish with high demand in the foreign markets. The objective of the study is to estimate the cost and revenue of culturing sand gobies in cages. The study started from buying the young fish from natural water resources and feeding them until they grew to the marketable size of between 450 to 1,200 gram. Nakornsawan was selected as the study sample site in the production year of 2525 B.E. A study was also made on Technical Papers of Fish Cage Culture Development Unit Aquaculture Development Project from the Department of Fisheries in the year 2525 B.E. The data were collected and compiled from questionaires, journals, and text books to analyze the initial investment, revenue, and the benefits derived from culturing sand gobies. Comparisons were made of investments, revenues, and benefits between sand gobies cultured in hard wood cages in Nakornsawan and those cultured in experimental hard wood cages. Problems in culturing these fish were also studied. The cost of culturing sand gobies in hard wood cages of fish farmers in Nakornsawan for the average period of 12 months was 62.07 baht per unit and 124.14 baht per kilogram. Culturing sand gobies in experimental cages for 8.4 months costs 50.00 baht per unit and 118.39 baht per kilogram. It can be observed that costs of production per unit and per kilogram of sand gobies cultured in cages of fish farmers in Nakornsawan were 12.07 baht and 5.75 baht higher than those of experimental culture respectively. Using the analysis of break-even point and the rate of food conversion, the study revealed that the break-even point of the culturing of sand gobies in hard wood cages of fish farmers in Nakornsawan was 99.32 kilogram or 18,870.80 baht and the rate of food conversion was 14.19 while those of the experimental culture was 64.03 baht per kilogram or 11,595.70 baht and 9.35 respectively. It can be observed that the break-even point of the culturing of sand gobies in hard wood cages of fish farmers in Nakornsawan was 38.29 kilogram and 7,275.10 baht higher than those of culturing of sand gobies in experimental cages, while the rate of food conversion was 4.84 higher. The rates of return on investment of both cages were 46.57 percent and 42.70 percent respectively. This meant that culturing of sand gobies in cages would be more successful if fish farmers had a good knowledge of culturing sand gobies in cages. The difficulties encountered by fish farmers in this study were : the outbreak of fish epidermic, the problem of money invested, the problem of fish food, the problem of seed fish, and the problem of middlemen buying fish on credit. Recommendations for culturing of sand gobies in cages were : government supporting in technical knowledge, organizing fish farmers' co-operation in order to ensure seed fish supply, fish food supply, and selling fish in cash at reasonable price. Government should help support manufacturing fish feed of good quality at reasonable price. Furthermore, these should be a good co-operation among government, private concerns, and all related person in pollution problems. The result of the study may lead to more efficiency in culturing of sand gobies in cages so that it can become main occupation for fish farmers in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ปลาบู่ -- การเลี้ยง | en_US |
dc.subject | ต้นทุนการผลิต | en_US |
dc.subject | รายได้ | - |
dc.subject | การเพาะเลี้ยงในกระชัง | - |
dc.subject | Neogobius fluviatilis culture | - |
dc.subject | Cost | - |
dc.subject | Income | - |
dc.subject | Cage aquaculture | - |
dc.title | การศึกษาต้นทุน และรายได้การเลี้ยงปลาบู่ในกระชัง | en_US |
dc.title.alternative | Study on cost and revenue of sand gobies culture in cages | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การบัญชี | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sunetra_le_front_p.pdf | 9.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunetra_le_ch1_p.pdf | 4.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunetra_le_ch2_p.pdf | 10.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunetra_le_ch3_p.pdf | 11.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunetra_le_ch4_p.pdf | 19.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunetra_le_ch5_p.pdf | 5.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sunetra_le_back_p.pdf | 6.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.