Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62793
Title: หลักการค้นหาความจริงในการสอบสวน
Other Titles: Truth finding during inquiry
Authors: สุเมธ จิตต์พานิชย์
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิธีพิจารณาความอาญา
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
พยานหลักฐาน
การสืบสวนคดีอาญา
Criminal procedure
Criminal justice, Administration of
Evidence
Criminal investigation
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสอบสวนเป็นกระบวนการยุติธรรมขั้นตอนหนึ่งที่ใช้กลั่นกรองผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา ก่อนที่จะขึ้นไปสู่การพิจารณาคดีของศาล การสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งได้กระทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ การสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่มีประสิทธิภาพคือ การค้นหาความจริง ซึ่งเป็นเป้าหมายในการดำเนินคดีอาญา เมื่อมีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น รัฐมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จะต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนของตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินตามกฎหมาย รัฐมีหน้าที่อำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยองค์กรของรัฐที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมคือ ตำรวจ อัยการ และศาลจะต้องร่วมมือกันในการค้นหาความจริง พนักงานสอบสวนในปัจจุบันเป็นผู้เริ่มดำเนินคดีโดยการสอบสวนค้นหาความผิดโดยไม่ทำการสอบสวนพยานของฝ่ายผู้ต้องหาที่อ้าง ไม่ทำการค้นหาความจริงโดยการสอบสวนพยานของฝ่ายผู้ต้องหาที่อ้าง ไม่ทำการค้นหาความจริงโดยการรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด ทั้งเป็นผลดีและเป็นผลร้ายแก่ผู้ต้องหา เพื่อให้ได้ความจริงก่อนมีความเห็นในทางคดี วิทยานิพนธ์นี้มุ่งที่จะชี้ให้หลักการค้นความจริงตัวบทกฎหมาย หลักเกณฑ์และแนวความคิดที่จะทำให้พนักงานสอบสวนในฐานะผู้เริ่มทำการสอบสวนคดีอาญา ยึดเป็นหลักในการสอบสวนคดีอาญาจะทำให้การสอบสวนมีประสิทธิภาพ เมื่อฟ้องร้องต่อศาลน่าจะลงโทษผู้กระทำผิดได้ ไม่เป็นผลละเมิดสิทธิของผู้อื่นเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดความยุติธรรมอันเป็นหลักสากลที่นานาประเทศยอมรับ
Other Abstract: As the matter of fact, investigation is one [of step-proceeding] for finding fact from the accused before going to the court procedure. In practice, investigation on evidence-collective under the provision of Criminal Procedure Code for confirming on facts or offences of the accused. It can be said that the capacity in evidence-collective is the aim of criminal proceeding. When offence is committed it is the duty of State to take a legal step starting from investigation upto proving his guilt because one of the duty of State is to provide justice to her citizens by using Criminal Justice Agencies which are Police, Public Prosecutor and Court. The co-operation of these agencies are very important to achieve their end. But unfortunately, the investigation of inquiry officer only focuses on evidence that confirming on guilty of the accused. This thesis wishes to research on the principle of legally finding fact for inquiry officers which can provide both justice and [efficiency] to the law enforcers.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62793
ISBN: 9746318683
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumeth_ji_front_p.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open
Sumeth_ji_ch1_p.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Sumeth_ji_ch2_p.pdf35.09 MBAdobe PDFView/Open
Sumeth_ji_ch3_p.pdf22.81 MBAdobe PDFView/Open
Sumeth_ji_ch4_p.pdf11.37 MBAdobe PDFView/Open
Sumeth_ji_ch5_p.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open
Sumeth_ji_back_p.pdf23.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.