Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62801
Title: ระดับซีรัมแฮบโตกลอบบินในคนไข้ที่ได้รับการฉายรังสีแกมมาจากโคบอลต์-60
Other Titles: Serum haptoglobin levels in patients exposed to gamma radiation from Co-60
Authors: สุกัญญา เมฆอรียะ
Advisors: ชยากริต ศิริอุปถัมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: มะเร็ง -- การวินิจฉัยโดยตรวจซีรัม
มะเร็ง -- การรักษาด้วยรังสี
Cancer -- Serodiagnosis
Cancer -- Radiotherapy
Haptoglobins
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้ทำการศึกษาระดับซีรัมแฮบโตกลอบบินในคนปกติ คนไข้ที่อยู่ในระหว่างการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง และคนไข้หลังการฉายรังสี จุดประสงค์เพื่อเป็นการไต่สวนว่า ระดับแฮบโตกลอบบินอาจเป็นตัวชี้บอกถึงการได้รับรังสีระดับสูงในคน และกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อรังสีโดยการสร้างซีรัมแฮบโตกลอบบิน รวมถึงการพยายามที่จะไต่สวนว่า แฮบโตกลอบบินเป็นสารกำจัดอนุมูลอิสระตัวหนึ่ง ที่ร่างการสร้างขึ้น การวิเคราะห์ปริมาณซีรัมแฮบโตกลอบบินโดยวิธี Immunoturbidimetry ได้ผลดังนี้ ในคนปกติเพศหญิงจำนวน 17 คน มีปริมาณซีรัมแฮบโตกลอบบินอยู่ในช่วง 98-247 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในคนไข้โรคมะเร็งปากมดลูกที่มาเริ่มการรักษาโดยรับการฉายรังสีจำนวน 39 คน มีปริมาณซีรัมแฮบโตกลอบบินอยู่ในช่วง 104-478 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ปริมาณซีรัมแฮบโตกลอบบินที่เปลี่ยนแปลงในคนไข้โรคมะเร็งปากมดลูกขณะได้รับการฉายรังสีภายนอกจากโคบอลต์-60 ปริมาณรังสี 200 แรดต่อวัน เป็นจำนวนคนไข้ 22 คน โดยระดับซีรัมแฮบโตกลอบบินจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นสูงสุดในวันที่ 6-8 หลังจากได้รับรังสีครั้งแรกเมื่อวัดความแปรปรวนแบบ Two-way ANOVA ค่าเฉลี่ยจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P<.0001) ในหญิงปกติจำนวน 6 คน ระยะเวลา 27 วัน เมื่อวัดความแปรปรวนแบบ One-way ANOVA ค่าเฉลี่ยในช่วงระยะดังกล่าวของซีรัมแฮบโตกลอบบินไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ระดับซีรัมแฮบโตกลอบบิน 3 วันติดต่อกันในคนไข้ 3 คน ก่อนที่คนไข้จะเริ่มรับการฉายรังสีไม่มีความแตกต่างทางสถิติโดยวัดความแปรปรวนแบบ One-way ANOVA คนไข้จำนวน 9 คน หลังจากได้รับการฉายรังสีแกมมาทั้งภายนอกและภายในแล้ว นาน 6 เดือน เมื่อวัดความแปรปรวนแบบ Two-way ANOVA ของระดับซีรัมแฮบโตกลอบบินของแต่ละคนไข้มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โปรตีนที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก เช่น อัลบูมิน กลอบบูลินของกระต่าย และกลอบบูลินของคน เมื่อทำปฏิกิริยากับอนุมูลอิสระที่เกิดจากสารเคมีทำปฏิกิริยากัน และวัดปริมาณความเข้มฟลูออเรสเซนต์สัมพัทธ์ที่เปลี่ยนไปได้ผลว่า สารไธโอยูเรียความเข้มข้น 1.5 มิลลิโมลาร์ มีการยับยั้ง 85, 72และ 82 เปอร์เซ็นต์ในโปรตีนทั้งสามชนิดตามลำดับ สารแมนนิทอลความเข้มข้น 10 มิลลิโมลาร์มีการยับยั้ง 20, 15 และ 18 เปอร์เซ็นต์ในโปรตีนทั้งสามชนิดตามลำดับ มีคุณสมบัติเป็นสารกำจัดอนุมูลอิสระ OḢ ต่อเมื่อความเข้มข้น 1 โมลาร์ ส่วนแฮบโตกลอบบินความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การให้ผลการยับยั้ง 17, 11 และ 16 เปอร์เซ็นต์ในโปรตีนทั้งสามชนิดตามลำดับ
Other Abstract: A study on serum haptoglobin was conducted in carcinoma patients exposed to gamma radiation both during and after exposure. The purpose of the study were to investigate whether serum haptoglobin may be an indicator for accidental exposure of radiation in man, to elucidate the response of human body by secretion of serum haptoglobin after radiation exposure and to investigate the free radical scavenger property of serum haptoglobin. Serum haptoglogin levels were measured by immunoturbimetry in a Turbitimer. Haptoglobin concentrations of 17 normal women had a range of 98-247 mg/dl. In 39 invasive cervical carcinoma patients had serum haptoglobin concentrations from 100-478 mg/dl. The increasing changes of serum haptoglobin concentrations in 22 cervical carcinoma patients during exposed to external gamma radiation from Co-60 were significant (P<.0001) using Two-way ANOVA. The maximum rises were at day 6-8 in most of the patients. There were no significant differences of serum haptoglobin concentrations in 6 normal women throughout 30 days by One-way ANOVA. There were significant differences of individual 9 patients after exposed to external and internal gamma radiation by Two-way ANOVA. These changes prolonged up to 6 months. Small molecule proteins such as albumin, rabbit globulin and human globulin react with free radicals generated by Cu⁺² and H₂O₂ and lose their fluorescent properties. Measurement of relative fluorescence intensity changes in term of percent inhibition showed free radical scavenger property of substances. It was found that 1.5 mM thiourea had 85, 72 and 84 percent inhibition in the three proteins respectively, 10mM mantitol had 20, 15 and 18 percent inhibition and 50 mg/dl haptoglobin had 17, 11 and 16 percent inhibition in the three proteins respectively. Mantinol showed OḢ radical scavenger when the concentration was 1 molar.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62801
ISBN: 9745825123
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanya_me_front_p.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_me_ch1_p.pdf9.09 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_me_ch2_p.pdf10.02 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_me_ch3_p.pdf7.67 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_me_ch4_p.pdf13.29 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_me_ch5_p.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Sukanya_me_back_p.pdf14.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.