Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62802
Title: | การศึกษาเพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ชุมชนเมืองลำปาง |
Other Titles: | Study to propose guidelines for urban conservation of Lampang community |
Authors: | สุกัญญา เอี่ยมชัย |
Advisors: | สุวัฒนา ธาดานิติ นิจ หิญชีระนันทน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ผังเมือง -- ลำปาง การใช้ที่ดิน -- ไทย -- ลำปาง การเกิดเป็นเมือง -- ไทย -- ลำปาง ย่านประวัติศาสตร์ -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา -- ไทย -- ลำปาง ลำปาง -- ประวัติ City planning -- Thailand -- Lampang Land use -- Thailand -- Lampang Historic districts -- Conservation and restoration -- Thailand -- Lampang Urbanization -- Thailand -- Lampang Thailand -- Lampang -- History |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิวัฒนาการของชุมชนเมืองลำปาง เพื่อกำหนดคุณค่าและเอกลักษณ์ รวมถึงศึกษาปัญหาและสาเหตุต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณค่านั้น เพื่อวางแผนแนวทางในการอนุรักษ์ให้สอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่าชุมชนเมืองลำปางมีพัฒนาการการตั้งชุมชนร่วม 1,300 ปี บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำวัง มีพัฒนาการของเมือง 3 สมัย คือเมืองในสมัยหริภุญไชยบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ เมืองในสมัยที่สองคือสมัยล้านนาทางตอนใต้ของเมืองเก่าและเมืองในสมัยที่สาม คือสมัยรัตนโกสินทร์บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ มีแม่น้ำวังเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก จนกระทั่ง พ.ศ. 2458 ทางรถไฟได้สร้างถึงเมืองลำปางการขยายตัวของชุมชนเริ่มกระจายตัวอยู่บริเวณเส้นทางสัญจรทางบก ทั้งทางรถไฟ และทางรถยนต์ ในช่วงเวลาของการพัฒนาการ ชุมชนเมืองลำปางรับอิทธิพลของชุมชนใกล้เคียง เช่น ลำพูน เชียงใหม่ เข้ามาผสมผสานกับความนิยมของคนในท้องถิ่น ทั้งด้านผังเมือง สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ พัฒนารูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่มีคุณค่าในทางสุนทรียศาสตร์และวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นตัวแทนอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ สังคมและการมีบทบาทเป็นเมืองระดับรองช่วยให้โครงสร้างการเมือง การปกครองของชุมชนในภาคเหนือตอนบนมีความชัดเจนยิ่งขึ้น จากสภาพสังคมปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ชุมชนมีการขยายตัวเพื่อรองรับความเจริญจากการพัฒนาด้านต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาและส่งผลกระทบถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของชุมชน ดังนั้น จึงได้วางแผนในการอนุรักษ์ เพื่อที่ชุมชนเมืองลำปางสามารถเติบโตได้ตามกระบวนการพัฒนาด้านต่างๆ โดยที่ชุมชนยังธำรงรักษาไว้ได้ซึ่งคุณค่าและเอกลักษณ์ ด้วยการกำหนดพื้นที่เป็น 2 โซน คือ พื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่รองรับการพัฒนาและการขยายตัวของชุมชน ซึ่งพื้นที่อนุรักษ์แบ่งย่อยออกเป็น 3 พื้นที่ตามระดับของความเข้มในการอนุมัติการเปลี่ยนแปลง บริเวณที่จะต้องมีมาตรการเข้มงวดและระมัดระวังอย่างเต็มที่ได้แก่ บริเวณชุมชนเมืองเก่าในฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ, ย่านศูนย์กลางเมืองในฝั่งตะวันออก และย่านสถานีรถไฟ ซึ่งประกอบด้วยสถานีรถไฟและอาคารบนถนนประสานไมตรี และมีการผ่อนผันในพื้นที่รอบนอกออกไป คือ พื้นที่โดยรอบย่านสถานีรถไฟปัจจุบัน ซึ่งยังมีการใช้ที่ดินไม่หนาแน่น ได้รับการกำหนดไว้เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study the evolution of the Lampang community, identify its historical [value] and the factors influencing the declining in such value and the community identity. The study results are expected to reveal the appropriate guidelines for urban conservation of this community. The research findings revealed that the age of Lampang community was more than 1,300 years. It was firstly settled on the banks of Wang River and mad the development into three phases: starting from the growth direction to the western side of river during Hari-punchai period, followed by the southern development during Lanna time on eastern side at the Ratanakosin Era. However, since there was the c[o]ming of railway in 2458 BE, the community expansion has been closely tied up to the in-land development. During the long time of development, the Lampang community had absorbed the culture of the nearly areas, for examples Lampoon and Chiang Mai. Such impacts could be seen in the city plan, architecture, art and culture and became the uniqueness and beauty in those patterns of art was regarded as the identity of Lampang. As the economic development of the northern region expanded rapidly, the Lampang community was modernized and [caused] same changes in cultural and historical activities and monuments. However, the community has remained its value and identity in most of traditional architecture and culture in their present living. The conservation of Lampang community has been proposed in the final part of the research. It was recommended that the community should be zoned into two main areas: the historical preservation zone and the development one. The first zone has been compose of three sub-zone according to the degree of development permit. The sub-zones where needed to be strongly controled with full measures and regulations was the old town area at the western bank of the Wang River. The district surrounding the present railway station was recommen[d]ed to be the development zone. According to these guidelines, it was belived that the Lampang community could successfully and gracefully preserve its value and identity and also enjoy the advantages of the economic expansion of the province in future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62802 |
ISBN: | 9746333725 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukanya_ai_front_p.pdf | 10.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_ai_ch1_p.pdf | 7.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_ai_ch2_p.pdf | 27.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_ai_ch3_p.pdf | 33.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_ai_ch4_p.pdf | 98.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_ai_ch5_p.pdf | 35.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_ai_ch6_p.pdf | 6.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukanya_ai_back_p.pdf | 50.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.