Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6280
Title: การใช้สารนิเทศของอาจารย์สาขาดุริยางคศาสตร์
Other Titles: Information use of faculty members in musicology
Authors: วาทินี นิลงาม
Advisors: จินดารัตน์ เบอรพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Chindarat.B@Chula.ac.th
Subjects: ครูดนตรี
อาจารย์มหาวิทยาลัย
ดนตรี -- บริการสารสนเทศ
ดุริยางควิทยา -- ไทย
การค้นข้อสนเทศ
อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ไทย
การใช้สารสนเทศ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้สารนิเทศของอาจารย์สาขาดุริยางคศาสตร์ในด้านวัตถุประสงค์ รูปแบบ ลักษณะ เนื้อหา ภาษา อายุ แหล่ง และการสืบค้นสารนิเทศ รวมทั้งปัญหาในการใช้สารนิเทศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาจารย์สาขาดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน จำนวน 11 แห่ง รวมจำนวนอาจารย์ทั้งหมด 123 คน ผลการวิจัยพบว่าอาจารย์สาขาดุริยางคศาสตร์มีวัตถุประสงค์ในการใช้สารนิเทศเพื่อการสอนการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ และการผลิตผลงานทางวิชาการในระดับมาก ใช้สารนิเทศรูปแบบสื่อโสตทัศน์ สื่อตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระดับปานกลาง ในด้านลักษณะของสารนิเทศ อาจารย์ใช้สารนิเทศเชิงประวัติ สารนิเทศเชิงทฤษฎี และข้อเท็จจริงในระดับมาก และในด้านเนื้อหา อาจารย์ใช้สารนิเทศที่มีเนื้อหาด้านดนตรีไทย ดนตรีสากล ดนตรีศึกษา และเนื้อหาอื่นๆ ในระดับมากเช่นกัน ส่วนในด้านภาษา อาจารย์ใข้สารนิเทศภาษาไทย และภาษาอังกฤษในระดับมาก สำหรับอายุของสารนิเทศที่อาจารย์ใช้ในระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สารนิเทศในช่วงอายุ 1-3 ปี และ 10 ปีขึ้นไป แหล่งสารนิเทศที่อาจารย์ใช้ในระดับมาก ได้แก่ แหล่งทรัพยากรสารนิเทศส่วนบุคคล และแหล่งสารนิเทศบุคคล อาจารย์ใช้วิธีการสืบค้นสารนิเทศจากอินเทอร์เน็ตโดยใช้เว็บไซต์ และโปรแกรมค้นหา และสำรวจจากชั้นหนังสือในระดับมาก ปัญหาที่อาจารย์ประสบในระดับมาก คือ สารนิเทศบางรูปแบบ เช่น วารสารภาษาต่างประเทศ แผ่นซีดี และแผ่นดีวีดีมีราคาสูง และบรรณารักษ์ห้องสมุดไม่มีความรู้ด้านดนตรีเพียงพอ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the information use of faculty members in musicology, in terms of objectives; formats, characteristics, subjects, languages, and ages of information; information sources; information search and problems of information use. This study was a survey research in which questionnaires were used to collect data from 123 faculty members in musicology in 11 state higher and private universities. The research results reveal that faculty members in musicology use information for teaching, keeping abreast in the field, and producing academic work at high level. They use audio-visual, print and electronic media at moderate level. Characteristics of information used by faculty members are historical, theoretical and factual information at high level. Moreover, the subject areas used are Thai Music, Western Music, Music education and other subject at high level. They use information in Thai and English at high level. The age of information used at moderate level with the highest mean score are 1-3 years, and over 10 years. The information sources that faculty members use at high level are personal collections and personal information sources. The faculty members search for information by using the Internet through websites, andsearch engines; and by browsing shelves at high level. Problems faced by faculty members at high level include some information formats such as foreign language journals, compact discs and digital video discs are expensive, and librarians have insufficient knowledge in music.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6280
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.893
ISBN: 9741752636
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.893
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watinee.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.