Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62818
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสถียร เชยประทับ-
dc.contributor.authorสุกานดา วรพันธุ์พงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-30T02:39:37Z-
dc.date.available2019-08-30T02:39:37Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62818-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบความเกี่ยวข้องของหนังสือพิมพ์รายวันกับกลุ่มการเมืองในการเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตรวจนับความถี่ ปริมาณพื้นที่ และทิศทางของเนื้อหาในข่าว ภาพ และบทความเกี่ยวกับผู้สมัคร 5 คน ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน 7 ชื่อฉบับ ที่วางจำหน่ายในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. 2532 – 7 ม.ค. 2533 การวิเคราะห์เนื้อหาใช้การแบ่งกลุ่มหนังสือพิมพ์เป็น 2 กลุ่ม หนังสือพิมพ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองอย่างเด่นชัด และหนังสือพิมพ์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองอย่างเด่นชัด เพื่อหาค่าไคว์สแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบสัดส่วนรายคู่ Z-test โดยทดสอบสมมติฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หนังสือพิมพ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองอย่างเด่นชัด เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในความถี่และปริมาณพื้นที่มากกว่าผู้สมัครที่ตนเกี่ยวข้อง แต่มีทิศทางของเนื้อหาในเชิงลบมากที่สุด ขณะเดียวกันก็มีทิศทางของเนื้อหาในเชิงบวกแก่ผู้สมัครที่ตนเกี่ยวข้องในกรณีของหนังสือพิมพ์เดลิมิเร่อร์ แต่ไม่พบความแตกต่างในกรณีของหนังสือพิมพ์บ้านเมือง 2. หนังสือพิมพ์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองอย่างเด่นชัด เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในความถี่และปริมาณพื้นที่มากกว่าผู้สมัครคนอื่น ขณะเดียวกันก็มีทิศทางของเนื้อหาในเชิงบวกมากกว่าเชิงการรายงานข่าว ส่วนผู้สมัครคนอื่นมีความแตกต่างในทิศทางของเนื้อหาเชิงการรายงานข่าวมากกว่าเชิงลบ แต่ไม่แตกต่างจากเชิงบวก สรุปได้ว่า หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต่างเสนอเนื้อหาสนับสนุนและโจมตีผู้สมัครคนใดคนหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the relationship between Thai daily newspapers and political groups in the 1990 Bangkok Governor Election reporting. The method of content analysis was used by means of frequencies tallying, space measure and the direction of content concerning five candidates from news, pictures and articles printed in seven daily newspapers during the period of 14 November 1989 – 7 January 1990. In analyzing their contents, the seven newspapers were categorized into two groups: the definitely-related newspapers with political groups and the definitely-unrelated newspapers with political groups. Chi-square, one-way ANOVA, and Z-test were employed to anal[y]ze the data at .05 level. The results showed that: 1. The definitely-related newspapers with political groups present[e]d more frequencies and space about Maj.Gen.Chamlong Srimuang than the candidates related to the newspaper. But the direction of contents about Maj.Gen.Chamlong was mostly negative. The Daily Mirror also presented its candidate in positive manner. No difference was found in the case of The Ban Muang. 2. The definitely-unrelated newspapers with political groups put more emphasis in terms of frequencies and space on Maj.Gen.Chamlong than other candidates. The direction of contents given to Maj.Gen.Chamlong was positive rather than reportorial. For other candidates, the direction of contents was reportorial rather than negative. But there was no difference between reportorial and positive direction. In brief, all newspapers tended to be biased—either attacking or supporting certain candidates.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectหนังสือพิมพ์กับการเมือง -- ไทย-
dc.subjectการสื่อข่าวและการเขียนข่าว -- ไทย-
dc.subjectPress and politics -- Thailand-
dc.subjectReporters and reporting -- Thailand-
dc.titleหนังสือพิมพ์รายวันกับการเสนอเนื้อหาทางการเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2533-
dc.title.alternativeDaily newspapers and political content reporting : a case study of 1990 Bangkok Governor Election-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการหนังสือพิมพ์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanda_wo_front_p.pdf15.56 MBAdobe PDFView/Open
Sukanda_wo_ch1_p.pdf10.42 MBAdobe PDFView/Open
Sukanda_wo_ch2_p.pdf14.26 MBAdobe PDFView/Open
Sukanda_wo_ch3_p.pdf12.77 MBAdobe PDFView/Open
Sukanda_wo_ch4_p.pdf120.57 MBAdobe PDFView/Open
Sukanda_wo_ch5_p.pdf19.76 MBAdobe PDFView/Open
Sukanda_wo_back_p.pdf13.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.