Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62829
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนุกัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา | - |
dc.contributor.author | สุชาติ เกียรติชัยพิพัฒน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-08-30T06:53:08Z | - |
dc.date.available | 2019-08-30T06:53:08Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745671886 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62829 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | - |
dc.description.abstract | โครงการก่อสร้างสะพาน นับว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณใกล้เคียง การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนนี้ ได้แก่ รูปแบบการเคลื่อนที่ของยวดยานที่เปลี่ยนไป มลพิษทางเสียงและสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น สะพานยังเป็นตัวกระตุ้นกิจกรรมอื่นๆ ให้ตามมา เช่น เกิดการพัฒนาพื้นที่รวดเร็วยิ่งขึ้น หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมในบริเวณพื้นที่นั้น ดังนั้นในการศึกษานี้ จะเป็นการวิเคราะห์เพื่อหาผลกระทบของสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม ประชากร การใช้ที่ดิน บริการสาธารณูปโภค ตลอดจนการคมนาคมในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง รวมทั้งทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสะพานหลังจากที่เปิดใช้สะพานแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบที่แท้จริงอันเนื่องมาจากสะพาน และปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนและพัฒนาโครงการอื่นๆ ต่อไปในอนาคต เพื่อที่จะหาผลกระทบของสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการศึกษานี้ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็นสองขั้นตอน คือขั้นตอนแรกจะเป็นการวิเคราะห์สถิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรวมถึงข้อมูลทางด้านประชากร การศึกษา รายได้จากภาษี รายรับและรายจ่ายทางการเงิน การใช้ที่ดิน บริการสาธารณูปโภค และการจราจร โดยการเปรียบเทียบเป็นช่วงเวลาและเปรียบเทียบเป็นรายปี ก่อนมีสะพานจนถึงปัจจุบัน และขั้นตอนหลังจะเป็นการสำรวจแบบสอบถามและประเมินผลทัศนคติของประชาชนที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากสะพาน ผลการศึกษาพบว่าสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นอกจากจะมีผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณใกล้เคียงทั้งสองฟากฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว ยังมีผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณรอบนอกอีกด้วย ผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้ มีทั้งผลกระทบทางตรงและผลกระทบทางอ้อม โดยผลกระทบทางตรงที่ก่อให้เกิดผลดีและเป็นประโยชน์ ได้แก่ การช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางและช่วยลดระยะทางในการเดินทางลง โดยประชาชนให้ความเห็นว่า สะพานสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น ส่วนผลเสียที่เกิดขึ้นจากสะพาน เป็นผลเนื่องมาจากปริมารณยวดยานที่ใช้สะพานมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น จึงก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและเสียงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย สำหรับผลกระทบทางอ้อมนั้น จากการศึกษาพบว่า สะพานมีผลกระทบต่อประชากร โดยมีส่วนทำให้จำนวนประชากรในบางเขตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งได้แก่ เขตยานนาวา เขตคลองสาน และเขตรอบนอกทางฝั่งธนบุรี ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนในการช่วยลดจำนวนประชากรในบางเขตที่มีความหนาแน่นสูง เช่น เขตบางรัก และเขตธนบุรี จากผลดังกล่าวนี้ จึงก่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ในเขตยานนาวา และเขตพื้นที่รอบนอกฝั่งธนบุรีมากยิ่งขึ้น รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจและสังคมตามมาด้วย จากผลการสำรวจแบบสอบถามพบว่า ประชาชนทั่วไปเห็นว่าหลังจากมีสะพานแล้ทำให้อัตราการจ้างงานมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย และราคาที่ดินมีค่าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้จากการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งอื่นเพิ่มเติมพบว่า ตำแหน่งที่ต้องการมากที่สุดอยู่บริเวณพระประแดง ห่างจากสะพานกรุงเทพไปทางท้ายน้ำประมาณ 23 กิโลเมตร ทั้งนี้เพราะว่าบริเวณดังกล่าว เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดหนักมากมาย | - |
dc.description.abstractalternative | Bridge construction projects have impacts on the vicinity areas, the most immediate of which are circulation and traffic patterns, noise, and aesthetics. Bridges may stimulate or induce other actions such as more rapid land development of changes in patterns of social and economic activities. This study was attempted to evaluate the impact of Somdej Phrachao Taksin Maharaj Bridge in terms of socioeconomic, population, landuse, public utility services, and transportation consequences on the vicinity areas including public perception after the bridge was opened. The results obtained will be of some usefulness for future project planning and implementation. In order to pursue the impact of the bridge, an attempt was made to integrate two distinctive methods of evaluation. One is the analysis of socio-economic statistics including population, education, tax revenues, expenditures and revenues, landuse, public utility services, and traffic data by spatial comparison as well as time series comparison. The other is questionnaire survey and evaluation of the perception of the people concerning the value of changes caused by the bridge. It has been found that Somdej Phrachao Taksin Maharaj Bridge seems to have a wide area of influence due to its location at the fringe of central areas of both banks. The effects have both direct and indirect impacts. The direct impacts which give benefits are the travel time saving and travel distance reducing. The people reported saving in travel cost and getting more convenience. The negative effects by the bridge are that it may increase air and noise pollution caused by the development traffic. As for the indirect impact caused by the bridge, it attributed to the growth of population in some Khets and hence induced economic and social development, such as in Khet Yannawa and Khet Khlong San. On the other hand they may have helped to reduce the population of some high density Khets such as Khet Bang Rak and Khet Thonburi. Relating to this are the secondary benefits such as the stimulation of land development on Khet Yannawa and Khet Thonburi accompanied by the intensified social and economic activities. The results of the questionnaire survey showed that the general public recognized small increase in employment opportunity. However, they noticed high increase in land price. Among those demanding additional bridges, it is obvious that the most desired location is at Phra Pradaeng, 23 kilometers downstream of Krungthep Bridge because both banks in the vicinity are heavily industrial. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช | - |
dc.subject | แม่น้ำเจ้าพระยา -- สะพาน | - |
dc.subject | การขนส่ง -- การวางแผน | - |
dc.subject | การเดินทาง | - |
dc.subject | กรุงเทพฯ -- ประชากร | - |
dc.title | การศึกษาาผลกระทบของสะพานสมเด็จพระจ้าตากสินมหาราช ที่มีต่อพื้นที่ใกล้เคียง | - |
dc.title.alternative | Impact study of Somdej Phrachao Takasin Maharaj Bridge on the vicinity areas | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchat_ki_front_p.pdf | 19.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ki_ch1_p.pdf | 10.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ki_ch2_p.pdf | 76.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ki_ch3_p.pdf | 42.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ki_ch4_p.pdf | 95.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ki_ch5_p.pdf | 70.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ki_ch6_p.pdf | 8.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ki_back_p.pdf | 53.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.