Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62834
Title: | การวิเคราะห์หาค่าตัวคูณสำหรับน้ำหนักบรรทุก ในงานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตามสภาพการก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Load factor analysis for reinforced concrete buildings as constructed in Bangkok metropolitan area |
Authors: | สุชาติ ชะโยชัยชนะ |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Advisors: | เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | น้ำหนักบรรทุก (กลศาสตร์) อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก -- ไทย -- กรุงเทพฯ Loads (Mechanics) Buildings, Reinforced concrete -- Thailand -- Bangkok |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การออกแบบองค์อาคารคอนกรีต เสริม เหล็กตามทฤษฎีกำลังประลัย เป็นวิธีการออกแบบโดยเน้นพฤติกรรมของโครงสร้างที่ภาวะสุดขีด การออกแบบด้วยวิธีมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ค่าตัวคูณสำหรับน้ำหนักบรรทุกให้สอดคล้องกับสภาพการก่อสร้างและภาวะการใช้งานของอาคาร โดยยังมีความปลอดภัย เช่นเดิม การศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้ได้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุกบนอาคาร แยกตามประเภทการใช้งาน เช่น อาคารสำนักงาน อาคารสถานีขนส่ง อาคารมหาวิทยาลัย และอาคารที่จอดรถของห้างสรรพสินค้า ข้อมูลที่สำรวจประกอบด้วย ส่วนที่เกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุกคงที่ และน้ำหนักบรรทุกจรตามสภาพที่เกิดขึ้นจริง จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์หาน้ำหนักบรรทุกจรรวมตามแบบจำลองของ Peir และ Cornell โดยอิงการนำเสนอตามสถาบันมาตรฐานสากลของอเมริกา (ANSI A58.1-1982) ซึ่งประกอบไปด้วย น้ำหนักบรรทุกจรถาวรและน้ำหนักบรรทุกจรเพิ่มชั่วขณะ จากการวิเคราะห์น้ำหนักบรรทุกจรรวมตามลักษณะการใช้งานของอาคารประเภทต่าง ๆ พบว่าอาคารประเภทสำนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีค่าสูงกว่าค่าที่กำหนดเพื่อใช้ในการออกแบบตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ในขณะที่อาคารที่จอดรถของห้างสรรพสินค้าให้ค่าน้ำหนักบรรทุกจรรวมในลักษณะที่ตรงกันข้าม ส่วนอาคารมหาวิทยาลัย และอาคารสถานีขนส่ง มีความเหมาะสมสอดคล้องตามที่กำหนดเพื่อให้ใช้ในการออกแบบ ค่าตัวคูณสำหรับน้ำหนักบรรทุก โดยอิงค่าความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล จะขึ้นอยู่กับค่าตัวคูณลดกำลังรับแรงขององค์อาคารในเขตกรุงเทพมหานคร ตามผลการวิจัยของนายอัฎฐ์ อมาตยกุล และสภาพการใช้งานของอาคารประเภทต่าง ๆ วิธีการคำนวณได้พิจารณาตามทฤษฎีความน่าเชื่อถือทางโครงสร้างตามวิธีการประมาณอันดับที่หนึ่ง จะให้ค่าตัวคูณสำหรับน้ำหนักบรรทุกคงที่มีค่า 1.2 และสำหรับน้ำหนักบรรทุกจรมีค่า 1.6 เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ย แต่ถ้าพิจารณาตามวิธีโมเมนต์ที่สอง โดยให้ค่าความปลอดภัยใกล้เคียงกับ ACI อาจใช้ค่า 1.5 และ 2.0 สำหรับน้ำหนักบรรทุกคงที่และน้ำหนักบรรทุกจรตามลำดับ แต่จะให้ค่าความปลอดภัยต่ำกว่าของมาตรฐาน วสท. (EIT-1001-16) เล็กน้อย |
Other Abstract: | Ultimate strength design for reinforced concrete structures emphasizes structural behavior at the ultimate limit state. Load factors correlate to the construction condition and functions of the building are required in the design process and they must to achieve an acceptable safety level. In this research, various data concerning dead load and live load were collected for several buildings categorized by their functions such as offices, but terminals, colleges or universities and car parks in department stores. Total live loads which consist of the sustained live loads and the transient live loads were analysed on the basis of the live load model recommended by Peir and Cornell, which is the same method used by the American National Standard Institute (ANSI A58.1-1982) The results indicate that the live load for office buildings in Bangkok area is higher than that specified by the Building Code. On the other hand, the live load for car parks has shown a smaller value than the specified one. On the other hand, the live load for bus terminals and colleges or universities show good agreement with the code and the ANSI Standards. The load factors calculated on the basis of the generally accepted safety index with the capacity reduction factor as recommended by Amattayakul using structural reliability theory of first order approximation were found to be 1.2 for dead load and 1.6 for live load. The load factors calculated by second-moment theory to give a safety index at the same level as in the ACI Code may be taken as 1.5 for dead load and 2.0 for live load respectively. The resulting safety index is slightly less conservative than the value that would have resulted from using the EIT Standard (EIT-1001-16). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62834 |
ISBN: | 9745693758 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchart_cha_front_p.pdf | 15.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_cha_ch1_p.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_cha_ch2_p.pdf | 8.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_cha_ch3_p.pdf | 13.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_cha_ch4_p.pdf | 5.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_cha_ch5_p.pdf | 5.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_cha_ch6_p.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchart_cha_back_p.pdf | 59.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.