Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62837
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชอุ่ม มลิลา | - |
dc.contributor.advisor | ประพาฬ ขันธ์นะภา | - |
dc.contributor.author | สุชาติ ตามใจจิตร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2019-08-30T08:13:33Z | - |
dc.date.available | 2019-08-30T08:13:33Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746341006 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62837 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ และหาวิธีการประเมินราคาต้นทุนอย่างมีหลักการ เพื่อให้ได้ต้นทุนที่มีค่าใกล้เคียงกับต้นทุนจริง จากการเข้าไปศึกษากระบวนการผลิตงานเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ โดยพิจารณาปัจจัยที่มีผลกระทบกับเวลาการผลิต ปัจจัยที่มีผลกับต้นทุนการผลิต และโครงสร้างราคาต้นทุนการผลิต ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ 1. การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยกำหนดข้อควรปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการการผลิตเพื่อให้การทำงานสะดวกรวดเร็วขึ้น ป้องกันการผิดพลาด เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถควบคุมปริมาณการใช้วัตถุดิบได้ 2. การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยการลดต้นทุนการผลิต ได้พิจารณาต้นทุนคอนกรีตซึ่งเป็นต้นทุนหลักพบว่า ต้นทุนคอนกรีต แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ต้นทุนคอนกรีตที่คิดคำนวณจากปริมาตรซึ่งถอดจากแบบโดยตรง (Vnet) และต้นทุนคอนกรีตส่วนเกินที่ใช้ไปนอกเหนือจากที่คำนวณได้จากแบบ (Vw) การวิจัยครั้งนี้ได้พิจารณาลดปริมาณคอนกรีตส่วนเกินเนื่องจากการเผื่อคอนกรีตสูงเกินระดับหัวเสาเข็มที่ต้องการ โดยเสนอวิธีการคำนวณการสั่งคอนกรีตครั้งสุดท้ายก่อนการปิดการเทคอนกรีต ทำให้สามารถลดปริมาณคอนกรีตลงได้ 1.68% 3. ปรับปรุงการประมาณราคาต้นทุนอย่างมีหลักการ สำหรับวัตถุดิบทางตรงซึ่งมีต้นทุนคอนกรีตเป็นต้นทุนหลักนั้น เมื่อแจกแจงปริมาณคอนกรีตส่วนเกิน ทำให้สามารถคำนวณปริมาณการใช้ได้ใกล้เคียงกับปริมาณการใช้จริง ส่วนต้นทุนค่าแรงงานซึ่งเป็นต้นทุนแปรผันกับเวลาการผลิตนั้น งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SIGMA มาใช้ในการจำลองสถานการณ์เพื่อประเมินเวลาแล้วเสร็จของโครงการ ทำให้สามารถคำนวณค่าแรงได้แม่นยำมากขึ้น ในส่วนของต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตนั้น งานวิจัยนี้ใช้หลักการจัดสรรต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายคงที่โดยใช้ปริมาณคอนกรีตเป็นฐานการคำนวณ ผลการปรับปรุงที่นำเสนอได้ผลสรุปดังนี้ 1. การปรับปรุงวิธีการสั่งคอนกรีต สามารถประมาณการต้นทุนคอนกรีตลดลงได้ 1.68% 2.การปรับปรุงวิธีการประมาณราคาต้นทุนใหม่ ทำให้ต้นทุนที่ประมาณได้มีค่าใกล้เคียงกับต้นทุนบัญชีที่ใช้จริง | - |
dc.description.abstractalternative | The objective of this thesis is to improve the operations efficiency of large diameter bored pile. The evaluation of the true production cost methodically is also sought. The study into the production process of large diameter bored piles considers factors that affect the production time, production costs, and overall cost structure. The study was carried out in 3 areas: 1) Improvement in production efficiency by defining recommended practices for each production steps in order to shorten the time and prevent making mistakes. Consequently, this will enhance control over materials quantities. 2) Improvement in production costs by considering the major cost which is concrete material. The cost of concrete is made up of 2 portions; namely, the theoretical volume (Vnet), and the additional volume to theoretical volume, (Vw). This study resulted in a recommendation that could save 1.68% of concrete material. 3) Improvement in the estimation of production cost methodically. With respect to the direct materials cost, of which concrete is the major item, the analysis of the additional concrete volume required plus the theoretical volume is similar to the actual volume used. In the case of labour cost, which varies with production time, this study applies the computer software model called “SIGMA” to simulate the production process and hence estimates the production time for the project. This allows a more accurate calculation of the labour cost. In this study preliminary costs are considered to be fixed costs and the concrete volume is used as the base for calculation. The results of the above improvements can be summarized herebelow: 1. An improved method of calculating concrete volume enabling a reduction in the cost of concrete of 1.68% 2. An improved method of calculating the production cost which more accurately reflects the true cost. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | เสาเข็ม | - |
dc.subject | เสาคอนกรีต -- ต้นทุน | - |
dc.subject | การจำลองระบบ | - |
dc.subject | การประมาณต้นทุน | - |
dc.subject | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การควบคุมต้นทุนการผลิต | - |
dc.subject | Piling (Civil engineering) | - |
dc.subject | Columns, Concrete -- Costs | - |
dc.subject | Simulation methods | - |
dc.subject | Cost estimates | - |
dc.subject | Construction industry -- Cost control | - |
dc.title | การปรับปรุงประสิทธิภาพงานทำเสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ | - |
dc.title.alternative | Efficiency improvement of bored piling work | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchat_ta_front_p.pdf | 4.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ta_ch1_p.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ta_ch2_p.pdf | 6.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ta_ch3_p.pdf | 9.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ta_ch4_p.pdf | 29.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ta_ch5_p.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchat_ta_back_p.pdf | 28.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.