Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62855
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสะเทื้อน ปิ่นน้อย-
dc.contributor.advisorวิไลลักษณ์ ภัทโรดม-
dc.contributor.authorสุชีลา ชื่นพาณิชยกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-09-02T09:44:41Z-
dc.date.available2019-09-02T09:44:41Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.isbn9745686565-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62855-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้วัตถุประสงค์ที่จะศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนของฟาร์มเลี้ยงไก่และปลาแบบผสมผสานในเขตท้องที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ข้อมูลนี้ได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 42 ฟาร์ม ปีการผลิต 2529 ขนาดฟาร์มแบ่งเป็น 3 ระดับ คือขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ อย่างละ 14 ฟาร์ม ในแต่ละขนาดฟาร์มใช้ระยะเวลาการผลิต 10 เดือน จำนวน 7 ฟาร์ม และระยะเวลาการผลิต 12 เดือน จำนวน 7 ฟาร์ม ผลการศึกษาการเลี้ยงไก่และปลาแบบผสมผสานที่ใช้ระยะเวลาในการผลิต 10 เดือน พบว่าผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อไม่คิดต้นทุนค่าเสียโอกาสมีอัตราผลขาดทุนต่อเงินลงทุนของฟาร์มขนาดเล็กร้อยละ 0.66 ส่วนฟาร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่มีผลกำไรต่อเงินลงทุน ร้อยละ 11.18 และ 16.50 ตามลำดับ เมื่อแบ่งสรรต้นทุนของฟาร์มแบบผสมผสานให้กับการเลี้ยงไก่และการเลี้ยงปลา ปรากฎว่าผลตอบแทนจากการเลี้ยงไก่มีผลขาดทุนต่อเงินลงทุนของฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลาง ร้อยละ 8.25 และ 2.45 ตามลำดับ ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่มีผลกำไรต่อเงินลงทุน ร้อยละ 5.67 สำหรับผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลามีผลกำไรต่อเงินลงทุนของฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ร้อยละ 7.59, 13.63 และ 10.83 ตามลำดับ ส่วนการเลี้ยงไก่และปลาแบบผสมผสานที่ใช้ระยะเวลาในการผลิต 12 เดือน พบว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนเมื่อไม่คิดต้นทุนค่าเสียโอกาส มีผลกำไรต่อเงินลงทุนของฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ร้อยละ 3.14, 14.70 และ 23.71 ตามลำดับ เมื่อแบ่งสรรต้นทุนของฟาร์มแบบผสมผสานให้กับการเลี้ยงไก่และการเลี้ยงปลา ปรากฏว่าผลตอบแทนจากการเลี้ยงไก่มีผลขาดทุนต่อเงินลงทุนของฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลาง ร้อยละ 3.05 และ 6.63 ตามลำดับ ส่วนฟาร์มขนาดใหญ่มีผลกำไรต่อเงินลงทุนร้อยละ 7.10 สำหรับผลตอบแทนจากการเลี้ยงปลามีผลกำไรต่อเงินลงทุนของฟาร์มขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ร้อยละ 6.19, 21.33 และ 16.61 ตามลำดับ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ผลตอบแทนจากเงินลงทุนในการเลี้ยงไก่จะต่ำกว่าผลตอบแทนจากเงินลงทุนในการเลี้ยงปลา เนื่องจากปลาที่เลี้ยงได้อาศัยมูลไก่และเศษอาหารไก่ที่ตกหล่นกินเป็นอาหาร ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนการผลิตของการเลี้ยงปลาได้มาก-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to study the cost and return on investment of integrated poultry with fish farms in Lumlooka District, Pathumthani Province. Data were obtained in 1986 by interviewing 42 farmers whose farms were divided into 3 categories : small, medium and large. Fourteen farms in each category were studied. In each category, the breeding in seven out of fourteen farms took 10 months to reach the production stage, while the other seven took 12 months. The result of the study on the integrated poultry with fish farms with 10 months production period showed an average loss of 0.66% on the small farms, whereas the medium and large farms showed an average profit of 11.18% and 16.50% respectively,. When the cost of the integrated farms was allocated to fish and poultry cultures, the return of poultry culture showed an average loss of 8.25% and 2.45% on the small and medium farms respectively, while the large farm made an average profit of 5.67% . The fish culture, on the contrary, showed an average profit of 7.59% 13.63% and 10.83% on the small, medium and large farms respectively. For the integrated farms with 12 months production period, the result showed an average profit of 3.14%, 14.70% and 23.71% on the small, medium and large farms respectively. When the integrated farming cost was divided into fish and poultry cultures, an average loss of 3.05% and 6.63% was shown on the return of the poultry culture of the small and medium farms respectively, while the large farms earned an average profit of 7.10%. The fish culture, on the contrary, yielded an average profit of 6.19%, 21.33% and 16.61% on the small, medium and large farms respectively. In conclusion, the return on investment of the poultry coulture is lower than that of the fish culture. The reason is that the fish feed on the poultry’s dung and their leftover. Therefore, the fish culture cost can be minimized.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectไก่, การเลี้ยง-
dc.subjectปลา, การเลี้ยง-
dc.subjectอัตราผลตอบแทน -- ไทย-
dc.subjectการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน-
dc.subjectเกษตรกรรมแบบผสมผสาน-
dc.titleต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนของฟาร์มเลี้ยงไก่และปลา แบบผสมผสาน ในเขตจังหวัดปทุมธานี-
dc.title.alternativeCost and return on investment of integrated poultry with fish farms in Pathum Thani province-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการบัญชี-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sucheela_ch_front_p.pdf10.51 MBAdobe PDFView/Open
Sucheela_ch_ch1_p.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open
Sucheela_ch_ch2_p.pdf21.74 MBAdobe PDFView/Open
Sucheela_ch_ch3_p.pdf49.69 MBAdobe PDFView/Open
Sucheela_ch_ch4_p.pdf28.27 MBAdobe PDFView/Open
Sucheela_ch_ch5_p.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open
Sucheela_ch_back_p.pdf31.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.