Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6287
Title: | อิทธิพลของบุคลิกภาพ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และอารมณ์ต่อการพยายามควบคุมอารมณ์ |
Other Titles: | Effects of personality, social interaction, and emotion on efforts to control motions |
Authors: | ศุภดี คุวสานนท์ |
Advisors: | คัดนางค์ มณีศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | Kakanang.M@Chula.ac.th |
Subjects: | บุคลิกภาพ อารมณ์ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอิทธิพลของบุคลิกภาพ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและอารมณ์ต่อการพยายามควบคุมอารมณ์ ผู้เข้าร่วมการวิจัย 160 คน บรรยายภาพสไลด์ที่กระตุ้นอารมณ์ให้แก่เพื่อนหรือคนแปลกหน้า จากนั้นผู้เข้าร่วมการวิจัยรายงานความพยายามควบคุมอารมณ์ของตน วิเคราะห์ข้อมูลโดยรูปแบบการวิจัยแบบ 2 (ความเป็นมิตรสูงหรือต่ำ) X2 (การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนแปลกหน้า) X2 (สถานการณ์อารมณ์ทางบวกหรือทางลบ) แฟคทอเรียลดีไซน์ ผลการวิจัย พบว่า 1. คนที่มีบุคลิกภาพในมิติความเป็นมิตรสูงพยายามควบคุมอารมณ์มากกว่าคนที่มีบุคลิกภาพในมิติความเป็นมิตรต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .001 2. คนที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าพยายามควบคุมอารมณ์มากกว่าคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .001 3. คนพยายามควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์อารมณ์ทางลบมากกว่าในสถานการณ์อารมณ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .001 |
Other Abstract: | The purpose of this study was to examine effects of personality, social interaction, and emotion on efforts to control emotions. Participants (N=160) described contents of emotionally evocative slides to a partner (either a friend or a stranger). Then they reported their efforts to control emotion. Analyses were conducted as a 2 (Agreebleness: high vs. low) X2 (interaction: friend vs. stranger) X2 (emotional situations: positive vs. negative) factorial design. Results are as follows: 1. High Agreeableness individuals spend greater effort to control emotions than do low Agreeableness individuals (p<.001). 2. Individuals exert more effort to control their emotions when interact with a stranger than with a friend (p<.001). 3. Individuals exert more effort to control emotions in the negative emotional situations than in the positive emotional wituations (p<.001). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6287 |
ISBN: | 9741749791 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supadee.pdf | 680.73 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.