Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62871
Title: พฤติกรรมของพรีฟิลเตอร์ในการขจัดแอลจี
Other Titles: Behavior of prefilters in algal removal
Authors: สุดา อนันทสิมานนท์
Advisors: สุดใจ จำปา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สาหร่าย -- การควบคุม
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์การกรอง
เครื่องกรองและการกรอง
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมื่อน้ำดิบของระบบประปามีแอลจียู่ในปริมาณมาก จนก่อให้เกิดปัญหาอุดตันเครื่องทรายกรอง ได้ทดลองใช้พรีฟิลเตอร์ซึ่งได้ผลในการกำกัดแอลจี มาใช้กับระบบประปาต้นแบบ ที่เขื่อนศรีนครินทร์ โดยให้น้ำไหลผ่านพรีฟิลเตอร์ในแนวระนาบ และได้เลือกใช้กรวดขนาด 4-12 และ 9-20 มม. เป็นสารกรองของพรีฟิลเตอร์ถังหนึ่งเรียกว่าถึงกรวด, และใช้วงแหวนพลาสติคขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2" และ 3" และแผ่นพลาสติคลอน หรือกลาสสิเฟล็กซ์ ขนาดระยะห่างแผ่น 1.0 และ 1.5 ซม. เป็นสารกรองของพรีฟิลเตอร์ถังที่สองและสาม โดยเรียกว่า ถังใส่สารกรองพลาสติค ถึงพรีฟิลเตอร์ทั้ง 3 ดังนี้ มีขนาดแต่ละถังเท่ากับ 3 x 5.4 x 0.8 ม³ โดยมีชั้นสารกรองสูง 0.5 ม. โดยประมาณ แต่ละถังแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อย ขนาด 3 x 1.8 x 0.8 ม³ พรีฟิลเตอร์ทั้ง 9 ส่วนนี้ มีรายละเอียดการจัดวางสารกรอง และตำแหน่งที่ตั้ง แตกต่างกันไปดังนี้คือ ถังกรวดซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน มีรายละเอียดดังนี้:- ส่วนแรก ใช้กรวดขนาด 9-20 มม. เป็นสารกรอง อัตราการกรองเป็น 5.6 ม³/ซม. ส่วนที่สอง ใช้กรวดขนาด 9-20 มม. และ 4-12 มม. เป็นสารกรอง มีอัตราการกรอง 5.6 ม³/ซม. ส่วนที่สาม ใช้กรวดขนาด 9-20 มม. และ 4-12 มม. เป็นสารกรอง มีอัตราการกรอง 3.6 ม³/ซม. ถังใส่สารกรองพลาสติค 2 ถัง มีรายละเอียดดังนี้:- ส่วนที่หนึ่ง ใช้วงแหวนพลาสติคขนาด ∅ 2" และ 3" อัตราการกรอง 5.36 ม³/ซม. ส่วนที่สอง ใช้วงแหวนพลาสติคขนาด ∅ 2" อัตราการกรอง 5.36 ม³/ซม. ส่วนที่สาม ใช้แผ่นกลาสสิเฟล็กซ์ ขนาดระยะห่างระหว่างแผ่น 1 ซม. อัตราการกรอง 2.55 ม³/ซม. ส่วนที่สี่ ใช้วงแหวนกลาสสิเฟล็กซ์ขนาด ∅ 3" อัตราการกรอง 7.0 ม³/ซม. ส่วนที่ห้า ใช้แผ่นกลาสสิเฟล็กซ์ขนาดระยะห่างระหว่างแผ่น 1.5 และ 1.0 ซม. อัตราการกรอง 7 ม³/ซม. ส่วนที่หก ใช้แผ่นกลาสสิเฟล็กซ์ขนาดระยะห่างระหว่างแผ่น 1.5 และ อัตราการกรอง 7 ม³/ซม. อนึ่ง ถังกรวดทั้ง 3 ส่วน และถังใส่สารกรองพลาสสิคส่วนที่ 1-3 ติดตั้งอยู่ที่ชุมชนเขื่อนศรีนครินทร์ โดยใช้น้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำ และถังใส่สารกรองพลาสติค ส่วนที่ 4-6 ติดตั้งอยู่ที่ฝั่งซ้าย บริการนักท่องเที่ยว และใช้น้ำดิบจากน้ำท้ายเขื่อน ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมในการขจัดแอลจี โดยมุ่งเก็บข้อมูลของการสะสมของแอลจี ในเทอมคลอโรฟิลล์เอ. และน้ำหนักฟิล์มบนสารกรองพลาสติค ตามระดับความลึกของชั้นกรอง และระยะทางในการไหลของน้ำที่กรองจากพรีฟิลเตอร์ นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงชนิดที่สำคัญๆ ซึ่งมีอยู่ในน้ำดิบ, ฟิล์มบนสารกรอง และน้ำที่กรองจากพรีฟิลเตอร์แล้ว สุดท้ายก็ได้หาแนวทางในการทำความสะอาดสารกรองที่ทุ่นแรงและประหยัดอีกด้วย การวิจัยได้ผลสรุปดังนี้คือ 1. สารกรองที่อยู่ในชั้นลึกที่สุด คือ ความสูง 10-30 ซม. จากพื้นถัง มีแอลจีและฟิล์มสะสมอยู่มากที่สุด 2. การกำจัดแอลจี และอนุภาคแขวนลอยในน้ำ เกิดจากการตกตะกอน และการดูดติดผิวเป็นหลัก 3. การสะสมแอลจี และน้ำหนักฟิล์มบนสารกรอง ลดลงตามระยะทางในการไหล คือมีการสะสมมากในช่วงความยาวของถัง 2.4-2.7 ม. (จากความยาวของถังทั้งหมด 3 ม.) 4. แอลจีที่พบในน้ำดิบ ส่วนใหญ่เป็นชนิดอุดตันเครื่องกรอง มากกว่าที่จะเป็นแบบก่อให้เกิดกลิ่นและรส พบว่าพรีฟิลเตอร์สามารถกำจัดไดอะตอมได้ด้วย 5. การล้างกรวดที่อุดตันแล้ว อาจเลือกใช้กรดเกลือ (HC1) ซึ่งหาง่ายและราคาถูก ความเข้มข้นตั้งแต่ 20% โดยปริมาตรขึ้นไป ส่วนสารกรองพลาสติค ทั้งแบบวงแหวน และแผ่นกลาสสิเฟล็กซ์ ซึ่งมีความพรุนมากกว่า 90% ไม่จำเป็นต้องล้างด้วยกรดจึงอาจใช้วิธีพ่นน้ำล้างภายในถัง แล้วถ่ายตะกอนสลัดจ์ออกจากถังในภายหลัง 6. ถังกรวด มีประสิทธิภาพสูงกว่าสารกรองอื่นๆ ในแง่การกำจัดแอลจี และความขุ่น รองลงมา คือวงแหวนพลาสติค และแผ่นกลาสสิเฟล็กซ์ ตามลำดับ
Other Abstract: As there are vast numbers of algae in surface water which cause many problems in a water supply system, for example, clogging sand filters. Prefilters are proposed for the study at Srinagarindra Dam and found that they are efficiently in algal removal. For this experiment; gravel size of 4-12 mm., 9-12 mm. and plastic ring diameter 2" and 3" also corrugated plastic sheets, named "glassiflex" with 1.0-1.5 cm. pitch were used as the media in three sets of prefilters, respectively. The dimensions of each prefilter chamber was 3 x 5.4 x 0.8 m³ with 0.5 m. filter bed depth. Each chamber was divided into 3 compartments with dimension of 3 x 1.8 x 0.8 m³, each. The details of these nine compartments were as follow:- The first chamber:- The 1st compartment used gravel size 9-20 mm. The 2nd compartment used gravel size 9-20 and 4-12 mm. The 3rd compartment used gravel size 9-20 and 4-12 mm. The flow rate of the 1st and the 2nd one were 5.6 m³/hr and the last one was 3.6 m³/hr. The 1st compartment used plastic ring ∅ 2" and 3" The 2nd compartment used plastic ring ∅ 2" The last one used glassiflex a pitch of 1 cm. The flow rate of both the 1st and 2nd one were 5.36 m³/hr and the last one was 2.55 m³/hr. The third chamber:- The 1st compartment used plastic ring ∅ 3" The 2nd compartment used glassiflex a pitch of 1.5 and 1.0 m. The last one used glassiflex a pitch 1.5 cm. Each compartment had the flow rate 7 m³/hr. The 1st and 2nd chamber located in the community area of Srinagarindra Dam and using raw water from the reservoir. The 3rd one located in left bank with raw water supplied from the lower part of the dam. The purpose of the study aimed on the behavior of prefilters in algal removal by analyzing algae, in term of chlorophyll a, and solid film accumulation at various depths of media and distance of flow. Furthermore, the significant kinds of algae in raw water, solid film on media and prefiltered water were observed. Inventually, appropriate methods for cleaning media had to be suggested. The study can be concluded as follows:- 1. There were heavy algal cells and solid film accumulation at the lowest depth of media or 10-30 cm. from the bottom of compartments. 2. Suspended solid and algal removal were expected to be due to sedimentation and adsorption. 3. Algal and solid film accumulation were decreased by the end of flow. 4. In raw water, most of algae were filter clogging algae rather than taste and odor algae. Prefilters was also found to be able to remove diatom. 5. In case of gravel, HC1 concentration not less than 20% by volume was found to be Suitable for cleaning. Plastic ring and glassiflex, which porosity are more than 90%, need not to be cleaned by chemicals, only flushing out the sludge at the bottom of each compartment was enough. 6. In algal removal, gravel media was the most efficient prefiltering media, then plastic ring and glassiflex, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62871
ISBN: 9745638722
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suda_an_front_p.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Suda_an_ch1_p.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Suda_an_ch2_p.pdf10.49 MBAdobe PDFView/Open
Suda_an_ch3_p.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Suda_an_ch4_p.pdf13.19 MBAdobe PDFView/Open
Suda_an_ch5_p.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Suda_an_ch6_p.pdf708.85 kBAdobe PDFView/Open
Suda_an_back_p.pdf16.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.