Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62874
Title: บทบาทของตลาดซื้อคืนในการบริหารเงินระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ไทย
Other Titles: Role of repurchase market in the short-term fund management of Thai commercial banks
Authors: สุดาพร สุวณิชย์
Advisors: กมเลศน์ สันติเวชชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: kamales@acc.chula.ac.th
Subjects: ธนาคารพาณิชย์ -- ไทย
ธนาคารและการธนาคาร
ตลาดซื้อคืนพันธบัตร
Banks and banking
Repurchase market
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบริหารงานธนาคารพาณิชย์ไทยให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอกับความต้องการใช้เงินอันได้แก่ การให้สินเชื่อและการถอนเงินฝาก และการดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามกฎหมาย นับว่าเป็นนโยบายบริหารธนาคารพาณิชย์ที่สำคัญอันหนึ่ง ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์สามารถบริหารเงินได้หลายทางผ่านตลาดเงิน และ "ตลาดซื้อคืน" ซึ่งนับว่าเป็นตลาดเงินที่สำคัญสำหรับธนาคารพาณิชย์ในการบริหารเงินระยะสั้นให้เกิดสภาพคล่องตามต้องการ ตลาดซื้อคืนจัดตั้งขึ้นโดยธนาคารแห่ประเทศไทย เมื่อเดือนเมษยน 2522 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อช่วยธนาคารพาณิชย์ในการปรับสภาพคล่องส่วนเกินหรือส่วนขนาด กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ตลาดซื้อคืนจัดตั้งขึ้นเพื่อให้มีบทบาทสำคัญในการช่วยบริหารเงินระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา กล่าวคือ เมื่อธนาคารพาณิชย์อยู่ในสภาพคล่องสูง (มีเงินเหลือ) ธนาคารก็จะเข้าร่วมในตลาดซื้อคืนในฐานะผู้ซื้อด้วยการโทรศัพท์ไปยังตลาดซื้อคืน เพื่อแจ้งความจำนงว่าต้องการซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าจะขายคืนจำนวนเท่าใด ระยะเวลาใด (1 วัน 3 วัน 15 วัน...) อัตราผลตอบแทนเท่าใด และเข้าดำเนินการในฐานะผู้ขายโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน เมื่อธนาคารอยู่ในสภาพคล่องต่ำ (ธนาคารขาดเงิน) ซึ่งถ้าความต้องการซื้อกับความต้องการขายตรงกัน ธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้ค้าหลักทรัพย์ (dealer) ก็จะจัดการดำเนินการเพื่อให้เกิดการซื้อขายกันขึ้น จากสัดส่วนการเข้าร่วมในตลาดซื้อคืนของธนาคารพาณิชย์ที่สูงขึ้นทุกปีทั้งทางด้านผู้ซื้อและผู้ขาย ดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบการเข้าร่วมของธนาคารพาณิชย์ในตลาดซื้อคืนกับตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคาร ซึ่งพบว่า ธนาคารฯ มีการเข้าร่วมในตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคารคิดเป็นร้อยละ 90.22 ของตลาดซื้อคืนในปี 2527 และร้อยละ 87.69 ของตลาดซื้อคืนในครึ่งปีแรกของปี 2528 แสดงให้เห็นว่าธนาคารพาณิชย์ได้เห็นถึงความสำคัญขจองตลาดซื้อคืนในฐานะที่เป็นแหล่งในการบริหารเงินระยะสั้นแหล่งหนึ่งของธนาคารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนกับสภาพคล่องของระบบธนาคาร และความสัมพันธ์ของปริมาณการซื้อขายสุทธิของธนาคารพาณิชย์ในตลาดซื้อคืนกับสภาพคล่องของระบบธนาคารเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า ตลาดซื้อคืนได้มีบทบาทในการบริหารเงินระยะสั้นหรือบริหารสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ได้สอดคล้องกับสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาจรงิ แม้ผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่ปี 2524-2527 ตลาดซื้อคืนจะยังไม่สามารถสนองตอบ ความต้องการบริหารการเงินระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งทางด้านผู้ซื้อและผู้ขายก็ตาม (ถึงแม้ว่าในการพิจารณารายปีจะพบว่า ตลาดซื้อคืนสามารถตอบสนองความต้องการด้านผู้ซื้ออย่างมีประสิทธิภาพในปี 2524 และตอบสนองความต้องการด้านผู้ขายอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2525 2526 และ 2527 ก็ตาม) ทั้งนี้เพราะธนาคารพาณิชย์มักจะขาดเงินหรือเหลือเงินพร้อมๆ กัน และเข้าสู่ตลาดซื้อคืนในฐานะเดียวกัน ประกอบกับตลาดซื้อคืนมีขนาดจำกัดจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเต็มที่ทั้งสองด้านพร้อมๆ กัน สำหรับในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน (Repo Rate) จากการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับสภาพคล่องของระบบธนาคารในระดับที่สูงมาก (Correlation Coefficient = 0.8523) นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนยังมีความสัมพันธ์กับอัตราอื่น เช่น Interbank (At Call), LIBOR, PRIME RATE (MOR) ในระดับที่แตกต่างกัน ตามลักษณะเฉพาะของอัตราดอกเบี้ยแต่ละประเภท กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนมีความสัมพันธ์กับอัตรา Interbank (At Call) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ (r) = 0.9354 PRIME RATE (MOR) ด้วยค่า r = 0.6396 FORWARD RATE ด้วยค่า r = 0.4368 LIBOR ด้วยค่า r = 0.7972 และ LIBOR + FORWARD (ต้นทุนการนำเงินเข้า) ด้วยค่า r = 0.8504 จากความสัมพันธ์ดังกล่าวแสดงว่า ตลาดซื้อคืนมีความเกี่ยวพันกับตลาดเงินอื่นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนการนำเงินเข้าและตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคาร (Interbank Market) ซี่งเป็นตลาดเงินที่สำคัญอีกตลาดหนึ่งของธนาคาพาณิชย์ แต่เนื่องจากผลการศึกษาที่พบว่าตลาดซื้อคืนยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของธนาคารพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จึงควรมีการปรับปรุงพัฒนาตลาดซื้อคืนให้ขยายตัวมากขึ้น เพราะปัจจุบันธนาคาพาณิชย์สามารถเข้าร่วมในตลาดซื้อคืนได้เฉพาะธนาคารที่มีพันธบัตรปลอดภาวะในส่วนที่เกินกว่าร้อยละ 15 ของเงื่อนไขการเปิดสาขาที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงแม้จากการศึกษาจะพบว่า ตลาดซื้อคืนยังไม่มีประสิทธิภาพก็ตาม แต่จากการสัมภาษณ์นักการธนาคารต่างมีความพึงพอใจในการตอบสนองของตลาดซื้อคืน และยอมรับว่าตลาดซื้อคืนได้มีส่วนช่วยในการบริหารเงินระยะสั้น (บริหารสภาพคล่อง) ของธนาคารอย่างมาก ซึ่งปกติแล้วจะเป็นการปรับสภาพคล่องประจำวัน เพื่อให้สามารถมีเงินสำรองได้ตามกฎหมาย โดยธนาคารจะเข้าตลาดฯ ในช่วงบ่ายเป็นส่วนใหญ่ เพราะธนาคารจะทราบฐานะการเงินของตนในช่วงบ่าย 2 โมงไปแล้วว่าตนขาดเงินหรือเหลือเงิน และธนาคารจะเข้าร่วมตลาดฯ ประเภท 1 วัน และ 3 วันมากที่สุด ดังนั้น เพื่อให้ตลาดซื้อคืนมีประสิทธิภาพในการบริหารเงินระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์มากขึ้น จึงควรมีการปรับปรุงและพัฒนาตลาดซื้อคืนด้วยการลดข้อจำกัดในการเข้าร่วมตลาดฯ ของธนาคารพาณิชย์ลงเพื่อขยายตลาดฯ ให้ใหญ่ขึ้น หรือทำการพัฒนาตลาดเงินประเภทอื่น เช่น ตลาด BIBOR เพื่อช่วยเสริมตลาดซื้อคืนในการบริหารเงินระยะสั้นให้แก่ระบบธนาคาพาณิชย์ไทยต่อไป
Other Abstract: In banking management, the commercial banks has an important task to control the bank’s liquidity efficiently to meet the demand for lending and withdrawal, to meet Reserve Requirements. Fund Management through the "Money Market" is available to the banks, of which "Repurchase Market" is a significant one to serve the aforementioned policy. The Repurchase Market was organized by the Bank of Thailand (BOT) in April 1979 to assist the commercial banks in adjusting their surplus or deficit liquidity at each period of time to the optimal level with the "Repurchase Agreement". The Commercial banks which have surplus liquidity, or "buyer", can purchase bonds from the BOT, which acts as the repurchase market’s dealer, by indicating details of the required amount, holding period and rate of return by with the agreement to sell back. Meanwhile, the commercial banks which have deficit liquidity, or the "seller", also indicate their desire to supply bonds to the BOT with the agreement to buy back. The transaction are operated by the BOT when the demand and supply of bonds are matched. The rising volume of Commercial Banks’ participation in the repurchase market each year as indicated by the proportion of the commercial banks’ participation in the Interbank market to the repurchase market at 90.22% in 1984 and 87.69% during the first half of 1985, imply the increasing important role of this repurchase market to the commercial bank short-term fund management. This important role was shown by the results of two studies, namely, "The relation of the repurchase market’s interest rate and the commercial banks’ liquidity", and, "Amount of commercial banks’ transaction and the banks’ liquidity". However, these studies found that the repurchase market was not able to serve, effectively, both the buyer and the seller simultaneously during 1981-1984, due mainly to similar liquidity status of most commercial banks which entered the market with the same position at each period. (The market was effectively served buyers in 1981 and sellers in 1982-1984). According to finding of this study, it is obvious that the repurchase interest rate (Repo Rate), relates highly to the banks’ liquidity with the correlation Coefficient (r) of 0.8523. Furthermore, the Repo Rate also relates to other interest rates at various levels, for example, Interbank (At Call) (r = 0.9354), LIBOR (r = 0.7979) PRIME RATE (MOR) (r = 0.6396) , FORWARD RATE (r = 0.4368) and All-in off shore cost (LIBOR + FORWARD at r = 0.8404) Depending on specific characteristics of each rate, these relationships imply that the repurchase market is closely related to other money markets both domestically and internationally, especially the interbank market which is an important money market for commercial banks. As the study found the low effectiveness of the repurchase market, and the amount of bonds engaged in the market was still marginal, only those in excess of 15% of the total bonds which commercial banks have to maintain for branch expansion, it is therefore necessary to develop and enlarge the repurchase market. Even though this market is, at present, relatively inefficient, Thai bankers reveal their appreciation for the repurchase market which is of great assistance to their short-term fund management especially, in maintaining their daily liquidity to meet the legal reserve requirement. To increase the efficiency of the commercial banks’ short-term fund management, the repurchase market should be developed by reducing the constraints for entering the market so that the market can be enlarged. In addition, other types of money market, such as the BIBOR market, should be developed to enhance the efficiency of the repurchase market’ tasks in supporting the short-term fund management of commercial banks.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62874
ISBN: 9745666522
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudaporn_su_front_p.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_su_ch1_p.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_su_ch2_p.pdf5.98 MBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_su_ch3_p.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_su_ch4_p.pdf9.72 MBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_su_ch5_p.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_su_ch6_p.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Sudaporn_su_back_p.pdf18.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.