Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62894
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการปฏิบัติตนด้านโภชนาการ ของหญิงมีครรภ์ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between selected factors and nutritional self practices of pregnant women in Bangkok metropolis
Authors: สุนีย์ ภู่ไพบูลย์
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
นิยดา สวัสดิ์วงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ครรภ์ -- แง่โภชนาการ
มารดา -- โภชนาการ
โภชนาการ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ความรู้ด้านโภชนาการ ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ลักษณะครอบครัว กับการปฏิบัติตนด้านโภชนาการของหญิงมีครรภ์ ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นหญิงมีครรภ์ จำนวน 188 คน ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่หน่วยฝากครรภ์ของโรงพยาบาล 4 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 5 ชุด คือ ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ แบบวัดความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย แบบสัมภาษณ์ความรู้ด้านโภชนาการ แบบสัมภาษณ์ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร และแบบสัมภาษณ์การปฏิบัติตนด้านโภชนาการ นำไปหาความตรงตามเนื้อหาด้วยการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ การหาความเที่ยงของเครื่องมือ ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาค (Cronbach’ s OC-Coefficient) และสูตร K-R 20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน โดยใช้คะแนนจากการทดลองใช้ และคะแนนจากตัวอย่างประชากรจริง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น ๆ (Stepwise Multiple Regression Analysis) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS-X. ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้ด้านโภชนาการ ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร ความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติตนด้านโภชนาการของหญิงมีครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์และลักษณะครอบครัว ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตนด้านโภชนาการของหญิงมีครรภ์ 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างการปฏิบัติตนด้านโภชนาการกับตัวพยากรณ์ทั้ง 5 ตัว คือ ความรู้ด้านโภชนาการ ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร ความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และลักษณะครอบครัว มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มตัวพยากรณ์ที่ดีประกอบด้วยความรู้ด้านโภชนาการ ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร และความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ซึ่งกลุ่มตัวพยากรณ์นี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติตนด้านโภชนาการ ได้ร้อยละ 48.28 และตัวแปรที่พยากรณ์ได้ดีที่สุด คือความรู้ด้านโภชนาการ ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของการปฏิบัติตนด้านโภชนาการได้ร้อยละ 32.82
Other Abstract: The purposes of this research were to study the relationships between the selected variables and the nutritional self practices of pregnant women, and to search for the variables which would be predict such practices. Health locus of control, knowledge about nutrition, food beliefs, number of pregnancy and family types were selected variables acted as the predetermined predictors. One hundred and eighty eight pregnant women who met the criteria set by the researcher were randomized from all pregnant women who visited prenatal clinics of four hospitals located in Bangkok Metropolis by using simple random sampling method. The research instrument developed by the researcher was the interviewed questionnaire which consisted of five section; demographic data, health locus of control. Knowledge about nutrition, food beliefs and nutritional self practices. This instrument was reviewed by a panel of experts for content validity. The reliability procedures; Cronbach’s Allpha Coefficient and Kuder Richardson-20 were performed on the try out data and on the total data to assess the internal consistency of the scales in the instrument. A Statistical Package for Social Science (SPSS-X) computer program was used for the analysis of data. Various statistical methods; percentage, pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression were conducted. Summary of the findings were as follows; 1. Knowledge about nutrition, food beliefs and health locus of control were positively related to nutritional self practices of pregnant women at the .01 level of significant. 2. There were no relationships between number of pregnancy, family types and nutritional self practices of pregnant women. 3. The multiple correlation coefficient between five variables: knowledge about nutrition, food beliefs, health locus of control, number of pregnancy, family types and nutritional self practices, indicated significant at the .01 level. 4. Knowledge about nutrition, food beliefs, and health locus of control accounted for 48.28% of the variance of nutritional self practices. Knowledge about nutrition was the variable which predicted best (32.82%)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62894
ISBN: 9745668265
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunee_pu_front_p.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_pu_ch1_p.pdf6.55 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_pu_ch2_p.pdf14.94 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_pu_ch3_p.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_pu_ch4_p.pdf7.34 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_pu_ch5_p.pdf8.09 MBAdobe PDFView/Open
Sunee_pu_back_p.pdf18.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.