Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62899
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทิกา ทวิชาชาติ-
dc.contributor.advisorสมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์-
dc.contributor.authorสุนีรัตน์ อนันทวุฒิกานนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-09-04T07:19:36Z-
dc.date.available2019-09-04T07:19:36Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745798614-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62899-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535-
dc.description.abstractการมีบุตรเป็นความปรารถนาอย่างหนึ่งในชีวิตสมรส และเป็นปัจจัยที่แสดงถึงความรักและความผูกพันระหว่างสามีภรรยา ดังนั้นการไม่มีบุตรจึงก่อให้เกิดปัญหาแก่คู่สมรสได้ สาเหตุของการมีบุตรยากนั้นอาจมีปัจจัยทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ในปัจจุบันมีผู้มารับบริการเพื่อขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหานี้ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ มากขึ้น และการศึกษาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านร่างกาย ส่วนการศึกษาปัจจัยทางด้านจิตใจของสตรีที่มีบุตรยากนั้นยังมีน้อยมาก การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลจากสตรีที่มารับบริการ ณ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เฉพาะรายใหม่ และตรวจร่างกายสามีแล้วปกติ จำนวน 100 ราย ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2534 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มประชากรตอบแบบสอบถามด้วยตนเองวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาวะจิตใจของสตรีที่มีบุตรยากในด้านต่างๆ ได้แก่ สภาวะทางอารมณ์ การปรับตัวในชีวิตสมรส เอกลักษณ์ทางเพศ ความรู้ในเรื่องเพศและบุคลิกภาพ ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ยฝ่ายหญิง 31.0 ปี ชาย 35.4 ปี ทั้งฝ่ายหญิงและชายมีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี อาชีพมั่นคง รายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ระยะเวลาของการสมรสอยู่ในช่อง 1-5 ปี ร้อยละ 62 มีประวัติคุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ และร้อยละ 38 ไม่เคยคุมกำเนิดเลย ร้อยละ 38 มีสุขภาพปกติ และร้อยละ 62 ให้ประวัติภาวะสุขภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการมีบุตรยาก ปัจจัยด้านจิตใจ จากแบบสอบถามสุขภาพ CMI พบว่า ร้อยละ 46 มีความวิตกกังวล และร้อยละ 17 มีความรู้สึกเศร้าหมอง นอกจากนี้ยังพบว่า สตรีมีบุตรยากมีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะทางอารมณ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีบุตรยาก มีการปรับตัวในชีวิตสมรสไม่ดี มีปัญหาเรื่องเอกลักษณ์ทางเพศ และขาดความรู้ในเรื่องเพศ จากแบบทดสอบบุคลิกภาพ 16 PF พบว่า สตรีที่มีบุตรยากมีบุคลิกภาพที่เบี่ยงเบนไปจากค่าปกติ เป็นแบบที่มีความวิตกกังวลและมีความสนใจแคบอยู่เฉพาะเรื่องในปัจจุบัน ปัจจัยด้านจิตใจมีผลกระทบต่อชีวิตสมรสในคู่สมรสที่มีบุตรยากอย่างชัดเจน ดังนั้นในการให้การบำบัดรักษาบุคลากรทางการแพทย์ ต้องคำนึงถึงทางร่างกาย จิตใจ พร้อมที่จะเข้าใจในปัญหาของคู่สมรสและสามารถให้คำแนะนำและการแก้ไข-
dc.description.abstractalternativeHaving a child is one of many factors in a couple. It is a sign of love and bonding between couples. Infertility creates many problems for couples who want to have a child. There are many factors involve in infertility both physical and mental factor. There are many couples asked for help about infertility problem. In Thailand most of the studies were about physical factors, only few concerned about psychological factors. This is Descriptive study done at infertility clinic, Chulalongkorn Hospital, between October to December 1991. The objective was to find out the psychological factors in infertile female about emotional factors, adaptation in marriage, sexual identity, sexual ignorance and personality. It was found that the mean age were 31.0 years and 35.4 years in female and male respectively. The majority of the couples were in high level of education, occupation and income. Duration of marriage was 1-5 years. About 62% had the history with family planning. About 38% had normal health and 62% had the history of physical illness. From CMI, we found that about 46% had anxiety and 17% had depression. Infertile female had the problem about emotional factors, adaptation in marriage, sexual identity and sexual ignorance. From 16 PF, we found that infertile female had the variation of personality in the pattern of anxiety and guilt-prone. From this study we found that psychological factors were very important to infertile couples. For management of this problem, the physical and related medical personnels should concern both mental and psychological health of the couples.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการเป็นหมันในหญิง -- แง่จิตวิทยา-
dc.subjectInfertility, Female -- Psychological aspects-
dc.titleปัจจัยด้านจิตใจของสตรีที่มีบุตรยากในคลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.title.alternativePsychological factors in infertile female at infertility clinic, Chulalongkork hospital-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineจิตเวชศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suneerat_an_front_p.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_an_ch1_p.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_an_ch2_p.pdf29.39 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_an_ch3_p.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_an_ch4_p.pdf12.51 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_an_ch5_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Suneerat_an_back_p.pdf9.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.