Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62917
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุทัศน์ วีสกุล-
dc.contributor.advisorสุจริต คูณธนกุลวงศ์-
dc.contributor.authorสุพจน์ จารุลักขณา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-09-05T03:54:43Z-
dc.date.available2019-09-05T03:54:43Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745785601-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62917-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534-
dc.description.abstractปัจจุบัน พื้นที่ชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่างของประเทศ ประสบปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่งเป็นอย่างมาก มีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและจากการกระทำของมนุษย์ ปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ และการลงทุนตามความเจริญของประเทศ การศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ จะศึกษาลักษณะของคลื่น และการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ในบริเวณเขื่อนกับทราย จังหวัดสงขลา การวิเคราะห์ลักษณะคลื่นนั้น ใช้ข้อมูลลม 7 ปี ระหว่างปี 2524 – 2530 ของกรมอุตุนิยมวิทยา มาพยากรณ์ลักษณะของคลื่น (Wave Hindcasting) ที่เกิดขึ้นในน้ำลึก โดยใช้ทฤษฎี 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีของ Sverndrup, Munk และ Bretschneider หรือ SMB Method ทฤษฎีของ Peirson และ Morkowitz หรือ PM Method และ ทฤษฎีของ JONSWAP หรือ SPM (1984) และใช้ข้อมูลคลื่นนี้ประกอบการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ N-Line ในลักษณะสองมิติ ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลวัดคลื่นภาคสนามแล้ว พบว่า ทฤษฎีของ JONSWAP เป็นทฤษฎีทำนายคลื่นที่ให้ค่าความคาดเคลื่อนมาตรฐานน้อยที่สุด จากทั้ง 3 ทฤษฎีที่ใช้ศึกษา คือ 0.46 เมตร นอกจากนี้ ยังพบว่า ลักษณะของคลื่นที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่ศึกษาเกิดขึ้นประมาณ 48% ของเวลาในรอบปี คลื่นมีความสูงเฉลี่ย 1-1.50 เมตร และคาบเวลาเฉลี่ย 5-6 วินาที โดยมีทิศทางเคลื่อนที่ คือ E 16% และ ENE 12% ตามลำดับ การเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่งสุทธิ ซึ่งคำนวณโดย ใช้ค่า Coefficient of Longshore Transport , K เท่ากับ 0.25 และ Activity Factor, COFF เท่ากับ 3 เมตร /ปี ซึ่งเป็นค่าที่ได้จากการปรับเทียบแบบจำลอง N-Line นั้นมีทิศทางเคลื่อนที่ไปทางเหนือตลอดแนวชายฝั่งเป็นปริมาณ 128,280 ม3 / ปี นอกจากนี้ พบว่า แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณใกล้เคียงเขื่อนกันทราย จะเกิดการงอกหรือทับถมของตะกอนทรายเพิ่มขึ้นในอัตรา 6.6 เมตรต่อปี ที่เส้นระดับน้ำ 1 เมตร-
dc.description.abstractalternativeThe coastal areas in the Lower Gulf of Thailand have presently suffered from the problem of shoreline change. The causes are from natural phenomena, that is wave, tidal current, etc, and by the interference of sediment transport by man-made coastal structures such as breakwater, or land reclamation. The problem is now accelerated because of the need of land development for economic growth and more investment associated with the economic development of the country. In this study, the wave characteristics and shoreline change at Songkhla breakwater are examined for both theoretical and field data investigation. Deep water waves are hindcasted using the historical wind record from Meteorological department with period of 7 years from 1981 to 1987. There are 3 theories used herein, i.e. theories of Sverndrup, Munk and Bretschenider (SMB), Peirson and Moscowitz (PM) and JONSWAP (SPM 1984). The result of wave hindcasting model is the significant input data for the mathematical N-line model in order to study the shoreline change in two dimension. It was found that the JONSWAP method showed the lowest standard error among the three theories with the magnitude of 0.46 m. The time of wave which influence the shoreline change in a year was forty-eight percent with the average height of 1 to 1.5 meters and wave period of 5 to 6 seconds. The predominant wave directions were north-east and east-north-east with sixteen and twelve percent in a year respectively. The calibration from mathematical N-line model showed that coeff of Longshore Transport, K equals 0.25 and activity factor, COFF equals 3 m/year. The net longshore sediment transport direction is northward with average rate of 128,280 cubic meters per year. The deposition rate at Songkhla jetty was 6.6 m per year at the water level of 1 meter.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectคลื่นน้ำ -- ไทย -- สงขลา-
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- สงขลา-
dc.subjectตะกอน (ธรณีวิทยา)-
dc.subjectWater waves -- Thailand -- Songkhla-
dc.subjectCoast changes -- Thailand -- Songkhla-
dc.subjectSediments (Geology)-
dc.titleลักษณะของคลื่นและการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณสงขลา-
dc.title.alternativeCharacteristics of wave and shoreline change at Songkhla-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supot_ch_front_p.pdf13.96 MBAdobe PDFView/Open
Supot_ch_ch1_p.pdf11.22 MBAdobe PDFView/Open
Supot_ch_ch2_p.pdf15.67 MBAdobe PDFView/Open
Supot_ch_ch3_p.pdf25.82 MBAdobe PDFView/Open
Supot_ch_ch4_p.pdf45.27 MBAdobe PDFView/Open
Supot_ch_ch5_p.pdf33.78 MBAdobe PDFView/Open
Supot_ch_ch6_p.pdf29.82 MBAdobe PDFView/Open
Supot_ch_ch7_p.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open
Supot_ch_back_p.pdf119.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.