Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62930
Title: ผลกระทบของการต้านไพริเมธามีนต่อการนำเข้าของไพริเมธามีน และเอนไซม์บางตัวในโฟเลตเมตาบอลิสมของพลาสโมเดียม ชาบอดี
Other Titles: Effect of pyrimethamine resistance on the uptake of pyrimethamine and some folate metabolizing enzymes in Plasmodium chabaudi
Authors: สุพร นุชดำรงค์
Advisors: สัณห์ พณิชยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ไพริเมธามีน
พลาสโมเดียมชาบอดี
เม็ดเลือดแดง
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษากลไกการต้านไพริเมธามีนใน พลาสโมเดียม ชาบอดี โดยอาศัยเชื้อ 2 โคลนเป็นแม่แบบ คือ โคลน AS จัดเป็นเชื้อไม่ต้านยา (ไวต่อไพริเมธามีน 15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว) และโคลน AS(Pr1) จัดเป็นเชื้อต้านยา (ไวต่อไพริเมธามีน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว) เมื่อเปรียบเทียบขบวนการนำไพริเมธามีนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงหนูไมซ์ปกติ เม็ดเลือดแดงติดเชื้อ พลาสโมเดียม ชาบอดี ที่ต้านและไม่ต้านไพริเมธามีนโดยใช้สารกัมมันตรังสี 14C-pyrimethamine ข้อมูลเบื้องต้นบ่งชี้ว่า การนำเข้าของไพริเมธามีนจะช้าสุดในเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อ พลาสโมเดียม ชาบอดี AS (Pr1) เมื่ออินคิวเบตเซลล์กับ 14C-pyrimethamine ความเข้มข้น 30 นาโนโมลาร์ในฮีพส์บัฟเฟอร์ซาลีน pH 7.4 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 นาที และสกัด 14C-pyrimethamine ที่ถูกนำเข้าเซลล์ด้วยเอทธานอล ปรากฏว่าปริมาณสมบูรณ์ของ 14C-pyrimethamine ในเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อโคลน AS , AS(Pr1) และเซลล์ที่ไม่ติดเชื้อจะมีค่าประมาณ 12.0 , 4.9 และ 1.3 พิโคโมลต่อ 10 9 เซลล์ตามลำดับ เซลล์เม็ดเลือดแดงปกติจะนำไพริเมธามีนเข้าเซลล์ด้วยขบวนการที่อิ่มตัว (Km 7.9 ± 0.1 นาโนโมลาร์) ซึ่งแสดงถึงว่า ไพริเมธามีนน่าจะถูกนำเข้าเซลล์ด้วยขบวนการ carrier-mediated transport แม้ว่าค่าการนำเข้าจะต่ำมากจนไม่สามารถสังเกตความแตกต่างเนื่องจากผลกระทบของอุณหภูมิและ pH ก็ตาม ลักษณะการนำเข้าของไพริเมธามีนโดยเซลล์ติดเชื้อ พลาสโมเดียม ชาบอดี AS จะแปรตาม pH และ อุณหภูมิ โดยที่ไพริเมธามีนจะยังคงผ่านเข้าเซลล์ได้ค่อนข้างดีเช่นกันที่อุณหภูมิต่ำๆ เมื่อพิจารณารวมไปถึงรูปแบบของการนำเข้า ซึ่งแปรตามความเข้มข้นของ 14C-pyrimethamine บ้างเล็กน้อย จึงเป็นไปได้ว่า ไพริเมธามีนน่าจะถูกนำเข้าเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อโคลน AS โดยอาศัยขบวนการ carrier- mediated transport (Km 3.9±0.7 นาโนโมลาร์ ) ร่วมกับ simple diffusion ลักษณะการนำเข้าแบบ simple diffusion ของไพริเมธามีนนี้จะเห็นเด่นชัดมากขึ้นในเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อ พลาสโมเดียม ชาบอดี AS(PR1) โดยที่การนำเข้าจะไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการทดลองที่แสดงว่า การนำเข้าแปรตาม pH ซึ่งใช้ทดลอง และรูปแบบของการนำเข้า ไม่แปรตามความเข้มข้นของ 14C-pyrimethamine มากนัก (Km 6.3 ±0.9 นาโนโมลาร์) จึงอาจกล่าวได้ว่า carrier-mediated transport ของไพริเมธามีนยังคงปรากฏอยู่ในเซลล์ติดเชื้อโคลน AS(Pr1) แต่จะมีลักษณะแตกต่างจากขบวนการเดียวกันในเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อ พลาสโมเดียม ชาบอดี AS ไปบ้าง ทั้งนี้ผลการทดลองพบว่า pH และกรดโฟลิคจะมีผลกระทบต่อการนำเข้าของไพริเมธามีนต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เมื่อทำการศึกษาเซลล์ติดเชื้อทั้งสองโคลนในสภาวะที่ขาดอาหารยังพบอีกว่า การนำเข้าของไพริเมธามีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงติดเชื้อจะขึ้นกับความเข้มข้นของกลูโคสและชนิดของสารที่เป็นแหล่งพลังงาน กับทั้งถูกยับยั้งได้ด้วย 2.4 - ไดไนโตรพีนอล แสดงผลสรุปถึงความเป็นไปได้ที่การนำเข้าของไพริเมธามีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงหนูไมซ์ติดเชื้อ พลาสโมเดียม ชาบอดี จะอาศัยพลังงานบางส่วนโดยผ่านทางขบวนการออกซิเดทีฟฟอสฟอริลเลชัน ผลการศึกษาเปรียบเทียบเอนไซม์ 3 ตัวในโฟเลตเมตาบอลิสมของเชื้อทั้งสองโคลนโดยใช้เอนไซม์ที่ไม่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์ซึ่งเตรียมได้จากเซลล์อิสระของ พลาสโมเดียม ชาบอดี ซึ่งแยกออกจากเซลล์ติดเชื้อโดยการทำลายเยื่อเซลล์ติดเชื้อด้วย 0.015 เปอร์เซนต์ซาโปนินนาน 10 นาที พบว่า คุณสมบัติทางชีวเคมีและจลน์ศาสตร์ของเอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลต รีดักเตส จากเชื้อต้านยา (โคลน AS (Pr1)) จะแตกต่างจากเชื้อไม่ต้านยา (โคลน AS ) หลายประการ ดังนี้ ค่ายับยั้ง 50 เปอร์เซนต์ของไพริเมธามีนต่อแอคติวิตีของเอนไซม์เพิ่มขึ้นประมาณ 9 เท่าในเชื้อโคลน AS(Pr1) (ED50 288.4 นาโนโมลาร์) เมื่อเทียบกับโคลน AS(ED50 33.1 นาโนโมลาร์) และไพริเมธามีนจะยับยั้งเอนไซม์ในพลาสโมเดียม ชาบอดี AS (Pr1) แบบ non –stoichiometric ส่วนเอนไซม์เดียวกันในพลาสโมเดียม ชาบอดี AS การยับยั้งจะเป็นแบบ stoichiometric จากการศึกษาค่าคงที่ทางจลน์ศาสตร์ของการยับยั้ง (Ki) แสดงว่า เอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลต รีดักเตส จากพลาสโมเดียม ชาบอดี AS(Pr1) (Ki 160 นาโนโมลาร์) จะจับกับไพริเมธามีนได้เลวกว่าเอนไซม์จากเชื้อไม่ต้านยาประมาณ 5.5 เท่า (Ki 30 นาโนโมลาร์) โดยที่จลน์ศาสตร์การยับยั้งของไพริเมธามีนต่อเอนไซม์ในเชื้อโคลน AS (pr1) และ AS จะเป็นแบบแข่งขันและไม่แข่งขันตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า เอนไซม์จากโคลน AS(Pr1) สามารถจับกับลับสเตรตไดไฮโดรโฟเลต (Km 11.8±0.7 ไมโครโมลาร์) ได้ดีกว่าเอนไซม์เดียวกันของเชื้อโคลน AS (Km 44.9±0.6 ไมโครโมลาร์) แอคติวิตีของไดไฮโดรโฟเลต รีดักเตสที่สกัดจากเชื้อไม่ต้านไพริเมธามีนจะถูกกระตุ้นโดยโปแตสเซียมคลอไรด์ 0.05 โมลาร์ ในขณะที่เอนไซม์ต้านยาไม่ต้องการโปแตสเซียมคลอไรด์เป็นโคแฟคเตอร์ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ที่แยกจากเชื้อโคลน AS(Pr1) มีค่า 45-50 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่าที่ได้จากเอนไซม์ในพลาสโมเดียม ชาบอดี AS ประมาณ 10 องศาเซลเซียส และเอนไซม์จากทั้งสองแหล่งจะถูกผลกระทบจาก pH คล้ายคลึงกันโดย pH ที่เหมาะสมสำหรับการวัดแอคติวิตีของเอนไซม์อยู่ที่ประมาณ pH 5.9 ต่างกันเล็กน้อยตรงเอนไซม์ในเชื้อต้านยาถูกยับยั้งได้ด้วยทริสบัฟเฟอร์ นอกจากนี้ค่าแอคติวิตีสุทธิสูงสุดต่อ 109 เซลล์แสดงให้เห็นว่า การต้านไพริเมธามีนของเชื้อ พลาสโมเดียม ชาบอดี AS (Pr1) จะปรากฏควบคู่กับการเพิ่มแอคติวิตีสุทธิสูงสุดของเอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลต รีดักเตส (34.8±0.6 หน่วย) ขึ้นมากกว่าเชื้อโคลน AS ( 9.3±0.2 หน่วย) เกือบ 4 เท่า การศึกษาเปรียบเทียบเอนไซม์เซอรีน ไฮดรอกซีเมทธิลทรานสเฟอเรสซึ่งสกัดจาก พลาสโมเดียม ชาบอดี ทั้งสองโคลน พบว่า PH ที่เหมาะสมต่อการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ต่างก็จะเป็นช่วงกว้างโดยมีค่ากึ่งกลางที่ pH 8.4 และอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับวัดแอคติวิตีของเอนไซม์ในโคลน AS คือ 50 องศาเซลเซียส ในขณะที่เชื้อโคลน AS(Pr1) พบว่าเอนไซม์จะเร่งปฏิกิริยาได้ดีที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นอกจากนี้พบว่าค่าคงที่ทางจลน์ศาสตร์ในการจับกันระหว่างเอนไซม์กับลับสเตรตจะไม่ต่างกันในเชื้อ พลาสโมเดียม ชาบอดี AS และ AS(Pr1) สำหรับการเปรียบเทียบแอคติวิตีสุทธิสูงสุดของเอนไซม์เซอรีน ไฮดรอกซีเมทธิลทรานสเฟอเรสต่อ 109 เซลล์ ปรากฏว่าในเชื้อต้านไพริเมธามีนจะวัดค่าได้มากกว่าเชื้อไม่ต้านเล็กน้อย และยังพบอีกว่าไพริเมธามีนความเข้มข้นสูงถึง 1.11 มิลลิโมลาร์ (ครึ่งหนึ่งของความเข้มข้นของ THF) จะไม่มีผลยับยั้งแอคติวิตีของเอนไซม์เซอรีน ไฮดรอกซีเมทธิลทรานสเฟอเรสแต่อย่างใด เมื่อศึกษาเปรียบเทียบเอนไซม์ในโฟเลตเมตาบอลิสมอีกตัวหนึ่งคือ ไดไฮโดรพเทอโรเอต ซินเตส พบว่า แอคติวิตีของเอนไซม์ซึ่งสกัดจากเชื้อพลาสโมเดียมที่ต้านไพริเมธามีนจะถูกกระตุ้นด้วยแมกนีเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0.2 โมลาร์ ซึ่งไม่ต่างจากเอนไซม์ใน พลาสโมเดียม ชาบอดี AS และ pH จะมีผลกระทบคล้ายคลึงกันต่อเอนไซม์ของทั้งสองโคลน (pH ที่เหมาะสมต่อการวัดแอคติวิตีประมาณ 8.9 – 9.0) อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ไดไฮโรพเทอโรเอต ซินเตส ที่แยกจาก พลาสโมเดียม ชาบอดี AS มีค่าระหว่าง 40 – 45 องศาเซลเซียส แต่จะมีค่า 45 องศาเซลเซียสสำหรับเอนไซม์เดียวกันใน พลาสโมเดียม ชาบอดี AS (Pr1) ข้อมูลการศึกษาทางจลน์ศาสตร์ให้ผลพอสรุปได้ว่าความสามารถของเอนไซม์จากเชื้อทั้งสองโคลนต่อการจับกับลับสเตรต (PABA และ DHPP) มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ค่าแอคติวิตีสุทธิสูงสุดต่อ 109 เซลล์ของเอนไซม์ที่แยกได้จาก พลาสโมเดียม ชาบอดี AS (Pr1) มีค่าสูงกว่าที่วัดได้ในเชื้อโคลน AS เล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าไพริเมธามีนความเข้มข้นสูงถึง 0.25 มิลลิโมลาร์ (หนึ่งในสี่ของความเข้มข้นของ DHPP ) จะไม่มีผลกระทบต่อแอคติวิตีของเอนไซม์ ไดไฮโดรพเทอโรเอต ซินเตส จากเชื้อทั้งสองโคลน ผลการวิจัยให้ข้อมูลสนับสนุนสมมติฐานการออกฤทธิ์ไพริเมธามีนในการยับยั้งการเจริญของพลาสโมเดียมว่า ไพริเมธามีนมีผลกระทบโดยตรงต่อเอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลต รีดักเตส
Other Abstract: The studies of mechanism of pyrimethamine resistance were achieved in two clones of Plasmodium chabaudi ; clone AS modeling as drug-sensitive parasites, susceptible to pyrimethamine 15 mg/kg body weight and clone AS (Pr1) modeling as drug-resistant parasites, susceptible to pyrimethamine 30 mg/kg body weight. 14C-pyrimethamine was used to investigate the process of pyrimethamine uptake in mouse red blood cells infected with pyrimethamine-resistant of with pyrimethamine-sensitive P.chabaudi, as well as in normal red cell. The preliminary data indicated that pyrimethamine uptake was slowest in P.chabaudi AS(Pr1) infected cells. By ethanol extraction of the uptaken 14C-pyrimethamine; the absolute intracellular level of 14C-pyrimethamine (at 30nM drug in HEPES buffer saline pH 7.4 at 37℃ for 15 min) was approximately 12.0, 4.9 and 1.3 pmole/109 cells for cells infected with clone AS, AS (Pr1) and uninfected cells respectively. The saturable process of drug uptake by normal red blood cells (Km 7.9 ± 0.1 nM) resembled carrier-mediated transport, although it was not shown significantly temperature and pH dependence according to its low uptake. Considerably, the characteristics of pyrimethamine qutake by P.chabaudi AS infected cells was slightly concentrative yet still remained pH and temperature sensitive together with obviously drug ability to penetrate cells even at low temperature. It was therefore suggested that pyrimethamine was transported across clone AS infected red cell membrane via a combination of two processes : carrier-mediated transport (Km 3.9 ± 0.7 nM) and simple diffusion. The simple diffusion process might be distinctly suspected in red cells infected with P.chabaudi AS (Pr1) owing to its temperature independent. However, the carrier-mediated transport was reasonably still existed in clone AS(Pr1) infected cells since the experimental data showed pH sensitive and somehow rather non-concentrative pattern (Km 6.3 ± 0.9 nM). The carrier-mediated transport of P.chabaudi AS and AS (Pr1) infected cells could be distinguished from each other by the difference in pH and folic acid effects on drug uptake. Further studies with glucose depleted cells were clearly evident that the 14C-pyrimethamine incorporation of infected cells was dependent on concentration of glucose and various types of substrate. The uptake was shown to be inhibited by 2,4-dinitrophenol. The conclusive data demonstrated the possibility that the mechanism of pyrimethamine uptake in mouse red blood cells infected with P.chabaudi may have been partially energy dependent via oxidative phosphorylation. The comparative studies of three folate metabolizing enzymes were achieved with crude extract of erythrocyte-free parasites, P.chabaudi AS and AS (Pr1), obtained from 0.015% saponin treatment of parasitized cells of the two clones for 10 min. The biochemical and kinetic properties of dihydrofolate reductase isolated from resistant parasites (clone AS (Pr1)) was remarkably different from sensitive parasites (clone AS). The 50% inhibitory level of pyrimethamine incressed about 9 folds in clone AS(Pr1) (ED50 288.4 nM) when comparing to clone AS (ED50 33.1 nM). The inhibition of enzyme in P.chabaudi AS(Pr1) by pyrimethamine was found to be non-stoichiometric in nature, meanwhile in P.chabaudi AS was stoichiometric. Due to Ki for pyrimethamine, it is estimated that the dihydrofolate reductase from P.chabaudi AS(Pr1) (Ki 160 nM) binds to pyrimethamine approximately 5.5 times less effective than do the sensitive clone (Ki 30 nM). The kinetic of pyrimethamine inhibition to the enzyme in clone AS(Pr1) and AS was found to be competitive and non-competitive respectively. The affinity of clone AS(Pr1) enzyme to substrate DHF (Km 11.8 ± 0.7 µM) seemed to be better than clone AS enzyme(Km 44.9 ± 0.6 µM). Different from the sensitive clone of which dihydrofolate reductase activity was stimulated by 0.05 M KCl, the resistant enzyme did not need KCl as cofactor. Optimal temperature which was observed at 45 – 50℃ for the enzyme isolated from AS(Pr1) parasites was in the range of 10℃ higher than P.chabaudi AS. In spite of the fact that pH optimum for enzyme from both sources was not significantly different (pH 5.9), the resistant enzyme activity was shown to be contrarily inhibited by tris buffer. The maximum total activity/109 parasite cells, 9.3±0.2 enzyme unit in clone AS and 34.8±0.6 enzyme unit in clone AS(Pr1), gives an interesting clue that pyrimethamine resistance of P.chabaudi AS(Pr1) is also associated with an increase in maximum total enzyme activity. Crude extracts of serine hydroxymethyltransferase from P.chabaudi AS and AS (Pr1) exhibited similar broad pH optimum centering at 8.4. Clone AS enzyme showed a sharp optimal temperature at 50℃, whereas the AS(Pr1) enzyme had a rather broad figure at 50 - 55℃. There were no significant differences in the Michaelis constants for substrates, serine an THF, between enzyme from P.chabaudi AS and AS (Pr1). The maximum total activity/109 parasite cells in pyrimethamine resistant parasite was slightly greater than that in pyrimethamine-sensitive. Pyrimethamine at 1.11 mM (one-half of the concentration) did not exhibit any effect on serine hydroxymethyltransferase from both sources. The further comparative studies of the folate metabolizing enzyme was extended to the crude extracts fo dihydropteroate synthase. The properties of resistant plasmodial enzyme were similar to P.chabuadi AS enzyme in its activation by 0.2 M MgCl2 and pH dependence. Dihydropteroate synthase isolated from P.chabaudi AS showed higher activity in the temperature range of 40 - 45℃, meanwhile the P.chabaudi AS(Pr1) enzyme had an optimal temperature quite sharp at 45℃. Kinetic data analysis made it possible to conclude that the enzyme from both sources were not different in their affinity to substrates, PABA and DHPP. The maximum total activity/109 parasite cells of the enzyme isolated from plasmodium AS(Pr1) was demonstrated to be slightly higher than clone AS. Pyrimethamine 0.25 mM (one-fourth of DHPP concentration) did not inhibit dihydropteroate synthase activity. The experimental data confirm the hypothesis of pyrimethamine action on plasmodial growth that dihydrofolate reductase is drug target enzyme.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62930
ISBN: 9745642274
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suporn_nuc_front_p.pdf19.41 MBAdobe PDFView/Open
Suporn_nuc_ch1_p.pdf16.59 MBAdobe PDFView/Open
Suporn_nuc_ch2_p.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open
Suporn_nuc_ch3_p.pdf18.99 MBAdobe PDFView/Open
Suporn_nuc_ch4_p.pdf68.94 MBAdobe PDFView/Open
Suporn_nuc_ch5_p.pdf39.34 MBAdobe PDFView/Open
Suporn_nuc_back_p.pdf20.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.