Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62980
Title: | การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ และการรับรู้ความหมายของผู้ชมรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง |
Other Titles: | The Program Creation And The Audience's Perception Towards The Meaning Of "Phatta-Kharn Bantung" |
Authors: | พาฝัน รงศิริกุล |
Advisors: | เจษฎา ศาลาทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jessada.Sa@chula.ac.th |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้เข้าใจกระบวนการสร้างความหมาย การถ่ายทอดความหมาย และการรับรู้ความหมายทั้งหมดในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์รายการภัตตาคารบ้านทุ่งและการถ่ายทอดความหมายไปสู่ผู้ชมรายการ ผู้วิจัยจะใช้การวิเคราะห์ตัวบท รายการโทรทัศน์ภัตตาคารบ้านทุ่ง และการสัมภาษณ์ เชิงลึกผู้ผลิตรายการเพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์เนื้อหารายการ นอกจากนี้ (2) เพื่อศึกษาการถอดรหัสความหมายของผู้ชมรายการ ผู้วิจัยจะใช้การสนทนากลุ่ม สำรวจผู้ชมวัยทำงานว่ามีการรับรู้และการถอดรหัสความหมายในรายการอย่างไร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ผลิตรายการมุ่งถ่ายทอดความหมายหลักเกี่ยวกับ “คุณค่าและความงดงามของวิถีชีวิตในชนบท” แก่ผู้ชมรายการ โดยผ่านภาพและเรื่องราวของ “อาหาร” และ “วัตถุดิบ” ในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ตัวบทรายการทั้ง 20 ตอน พบการถ่ายทอดความหมายมากที่สุดใน 4 ประเด็นคือ ‘วิถีชีวิตชนบทที่เรียบง่าย พอเพียง ใกล้ชิดธรรมชาติ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่’ ‘วัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนไทยทรงคุณค่า’ ‘ความขยันหมั่นเพียร การลงมือทำด้วยตนเอง และการร่วมมือกันของคนในชุมชน นำมาซึ่งความสุขและความสำเร็จ’ และ ‘บ้านเกิดที่เราจากมามีความอบอุ่น ความห่วงใย และความสุข’ รองลงมาคือ ‘ประเทศไทยมีทรัพยากรอันทรงคุณค่า เลี้ยงประชากรได้อย่างยั่งยืน และที่พบน้อยที่สุดคือ ‘เกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรผสมผสานเลี้ยงชีพได้และช่วยให้คุณภาพชีวิตดี’ ส่วนการถอดรหัสความหมายของผู้ชมรายการกลุ่มตัวอย่าง พบการถอดรหัสความหมายที่สอดคล้องกับผู้ผลิตมากที่สุดใน 3 ประเด็นหลักคือ วิถีชีวิตชนบทที่เรียบง่าย การระลึกถึงบ้านเกิด และวัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้าน นอกจากนี้ พบการตีความตรงข้ามความหมายเพียงหนึ่งประเด็นคือเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ อีกทั้งยังมีผู้ร่วมสนทนามองเห็นในประเด็นนี้น้อยที่สุดอีกด้วย สรุปผู้ผลิตรายการพยายามนำเสนอคุณค่าของวิถีชีวิตชนบท และวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยผ่านกระบวนการค้นหาวัตถุดิบ และการประกอบอาหารในรายการ เพื่อมุ่งสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ทั้งปลูกฝังสำนึกรักและภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิดของตน |
Other Abstract: | The Research focuses on surveying how the program’s meanings are constructed, transmitted and lastly perceived by the audience. The research is divided into 2 parts according to its purposes: first to study the creation of Phatta-Kharn-Ban-Tung TV program and the meanings transmitted toward the audience by applying textual analysis on the program, and applying the in-depth interview to the TV producers; secondly to study the meaning decoded by the audience, using focus group on a sampling of viewers. The result of the research indicates that the program emphasizes on " the beauty and the preciousness of rural living”. The meaning is constructed through the use of narratives and images of “food” and “raw material” in rural areas. After studying the program, it is found that the first 4 meanings found most often in the program consist of: ‘The rural living is serene, simple, and related to nature.’ ‘Thai culture and rural wisdom is priceless’ ‘Perseverance, self-reliance and communal cooperation leads to success and happiness’ and ‘Our rural hometown is filled with warmth care and happiness’; secondly, ‘Thailand possesses an abundant supply of useful natural resources for its people’ ; and least of all ‘Organic farming and integrated farming system encourage healthy and sustainable life’ The audience’s messages most frequently decoded are: ‘The rural living.’, ‘Our rural hometown’ and ‘Thai culture and rural wisdom’; least of all ‘Thailand ‘s natural resources’. In conclusion, the program intends to promote cultural transmission among Thai people as well as to create a strong attachment toward their hometown, through the representation of ‘food’ and ‘rural living’ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62980 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.918 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.918 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5884659628.pdf | 8.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.