Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62983
Title: | กระบวนการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทยและการรับรู้ภาพลักษณ์ความเป็นไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ |
Other Titles: | Communication Process Of Thai Identityand Chinese Tourists Perceived Image Of Thainess On Social Media |
Authors: | ธันยชนก มูลนิลตา |
Advisors: | ธนสิน ชุตินธรานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | thanasin.c@chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยสู่การรับรู้ของประชาชนชาวจีนผ่านสื่อออนไลน์ 2)วิเคราะห์รูปแบบสาร องค์ประกอบ และขั้นตอนในการสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทย 3) สำรวจการรับรู้ภาพลักษณ์ความเป็นไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีนในสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยวิธีการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการศึกษาวิจัยย้อนหลัง (retrospective studies) และ การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ในส่วนวิธีวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative) ซึ่งใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม (Questionnaires) กับนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ความเป็นไทยในความหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประกอบด้วย 7 ประเภท ได้แก่ คนไทย ภาษาไทย วัฒนธรรมและอาหาร ศาสนา พัสตราภรณ์ สถาปัตกรรม แหล่งท่องเที่ยว ทั้งนี้รูปแบบสารในการนำเสนอบนเพจหลักการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ปรากฏมากที่สุดคือ สื่อปฏิสัมพันธ์ประเภทภาพนิ่ง รองลงมาคือสื่อปฏิสัมพันธ์ประเภทภาพเคลื่อนไหว และน้อยที่สุดคือสื่อปฏิสัมพันธ์ประเภทคำบรรยาย นอกจากนี้เนื้อหาสำคัญที่ปรากฎมากที่สุดคือเนื้อหาแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการทำงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มุ่งสร้างการรับรู้ด้านการท่องเที่ยวไทยให้แก่นักท่องเที่ยวชาวจีน ในส่วนการรับรู้ภาพลักษณ์ความเป็นไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวชาวจีนรับรู้ความเป็นไทยด้านแหล่งท่องเที่ยวแบบศิลปะวิทยาการมากที่สุด ซึ่งไม่สอดคล้องกับการนำเสนอความเป็นไทยด้านแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด |
Other Abstract: | The objectives of this research are 1) to study the communication process of creating Thai identity to the awareness of Chinese people via online media, 2) to describe the modification of communication patterns in perception of Thai identity changing in social contexts,3) to Explore the content that affects on creating Thai identity among social online. The research is mix method. The research employ qualitative method and quantitative. In depth interview was conducted with Weibo Chinese accounts and officers of the ministry of tourism and sports. The interview data and field observer data were analyzes using content analysis technique. Content analysis was raging from December 2018 to January 2019. The research result will indicate 1) understanding Chinese and Chinese culture is connected to the communication process and exposure to understanding of Thai identity in Chinese society,2) modification of communication module is related to perception of Thai identity,3) exposure content is related to the image of Thai identity via social media in China. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62983 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.837 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.837 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6084659128.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.