Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63016
Title: อิทธิพลของการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน และได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจต่อเจตคติรังเกียจกลุ่ม : การศึกษาตัวแปรส่งผ่านสองตัว
Other Titles: Effects Of Imagined Intergroup Contact As Cooperative And Supported By Authority On Prejudice : A Study Of Two Mediators
Authors: สรวงศนันท์ สิริประภาพล
Advisors: วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Watcharaporn.P@Chula.ac.th
Subjects: อคติ (จิตวิทยา)
ชาวไทย -- ทัศนคติ
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
Prejudices
Thais -- Attitudes
Intergroup relations
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ ในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มทั้งแบบเด่นชัดและแบบแอบแฝงของชาวไทยที่มีต่อชาวพม่า โดยการเทียบกับเงื่อนไขการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน (ไม่มีผู้มีอำนาจ) และเงื่อนไขควบคุม รวมทั้งศึกษาตัวแปรส่งผ่าน 2 ตัวแปร ได้แก่ ความวิตกกังวลต่อคนนอกกลุ่ม และการรับรู้บรรทัดฐานภายในกลุ่ม โดยนิสิตระดับปริญญาตรีชาวไทยจำนวน 186 คน ได้รับคำสั่งให้จินตนาการตามเหตุการณ์ที่แตกต่างกันตามเงื่อนไข ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เงื่อนไขการมีปฏิสัมพันธ์ทางบวกกับชาวพม่าแบบร่วมมือกันและได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ มีอิทธิพลทางอ้อมในการลดเจตคติรังเกียจชาวพม่าแบบเด่นชัด ผ่านการลดความวิตกกังวลต่อชาวพม่า และเพิ่มการรับรู้บรรทัดฐานทางบวกที่ควรมีต่อชาวพม่าภายในกลุ่มตนเอง ในฐานะตัวแปรส่งผ่านเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่พบว่ามีอิทธิพลในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบเด่นชัด เท่าเทียมกับการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มแบบร่วมมือกัน เมื่อเวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ พบผลว่า ยังคงมีประสิทธิผลในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบเด่นชัดอยู่ อย่างไรก็ตามการจินตนาการถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับคนนอกกลุ่มทั้งสองเงื่อนไขนั้นไม่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการลดเจตคติรังเกียจกลุ่มแบบแอบแฝง จากการวัดด้วยแบบทดสอบการเชื่อมโยงแบบแอบแฝง
Other Abstract: This study examined the effectiveness of imagined intergroup contact as cooperative and supported by authority on reducing Thai’s explicit and implicit prejudice toward Burmese, as compared to imagined intergroup contact as cooperative only (no authority), and the control. Two well-known mediators, intergroup anxiety and perceived ingroup norms were proposed. One hundred and eighty-six Thai undergraduate students were asked to imagine a situation according to the conditions. Results show that imagining positive contact with Burmese as cooperative and supported by authority has indirect effects on reducing explicit prejudice via reduced outgroup anxiety and increased perceived positive ingroup norms, as compared to the control condition. The overall effect of this intervention, however, is not different from that of imagined intergroup contact as cooperative only, in reducing explicit prejudice. One week after the intervention, the effects of reduced explicit prejudice still remained. On the other hand, both imagined intergroup contact conditions do not have either direct or indirect effect on reducing implicit prejudice measured by the Implicit Association Test.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63016
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.757
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.757
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977632638.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.