Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63025
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิพิม วิวัฒนวัฒนา-
dc.contributor.authorสิรภัทร ชัยสารเสรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:29:30Z-
dc.date.available2019-09-14T02:29:30Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63025-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractในปัจจุบัน ลักษณะธุรกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์มักใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ส่งผ่านถึงกันเป็นรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของบุคคลภายนอก เมื่อพิจารณาแนวคิดทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ระบบกฎหมายไทยจะพบว่ายังมีความไม่เป็นระบบและไม่ชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในการปรับใช้กฎหมายสำหรับการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเจ้าของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ถึงแก่ความตาย การรักษาความสมดุลระหว่างสิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมถึงประเด็นข้อจำกัดสิทธิต่าง ๆ เมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบประเด็นทางกฎหมายดังกล่าวกับระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส จะพบว่า การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเจ้าของข้อมูลถึงแก่ความตายของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสยังไม่มีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการเฉพาะ การปรับใช้กฎหมายของประเทศอังกฤษจะใช้นิติวิธีทาง Common Law โดยมีฐานการพิจารณาคือแนวคำพิพากษาที่มีอยู่เดิมประกอบกับอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง ส่วนของประเทศฝรั่งเศสจะพิจารณากฎหมายทั่วไปที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายมรดก กฎหมายสัญญา หรือกฎหมายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การปรับใช้กฎหมายที่มีอยู่เดิมของทั้งสองประเทศยังคงมีความไม่ชัดเจนและไม่สอดคล้องกับสภาพของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ในขณะที่กฎหมายของสหรัฐอเมริกา มีการออกกฎหมาย The Uniform Fiduciary Access to Digital Assets Act ซึ่งสร้างความชัดเจนของสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ตาย เนื่องจากมีการกำหนดนิยามและประเภทของบุคคลที่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูล มีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของทั้งฝ่ายผู้รับประโยชน์และผู้ดูแลข้อมูล รวมทั้งสร้างข้อจำกัดในการใช้สิทธิดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติกฎหมายไทยในปัจจุบันยังไม่ชัดเจนเพียงพอ จึงควรมีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์การจัดการสิทธิดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษร โดยผู้เขียนแนะนำให้มีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะที่เป็นเอกเทศแยกต่างหากจากกฎหมายฉบับอื่น เพื่อไม่ให้กระทบกับกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายด้วยการระบุขอบเขตของการใช้สิทธิให้มีความชัดเจน มีแนวทางการคุ้มครองสิทธิ รวมทั้งมีการกำหนดความสอดคล้องของการปรับใช้ข้อจำกัดทั้งทางการแสดงเจตนาและผลบังคับใช้ของกฎหมายอื่น ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งมีลักษณะเดียวกับการปรับใช้กฎหมายของสหรัฐอเมริกา-
dc.description.abstractalternativeAt present, the internet system is mainly used for communication. Most of the information sent between each other is made in the form of electronic information under the control of third party. When considering the legal concept in relation to the rights to access the electronic information under Thai legal system, it has been found that the system remains disorganized and unclear. Thus, it led to the problem on legal enforcement as for the determination of rights to access the electronic information upon the death of the owner, the maintenance of balance between the related parties and the information, as well as other restrictions.   When comparing the aforementioned legal issues with the legal systems of United States of America (U.S.), England, and France, it has been found that the prescription of the rights to access electronic information of the deceased owner under English and French laws has not been specifically legislated in the form of written law. The application of English legal system will rely on Common Law juristic method by having the legal proceeding based on the precedent case and relevant Conventions. Meanwhile, French legal system will rely on the relevant general laws such as inheritance laws, contract laws, computer laws, etc. However, the application of law is still ambiguous and inconsistent because of the specific conditions of electronic information. Diversely, the U.S. has adopted the Uniform Fiduciary Access to Digital Assets Act which clearly determines the rights to access electronic information that belongs to the deceased person. The Act prescribes definition and type of person who can access to electronic information, the rights and liabilities of both fiduciary and custodian, and the limitation of such rights. Based on this research, it appeared that Thai legal provisions are still unclear, therefore, a principle to control the right of access should be legislated in the form of written law. The writer recommends to enact a specific law separately from other laws to avoid causing any effect to the existing laws which are currently being enforced. Thai legislation should define the scope of rights and liabilities of relevant parties, the approach to protect such rights and the application of limitations, similarly to the application of U.S.'s law principles.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.894-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หลังจากเจ้าของข้อมูลถึงแก่ความตาย-
dc.title.alternativeRight of access to electronic information after the death of information owner-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSipim.W@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.894-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986023934.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.