Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63036
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนชยา อุรุยศ-
dc.contributor.authorชนกานต์ ฤทธินนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:31:44Z-
dc.date.available2019-09-14T02:31:44Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63036-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของผู้นำหรือเกษตรกรผู้ใกล้ชิดที่ทำเกษตรอินทรีย์ รวมถึงความสัมพันธ์ทางพื้นที่ (Spatial Correlation) ต่อการตัดสินใจยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ด้วยแบบจำลอง Spatial Autoregressive Probit ทั้งยังศึกษาความแตกต่างระหว่างเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์รวมไปถึงความแตกต่างของเกษตรกรที่ยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันด้วยแบบจำลองต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน สุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา จำนวน 289 ครัวเรือน ประกอบไปด้วยเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมี 99 ครัวเรือนและเกษตรอินทรีย์ 190 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่สามารถจำแนกเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีและเกษตรอินทรีย์ออกจากกันได้แก่ ระดับความไว้ใจต่อเกษตรกรผู้ใกล้ชิดที่ทำเกษตรอินทรีย์ ทัศนคติต่อการทำเกษตรอินทรีย์ และอายุ 2) ปัจจัยที่สามารถจำแนกเกษตรกรที่ทำเกษตรเคมีและเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในช่วงเวลาที่ต่างกันได้แก่ ประสบการณ์ในการทำเกษตรกรรม ทัศนคติต่อการทำเกษตรอินทรีย์ ระดับความไว้ใจต่อเกษตรกรผู้ใกล้ชิดที่ทำเกษตรอินทรีย์ และภาระพื้นที่ต่อจำนวนแรงงานทั้งหมด 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อการตัดสินใจยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ที่ได้แก่ ระดับความไว้ใจต่อเกษตรกรผู้ใกล้ชิดที่ทำเกษตรอินทรีย์ อายุ การถือครองกรรมสิทธิ์บนที่ดิน เพศ การศึกษา และระดับการเปิดรับความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์ 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางบวกต่อความเร็วในการตัดสินใจยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำเกษตรกรรม ภาระพื้นที่ต่อจำนวนแรงงานทั้งหมด กรรมสิทธิ์บนที่ดิน ระดับการเปิดรับความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และระดับคะแนนความไว้ใจต่อเกษตรกรผู้ใกล้ชิดที่ทำเกษตรอินทรีย์ 5) พบว่าความสัมพันธ์ทางพื้นที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการตัดสินใจยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ภาครัฐ 1) สนับสนุนความรู้การทำเกษตรอินทรีย์ผ่านบุคคลต้นแบบหรือหน่วยงานที่ได้รับความไว้วางใจจากเกษตรกร 2) จัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้เป็นหลักแหล่งและสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ 3) จัดตั้งกองทุนสนับสนุนเกษตรกรที่ต้องการเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรในช่วงเปลี่ยนผ่านไม่มีความแน่นอน 4) การส่งเสริมควรเริ่มจากระดับชุมชน เนื่องจากพบว่าความสัมพันธ์ทางพื้นที่และระดับความไว้ใจต่อเกษตรกรผู้ใกล้ชิดที่ทำเกษตรอินทรีย์มีผลค่อนข้างมากต่อการตัดสินใจยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์-
dc.description.abstractalternativeThis paper studies effects of leadership and neighborhood on organic farming adoption decision with Spatial Autoregressive Probit Model. This paper also studies difference between chemical farmers and organic farmers with Classification and Regression Tree Model. The observations of this study are 289 organic rice farmer in Chiang Rai, Payao, Nan, Suphanburi and Ayutthaya which includes 99 chemical farmers and 190 organic farmers. There are 5 main finding from this study. First, factors of classification between chemical farmers and organic farmers are trustworthiness, attitude and age. Second, factors of classification between chemical farmers and organic farmers group by difference in adoption time are experiences, attitude, trustworthiness and labors. Third, factors that have positive effect on organic farming adoption decision are trustworthiness, age, farm ownership, sex, education and organic farming knowledge openness. Fourth, factors that have positive effect on organic farming adoption rate are sex, education, experiences, labors, farm ownership, organic farming knowledge openness and trustworthiness. Finally, there is positive spatial correlation on organic farming adoption decision. There are four policy suggestions. First, supporting organic farming knowledge through trustworthiness leader or organization. Second, supporting organic market such as weekend market and foreign market. Third, establishing organic supporting funds because an uncertain in income of farmers who are in transition from chemical farming to organic farming. Finally, supporting should begin in small level such as small farmers group or villages because, from all model in this study, there are positive spatial effect and trustworthiness on organic farming adoption decision.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEconomics-
dc.subject.classificationEconomics-
dc.titleอิทธิพลของผู้นำกลุ่มต่อการตัดสินใจยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์-
dc.title.alternativeEffect of Leadership on Organic Farming Adoption Decision-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorManachaya.U@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5685152729.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.