Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63056
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงจากยาเฟนิทอยน์ในผู้ป่วยชาวไทย |
Other Titles: | Association of genetic factors and non-genetic factors with phenytoin-induced severe cutaneous adverse drug reactions in Thai patients |
Authors: | กฤติกา แย้มพยนต์ |
Advisors: | พรพิมล กิจสนาโยธิน ชลภัทร สุขเกษม ชนินทร์ ลิ่มวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pornpimol.K@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ยาเฟนิทอยน์เป็นยากันชักที่มีประสิทธิภาพดีและมีความคุ้มค่าด้านต้นทุนประสิทธิผล แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรง (severe cutaneous adverse drug reactions; SCARs) อาทิ Stevens-Johnson syndrome (SJS), toxic epidermal necrolysis (TEN), drug reaction with eosinophilia and systemic symptoms (DRESS) และ drug hypersensitivity syndrome (DHS) ในหลายกลุ่มประชากร รวมถึงประชากรชาวไทยด้วย การทราบถึงปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงสามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยและเป็นประโยชน์ในการป้องกันการเกิดอาการ ไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังจากยาได้ ในปัจจุบันมีข้อมูลว่าปัจจัยทางพันธุกรรมอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้แต่ละบุคคลมีความเสี่ยงของการเกิดผื่นแพ้ยาแตกต่างกัน และมีความเป็นไปได้ว่าปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอาจมีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดการแพ้ยา ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรม ได้แก่ ลักษณะพันธุกรรมของอัลลีล HLA-B และยีน CYP2C และปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงในแต่ละรูปแบบจาก ยาเฟนิทอยน์ในผู้ป่วยชาวไทย โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงจากยาเฟนิทอยน์จำนวน 36 คน (เป็นผู้ป่วย SJS 15 คน และผู้ป่วย DRESS/DHS 21 คน) และกลุ่มควบคุมซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ไม่แพ้ยาเฟนิทอยน์จำนวน 100 คน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยแต่ละราย ตรวจลักษณะจีโนไทป์ของอัลลีล HLA-Bฺ พหุสัณฐานของยีน CYP2C9 และ CYP2C19 พร้อมทั้งทบทวนข้อมูลทั่วไปและประวัติทางคลินิกของผู้ป่วย จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมกับการเกิดผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงแต่ละรูปแบบโดยใช้สถิติ Fisher’s exact test และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคแบบหลายขั้น ผลจากการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคในขั้นสุดท้ายแสดงให้เห็นว่าปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงจากยาเฟนิทอยน์มีความจำเพาะกับชนิดของผื่นแพ้ยา การมีอัลลีล HLA-B*13:01, HLA-B*56:02/04, ยีน CYP2C19*3 และการใช้ omeprazole เป็นยาร่วม เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเกิด DRESS/DHS จากยาเฟนิทอยน์ (adjusted OR = 13.29, p = 0.0001; adjusted OR = 56.23, p = 0.0007, adjusted OR = 6.75, p = 0.0414 และ adjusted OR = 9.21, p = 0.0020 ตามลำดับ) ในขณะที่การมียีน CYP2C9*3 และการมีเชื้อสายจีน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิด SJS จากยา เฟนิทอยน์ (adjusted OR = 10.41, p = 0.0042 และ adjusted OR =5.40, p = 0.0097 ตามลำดับ) นอกจากนั้นพบว่าการนำปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมและปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมมาใช้ร่วมกันในการทำนายการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงจากยาเฟนิทอยน์จะช่วยให้ความไวในการทำนายเหมาะสมขึ้น และมีความจำเพาะในการทำนายสูงขึ้น โดยสรุปการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมของการเกิดผื่นแพ้ยาชนิด SJS และ DRESS/DHS จากยาเฟนิทอยน์มีความแตกต่างกัน ปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ดังเช่น การใช้ omeprazole เป็นยาร่วม มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิด DRESS/DHS จากยาเฟนิทอยน์นอกเหนือจากลักษณะทางพันธุกรรมของอัลลีล HLA-B และยีน CYP2C การใช้หลายปัจจัยร่วมกันเป็นตัวบ่งชี้ร่วมน่าจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีกว่าสำหรับทำนายการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังชนิดรุนแรงจากยาเฟนิทอยน์ |
Other Abstract: | Phenytoin (PHT) is a cost effective antiepileptic drugs. However, it is also the common cause of severe cutaneous adverse drug reactions (SCARs) such as Stevens-Johnson syndrome (SJS), toxic epidermal necrolysis (TEN), drug reaction with eosinophilia and systemic symptoms (DRESS) and drug hypersensitivity syndrome (DHS) in various population, including Thais. Knowing the risk factors of SCARs may help to increase medication safety and will be useful to prevent the occurrence of drug-induced SCARs. According to the present information, genetic factors may be one of the factors that contribute to differences in an individual's risk of cutaneous adverse drug reaction. In addition, it is possible that non-genetic factors may be also involved in drug allergy. Thus, the purpose of this study was to investigate the association of genetic factors including variants in HLA-B and CYP2C genes and non-genetic factors with phenotype-specific PHT-induced SCARs in Thai patients. Thirty-six PHT-induced SCARs cases (15 SJS and 21 DRESS/DHS) and 100 PHT-tolerant controls were studied. Blood samples were obtained from each participant. Variants in HLA-B, CYP2C9 and CYP2C19 genes were genotyped. Demographic of patients and their clinical information were reviewed. After that, Fisher’s exact test and multiple logistic regression analysis were performed to test the association of genetic and non-genetic factors with specific type of SCARs. The results from the final multiple logistic regression models showed that genetic and non-genetic factors associated with PHT-induced SCARs were specified to its phenotype. HLA-B*13:01, HLA-B*56:02/04, CYP2C19*3 and omeprazole co-medication were strongly associated risk factors of PHT-induced DRESS/DHS (adjusted OR = 13.29, p = 0.0001; adjusted OR = 56.23, p = 0.0007, adjusted OR = 6.75, p = 0.0414 and adjusted OR = 9.21, p = 0.0020, respectively). While, CYP2C9*3 and having Chinese ancestry were significant risk factors of SJS (adjusted OR = 10.41, p = 0.0042 and adjusted OR =5.40, p = 0.0097, respectively). Moreover, combined genetic and non-genetic risk factors optimized sensitivity and increased specificity for predicting PHT-induced SCARs. In conclusion, this study showed that distinct genetic markers were associated with PHT-induced SJS and DRESS/DHS. Non-genetic factor, omeprazole co-medication, was strongly associated with PHT-induced DRESS/DHS in addition to variants in HLA-B and CYP2C genes. Using multiple factors as combined markers may be better predictors for PHT-induced SCARs. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชวิทยาและพิษวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63056 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.99 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.99 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5676201333.pdf | 9.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.