Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63101
Title: | นโยบายและการปฏิบัติในการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการ : กรณีศึกษากรมทางหลวง |
Other Titles: | Policy and Implementation in Bureaucratic Strutural Reform : A Case Study of Department of Highways |
Authors: | ศกลรัตน์ จิรรุ่งเรืองวงศ์ |
Advisors: | วันชัย มีชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wanchai.Me@Chula.ac.th |
Subjects: | ระบบราชการ -- การปฏิรูป การบริหารรัฐกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ กระทรวงคมนาคม. กรมทางหลวง -- การปฏิรูป Bureaucracy -- Reform Public administration Ministry of Transport. Department of Highways -- Reform |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อำนาจของข้าราชการในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ และปัจจัยที่ส่งผล เพื่ออธิบายการขยายอาณาเขตของระบบราชการไทยจากผลของนโยบายการปฏิรูปที่ต้องการจำกัดอาณาเขตของระบบราชการ โดยเลือกใช้กรณีศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของกรมทางหลวงในช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2559 การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูลการด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากข้าราชการในกรมทางหลวงในฐานะตัวแสดงที่เป็นผู้ชนะในการต่อสู้ทางอำนาจในกระบวนการปฏิรูประบบราชการ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายที่ต้องการควบคุมจำนวนข้าราชการเพื่อให้สามารถยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นในภายหลังได้โดยไม่ต้องทำการเลิกจ้าง ได้ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของข้าราชการระดับสูงและความต้องการจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อเพิ่มตำแหน่งบริหาร อันทำให้ระบบราชการขยายตัวขึ้น นำมาสู่ความต้องการควบคุมจำนวนข้าราชการต่อมาเป็นวงจร โดยข้าราชการมีวิธีการใช้อำนาจเพื่อบรรลุเป้าหมาย คือ การดำรงตำแหน่งทางการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูประบบราชการ, การใช้จังหวะเวลาด้วยการกระทำในสิ่งที่แก้ไขภายหลังได้ยากและการถ่วงเวลา, การสร้างความมีเหตุผลแก่ข้อเสนอในการขยายขอบเขตของหน่วยงาน, การควบคุมข้อมูลและการสื่อสารที่อาจส่งผลลบต่อหน่วยงาน และ การใช้ความสามารถส่วนบุคคลในการผลักดันข้อเสนอของตนเอง ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้อำนาจนั้น คือ การที่นโยบายในการปฏิรูปไม่มีความแน่ชัดในจุดประสงค์และวิธีการ, กลไกควบคุมและประเมินผลการปฏิรูปไม่มีประสิทธิภาพ, วัฒนธรรมองค์การไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิรูป และการขาดเสถียรภาพทางการเมือง |
Other Abstract: | This study aims to investigate public officials’ use of power in the process of bureaucratic reform and its preconditions to explain the expansion of Thai bureaucratic domain, the fruit of reform policies pursued to restrict the domain. It used as a case study the Department of Highways’ structural reform during 2002 – 2016. Using the qualitative research method, the researcher conducted a reading of documents and semi-structured and in-depth interviews of many public officials working in the Department of Highways, as they are the winners in this power struggle of the bureaucratic reform. The study revealed that the policies implemented with the intention to limit the number of public officials, so that departments seen as unnecessary can be disbanded without their being made redundant, resulted in the increase in number of high – level public officials and the need to add new units to supply them with positions. This lead to the bureaucratic expansion, which, in turn, perpetuated the need to continually restrict the number of public officials. The tools with which they achieved their goals and through with they exercised their power included assuming authoritative positions involved in the bureaucratic reform, resorting to opportunistic timing, justifying their proposals for unit expansions, controlling information, and using their personalities to have their own proposals endorsed. Also, the study identified the preconditions conducive to such use of power. They included the fact that the reform policies had no explicit agendas and means with which to achieve the desired agendas, ineffective control and evaluation mechanisms, the organizational culture, which did not correspond to what the reform was intended for, and the lack of political stability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | รัฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63101 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1072 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.1072 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5481208324.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.