Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63118
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑารัตน์ เอื้ออำนวย-
dc.contributor.authorภีมกร โดมมงคล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:39:26Z-
dc.date.available2019-09-14T02:39:26Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63118-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “การคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้า กฎหมาย หลักการ แนวปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสิทธิ สภาพปัญหา สาเหตุ อุปสรรค ผลกระทบ การเยียวยา สถานการณ์การละเมิดสิทธิและการเข้าไม่ถึงความยุติธรรม และเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) คือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ รวมถึงการศึกษาทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Documentary research) ตามแนวคิดการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรม ผลการวิจัยสรุปสาระสำคัญได้ 2 ประการดังต่อไปนี้ ประการแรก การถูกละเมิดสิทธิ (Rights Infringement)  พบปัญหาหลายประการทั้งด้านกฎหมาย นโยบาย การปฏิบัติและองค์ความรู้  เช่น (1) พ.ร.บ คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กีดกันคนบางกลุ่มออกจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเนื่องจากกฎหมายคุ้มครองเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้อง (2) สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งมีกฎระเบียบมากเกินไป ขาดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลและขาดระเบียบวิธีการปฏิบัติงานที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) คนไร้ที่พึ่งส่วนใหญ่ขาดการรับรู้เรื่องสิทธิของตนเอง  (4) เจ้าหน้าที่และบุคลากรไม่เพียงพอ ขาดองค์ความรู้ และทักษะการปฏิบัติงานด้านสังคมสงเคราะห์ ประการที่สอง การเข้าไม่ถึงความยุติธรรม (Inaccessibility to justice)  พบปัญหาหลายประการ เช่น (1) เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้วิธีการล่อลวงและควบคุมตัวคนไร้ที่พึ่งเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรองคุณสมบัติโดยปราศจากความยินยอม (2) การเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในบางสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง (3) สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งยังขาดมาตรการ หลักเกณฑ์และกองทุนการเยียวยากรณีคนไร้ที่พึ่งที่ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม (4) คนไร้ที่พึ่งไม่กล้าร้องเรียนปัญหาเนื่องจากเกรงผลกระทบต่อการใช้บริการ ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย ระเบียบ กลไกลและหลักการปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThis research of “ Rights Protection and Access to Justice of the Destitute in the Destitute Protection Centers ” aims to study laws, principles, practical principles to protect rights, problems, causes, obstacles, impacts, remedies and the situation of  Rights infringement and inaccessibility to justice, and to propose of appropriate practices for the protection of rights and access to the rights of the destitute in the destitute protection centers. The research methodology is Mixed Research Method both quantitative and qualitative research method including documentary research, review of research articles related to the concepts of rights protection and access to justice and data. The research result found as hereunder details; First, Rights Infringement, research found that there are many problems in law, policy, practices and knowledge such as (1) Protection of the Destitute Act, 2014 deprive some destitute from the protection centers caused by another relevant specific Act. (2) the protection center has very strict regulations, lack of data base integration and concrete practicing regulation among the government agencies. (3) the destitute themselves lack of rights recognition. (4) The man power of government officers are not sufficient, lack of knowledge and social work practicing skill. Second, Inaccessibility to justice, research found that there are many problems such as (1) policemen have seduced and detained in process of screening without consent from the destitute. (2) there is some discrimination from officers in some destitute protection center. (3) Lack of measurement, remedial criteria and fund to support this situation in practice. (4)  the destitute dare not to complaint due to might affect to services. Results of this research could be used for improving the law, formulating policies, and appropriate regulations mechanism in order to find suitable practices for the rights protection and accessing to justice for the destitute in the future.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1478-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectคนไร้ที่อยู่อาศัย-
dc.subjectคนไร้ที่อยู่อาศัย -- นโยบายของรัฐ-
dc.subjectการไร้ที่อยู่อาศัย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
dc.subjectสิทธิมนุษยชน-
dc.subjectHomeless persons-
dc.subjectHomeless persons -- Government policy-
dc.subjectHomelessness -- Law and legislation-
dc.subjectHuman rights-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการคุ้มครองสิทธิและการเข้าถึงความยุติธรรมของคนไร้ที่พึ่งในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง-
dc.title.alternativeRights protection and access to justice of the destitute in the destitute protection centers-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordการคุ้มครองสิทธิ-
dc.subject.keywordการเข้าถึงความยุติธรรม-
dc.subject.keywordคนไร้ที่พึ่ง-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1478-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5981376524.pdf12.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.