Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63121
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจักรกริช สังขมณี-
dc.contributor.authorนิมนตรา ศรีเสน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:39:28Z-
dc.date.available2019-09-14T02:39:28Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63121-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องการลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของกระบวนลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย ปัจจัยที่ส่งเสริมหรือผลักดันให้แรงงานตัดสินใจเลือกใช้ช่องทางผิดกฎหมาย และศึกษามุมมองของภาครัฐที่มีต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ผ่านแนวคิดเรื่องการอพยพแรงงานระหว่างประเทศ แนวคิดการเคลื่อนย้าย และมุมมองทางอาชญาวิทยา เพื่อทำความเข้าใจพลวัตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแรงงานเหล่านั้นต่อกระบวนการและสภาวะของการกระทำที่ผิดกฎหมายอาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานผู้มีประสบการณ์ลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายในสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 5 คน บริษัทนำเที่ยว เจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกับการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากการวิจัยพบว่ารูปแบบของการลักลอบเข้าไปทำงานในสาธารณรัฐเกาหลีมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเดินทางจากแต่เดิมที่อาศัยนายหน้าผิดกฎหมายมาสู่การเดินทางด้วยตนเองโดยมีผู้ให้ความช่วยเหลืออยู่ที่ปลายทาง เมื่อเทียบกับการเคลื่อนย้ายที่ผ่านมา พบว่าแรงงานส่วนใหญ่มีระดับของการศึกษาที่สูงขึ้นและมีอายุน้อยลงโดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งตัดสินใจเดินทางไปทำงานอย่างผิดกฎหมายเป็นครั้งแรก เดิมที ผู้อพยพที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจที่ยากลำบากเป็นคนกลุ่มหลักที่แสวงหาโอกาสจากตลาดแรงงานที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามจากการศึกษาการเคลื่อนย้ายของแรงงานผิดกฎหมายในปัจจุบันพบว่าการอพยพในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในกลุ่มของครอบครอบครัวชนชั้นกลางที่ไม่มีหนี้สินมากขึ้น แม้ว่ารายได้ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่ปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น โอกาสทางเศรษฐกิจ การรู้ช่องว่างทางกฎหมายและบทลงโทษที่ไม่รุนแรง รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ และการมีประสบการณ์การเดินทางไปทั่วโลก ล้วนมีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดรูปแบบการอพยพย้ายถิ่นอย่างผิดกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are study to changes of illegal migration process of Thai labours into the Republic of Korea, to study the factors that encourage labours to decide to do illegal way and to study the government aspect through the problem. This study illustrates the change of illegal Thai migrant workers through the lens of international labour migration, mobility and criminological. It aims to identify dynamism and factors influencing labour’s decision-making in regard to their illegality. The data is collected from in-depth interviews of the experienced labours, travel agents, government officers together with participant observation and documentary research. The findings from the study show that the approach of illegal migration has mainly changed from formerly relying solely on illegal agents to traveling alone while having ‘the helpers’ at the destination. Compared with the past mobility, most of the recent illegal labors have higher education and younger age, especially those who just marked their first step as illegal migrants. Originally, people with economic-stricken background was the main group in seeking opportunities through illegal labour market. However, as the study shows from the recent mobility, the middle-class family with no debts also participated in this illegal labour market. Income still remains as a major decision-making factor, but other factors—the wider economic opportunities, the recognition of legal gap and mild punishment, the availability of information through online access as well as the experiences from traveling the world—also play a great roles in the changing pattern of illegal migratory practices.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1476-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectแรงงานต่างด้าวไทย-
dc.subjectชาวไทย -- การจ้างงานในต่างประเทศ-
dc.subjectคนต่างด้าวผิดกฎหมาย -- เกาหลี (ใต้)-
dc.subjectForeign workers, Thai-
dc.subjectThais -- Employment -- Foreign countries-
dc.subjectIllegal aliens -- Korea (South)-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการลักลอบเข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมายของแรงงานไทยในสาธารณรัฐเกาหลี-
dc.title.alternativeThe illegal migration of Thai labours into the republic of Korea-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordแรงงานไทย-
dc.subject.keywordแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย-
dc.subject.keywordสาธารณรัฐเกาหลี-
dc.subject.keywordการเคลื่อนย้าย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1476-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080954524.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.