Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63128
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | คนางค์ ศรีหิรัญ | - |
dc.contributor.author | ราตรี คำทะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T02:47:00Z | - |
dc.date.available | 2019-09-14T02:47:00Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63128 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แรงปฏิกิริยาจากพื้นในท่าสควอทที่ความหนักเสถียรและไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียรและไม่เสถียร กลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18-25 ปี จำนวน 24 คน ทำการทดสอบแบกน้ำหนักในท่าสควอท ที่ความหนัก 75% ของหนึ่งอาร์เอ็ม จำนวน 6 ครั้ง ของ 4 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 แบกน้ำหนักแบบมีความเสถียรบนพื้นผิวที่เสถียร (SLSS) แบบที่ 2 แบกน้ำหนักแบบมีความเสถียรบนพื้นผิวที่ไม่เสถียร (SLUS) แบบที่ 3 แบกน้ำหนักแบบมีความไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียร (ULSS) และ แบบที่ 4 แบกน้ำหนักแบบมีความไม่เสถียรบนพื้นผิวที่ไม่เสถียร(ULUS) ลำดับการทดสอบแต่ละรูปแบบด้วยวิธีการถ่วงดุลลำดับ ขณะทดสอบยืนบนแผ่นวัดแรงและทำการวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้านขวาร่างกาย จำนวน 8 มัด ได้แก่ 1) Biceps femoris 2) Rectus femoris 3) Vastus medialis 4) Vastus lateralis 5) Soleus 6) Rectus abdominis 7) External Oblique และ 8) Erector spinae โดยนำข้อมูลคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อสูงสุด คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบเปรียบเทียบกับค่าคลื่นไฟฟ้าขณะหดตัวสูงสุด (Maximum voluntary isometric contraction; MVIC) ค่าพื้นที่ใต้กราฟคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ และค่าแรงปฏิกิริยาสูงสุดจากพื้นในแนวดิ่ง (Ground Reaction Force) ภายหลังการทดสอบทั้ง 4 รูปแบบ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า การทดสอบแบบ SLUS และ ULUS มีค่าสูงสุดร้อยละแอมพลิจูดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Soleus สูงกว่าการทดสอบแบบ SLSS และ ULSS ค่าเฉลี่ยร้อยละแอมพลิจูดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Vastus lateralis ของการทดสอบแบบ SLSS มีค่าสูงกว่าการทดสอบแบบ ULSS และยังพบว่า ค่าเฉลี่ยร้อยละแอมพลิจูดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Soleus ของการทดสอบแบบ SLUS และ ULUS มีค่าสูงกว่าการทดสอบแบบ SLSS และ ULSS ค่าพื้นที่ใต้กราฟคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ Rectus femoris, Vastus lateralis, Soleus, Rectus abdominis, External Oblique และ Erector spinae ของการทดสอบแบบ SLUS สูงกว่าแบบ SLSS กล้ามเนื้อ Bicep femoris, Rectus femoris, Vastus lateralis, Vastus medialis, Soleus, External Oblique และ Erector spinae ของการทดสอบแบบ ULSS สูงกว่าแบบ SLSS กล้ามเนื้อ Bicep femoris, Rectus femoris, Vastus lateralis, Vastus medialis, Soleus, Rectus abdominis, External Oblique และ Erector spinae ของการทดสอบแบบ ULUS สูงกว่าแบบ SLSS อีกทั้งกล้ามเนื้อ Vastus lateralis และ Vastus medialis มีค่าพื้นที่ใต้กราฟคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการทดสอบแบบ ULUS สูงกว่าแบบ SLUS นอกจากนี้ กล้ามเนื้อ Soleus มีค่าพื้นที่ใต้กราฟคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของการทดสอบแบบ ULUS สูงกว่าแบบ ULSS ค่าแรงปฏิกิริยาจากพื้นสูงสุดของการทดสอบแบบ ULUS น้อยกว่าแบบ SLUS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การทดสอบแบกน้ำหนักในท่าสควอทโดยใช้ความหนักที่เสถียรและไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียรและไม่เสถียร มีผลต่อการหดตัวเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อ Vastus lateralis และ Soleus มีผลต่อการทำงานที่เพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อ Biceps femoris, Rectus femoris, Vastus medialis, Vastus lateralis, Soleus, Rectus abdominis, External Oblique และ Erector spinae และมีผลทำให้แรงปฏิกิริยาจากพื้นลดลง | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to study EMG activity and ground reaction force (GRF) during the squat exercise under unstable condition. The samples were sport science student males aged 18-25 years old (N=24). Peak vertical GRF and the EMG activity of the bicep femoris, rectus femoris, vastus medialis, vastus lateralis, soleus, rectus abdominis, external oblique and erector spinae on the right side of the body were determined. All subjects were asked to performed maximum voluntary isometric contraction (MVIC) of 8 muscle groups. Twenty four subjects back squatted 75% of their single repetition maximum (1RM) parallel back squat under 4 conditions include stable load on stable surface (SLSS), stable load on unstable surface (SLUS), unstable load on stable surface (ULSS) and unstable load on unstable surface (ULUS). Subjects performed 6 repetitions with each conditions. Repetitions 2-5 of the set were used for analysis. The obtained data were analyzed in term of means and standard deviations, one-way analysis of variance with repeated measure as well as multiple comparisons by the Bonferroni method was used to compare data variability. The statistical significance of this study was accepted at p<0.05 level. Results : Percentage of maximum voluntary isometric contraction (%MVIC) of peak amplitude of soleus was significantly higher in SLUS and ULUS than in SLSS and ULSS (p<0.05). Percentage of maximum voluntary isometric contraction (%MVIC) of mean amplitude of soleus was significantly higher in SLUS and ULUS than in SLSS and ULSS (p<0.05) and electromyographic amplitude of vastus lateralis was significantly higher in SLSS than in ULUS (p<0.05). The integrated muscle activity (IEMG) of Rectus femoris, Vastus lateralis, Soleus, Rectus abdominis, External Oblique and Erector spinae was significantly higher in SLUS than SLSS (p<.05). Bicep femoris, Rectus femoris, Vastus lateralis, Vastus medialis, Soleus, External Oblique and Erector spinae was significantly higher in ULSS than SLSS (p<.05). Bicep femoris, Rectus femoris, Vastus lateralis, Vastus medialis, Soleus, Rectus abdominis, External Oblique and Erector spinae was significantly higher in ULUS than SLSS (p<.05). Vastus lateralis and Vastus medialis was also significantly higher in ULUS than SLUS. In addition Soleus was significantly higher in ULUS than ULSS too (p<.05). The peak vertical GRF was significantly lower in ULUS than SLUS. (p<.05) Conclusion : The findings of this study suggest that squatting with and unstable load and unstable surface will increase recruitment activation of the limb muscle especially soleus muscle; and while increase activation of vastus lateralis under stable condition. The unstable load and unstable surface also produced greater muscle activation in the Biceps femoris, Rectus femoris, Vastus medialis, Vastus lateralis, Soleus, Rectus abdominis, External Oblique and Erector spinae but significantly decrease in peak vertical GRF. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1117 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | แรงปฏิกิริยาจากพื้น (ชีวกลศาสตร์) | - |
dc.subject | การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ | - |
dc.subject | การฝึกยกน้ำหนัก | - |
dc.subject | การยกน้ำหนัก | - |
dc.subject | Ground reaction force (Biomechanics) | - |
dc.subject | Electromyography | - |
dc.subject | Weight training | - |
dc.subject | Weight lifting | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.title | ผลของความหนักที่เสถียรและไม่เสถียรบนพื้นผิวที่เสถียรและไม่เสถียรต่อการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและแรงปฏิกิริยาจากพื้นในท่าสควอท | - |
dc.title.alternative | Effects of stable and unstable load on stable and unstable surface on EMG activity and ground reaction force during the squat exercise | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.keyword | ความหนักที่เสถียร | - |
dc.subject.keyword | ความหนักที่ไม่เสถียร | - |
dc.subject.keyword | พื้นผิวที่เสถียร | - |
dc.subject.keyword | พื้นผิวที่ไม่เสถียร | - |
dc.subject.keyword | คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ | - |
dc.subject.keyword | แรงปฏิกิริยาจากพื้น | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1117 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5878319339.pdf | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.