Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทศพร ยิ้มลมัย-
dc.contributor.authorรณภพ ชาวปลายนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2019-09-14T02:47:03Z-
dc.date.available2019-09-14T02:47:03Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63135-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกและการฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปที่มีต่อสมรรถภาพกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักกีฬา ฟุตบอลชาย ระดับมหาวิทยาลัย อายุ 18-22 ปี จำนวน 25 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจะได้รับการฝึกพื้นฐานด้วยแรงต้านก่อนการทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นทำการแบ่งเป็น 2  กลุ่ม ได้แก่กลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริก (13 คน) และกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไป (12 คน) ด้วยวิธีการจับคู่ โดยใช้ความแข็งแรงสัมพัทธ์เป็นเกณฑ์ ทำการฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริก ทำการฝึกแบบเอกเซนตริกในท่าแบ็คสควอช ฝึกที่ความหนัก 120% ของ 1RM จำนวน 4 ครั้ง และกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปทำการฝึกในท่าแบ็คสควอชที่ความหนัก 80% ของ 1RM จำนวน 6 ครั้ง โดยทั้งสองกลุ่มจะฝึกสลับกับการ ฝึกพลัยโอเมตริก (เซตต่อเซต) จำนวน 4 ชุด มีระยะพักระหว่างเซต 5 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทำการทดสอบความแข็งแรง พลัง ดัชนีความแข็งแรงแบบปฏิกิริยาตอบสนอง ความแข็งตัวของกล้ามเนื้อขา ความเร็วในการวิ่ง 10 และ 20 เมตร  ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางและความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (Dependent t-test และ Independent t-test) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกมีความแข็งแรง พลัง ความแข็งตัวของกล้ามเนื้อขา และความคล่องแคล่วว่องไว เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่กลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปมีเพียงความแข็งแรงเพิ่มขึ้น แต่ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ความแข็งแรงในกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ ตัวแปรอื่นไม่พบความแตกต่างกัน สรุปผลการวิจัย การฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกมีแนวโน้มในการพัฒนาสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอลได้ดีกว่าการฝึกเชิงซ้อนแบบทั่วไป-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to determine and compare the effects of eccentric complex training (ECC) versus traditional complex training (CON) on leg muscular performance speed change of direction and agility in soccer players. Twenty-six collegiate soccer player (aged 18-22 years old) were voluntarily recruited for this study.  Before the experiment (2 weeks), the subjects were familiarized with the smith-machine squat technique and normalized for the muscle strength. Then, the subjects, matched by relative strength, were randomly assigned into one of the two groups: ECC group (n = 13) and CON group (n=12). Both groups underwent the complex training for 6 weeks. The ECC group completed 4 repetitions of 120% 1RM eccentric squat training (without concentric phase), whereas the CON group performed 6 repetitions of 80%1RM tradition squat training. Each training protocol comprised 4 sets of squat training separated by 5-mins rest period between sets followed by plyometric exercise. Before and after 6weeks of training, muscle strength, power, reactive strength index, leg stiffness, 10 and 20 m. speed, change of direction and agility were measured. Independent sample t-test and dependent sample t-test were applied with a statistical significant at p-value <.05. The results showed that after 6 weeks of training, concentric and eccentric muscle strength, power, leg stiffness and agility were increased significantly (p<.05) in ECC group. while a significant increase in concentric muscle strength and a significant decrease in change of direction ability were observed in CON group. Interestingly, a greater improvement of muscle strength was observed in EEC group as compared to CON group. In conclusion, ECC was more likely effective to improving leg muscular performance compared to CON, in soccer players.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1115-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectฟุตบอล -- การฝึก-
dc.subjectขา -- กล้ามเนื้อ-
dc.subjectกำลังกล้ามเนื้อ-
dc.subjectSoccer -- Training-
dc.subjectLeg -- Muscles-
dc.subjectMuscle strength-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.titleผลของการฝึกเชิงซ้อนแบบเอกเซนตริกที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตบอล-
dc.title.alternativeThe effect of eccentric complex training on leg muscular performance in soccer players-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordการฝึกแบบเอกเซนตริก-
dc.subject.keywordการฝึกเชิงซ้อน-
dc.subject.keywordพลังของกล้ามเนื้อ-
dc.subject.keywordความแข็งตัวของกล้ามเนื้อขา-
dc.subject.keywordนักฟุตบอล-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1115-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5978323939.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.