Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6322
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิโรจน์ เจียมจรัสรังษี-
dc.contributor.advisorนรินทร์ หิรัญสุทธิกุล-
dc.contributor.authorอมรรัตน์ ตันติทิพย์พงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-03-21T02:15:11Z-
dc.date.available2008-03-21T02:15:11Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741739516-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6322-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ การสัมผัสเลือดของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านอุปกรณ์และเครื่องมือและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลระหว่างเดือน มีนาคม 2548 ถึงเดือนมิถุนายน 2548 โดยให้บุคลากรตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง 1,029 ชุดของการศึกษาส่วนที่ 1 ได้รับคืน 858 ชุด คิดเป็นร้อยละ 83.4, แจกแบบสอบถาม 42 ชุดของการศึกษาส่วนที่ 2 ได้รับคืน 33 ชุด คิดเป็นร้อยละ 78.6 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอัตราอุบัติการณ์ของการสัมผัสเลือด 72.7 ต่อบุคคลากร 100 คน ต่อปีค่าเฉลี่ย 157.8 ครั้ง ต่อบุคลากร 100 คน ในรอบ 1 ปี เมื่อแยกตามประเภทของการสัมผัสเลือดของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า มีอัตราอุบัติการณ์การถูกเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งปนเลือดบนผิวหนังปกติสูงที่สุดคือ 55.5 ราย ต่อบุคลากร 100 คน ต่อปี (112.4 ครั้ง/ 100 คน/ปี) รองลงมาได้แก่ ถูกเข็มตำ 13.4 รายต่อบุคลากร 100 คน ต่อปี (18.5 ครั้ง/ 100 คน/ปี) ถูกเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งปนเลือดบนเยื่อบุผิว 6.9 รายต่อบุคลากร 100 คน ต่อปี (9.8 ครั้ง/ 100 คน/ปี) ถูกของมีคม 6.5 รายต่อบุคลากร 100 คน ต่อปี (8.0 ครั้ง/ 100 คน/ปี) และถูกเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งปนเลือดบนผิวหนังไม่ปกติ 5.1 รายต่อบุคลากร 100 คน ต่อปี (9.1 ครั้ง/ 100 คน/ปี) อัตราอุบัติการณ์การสัมผัสเลือดสูงสุดในพยาบาลวิชาชีพ 167.1 ครั้ง/ 100 คน/ปี และในหอผู้ป่วย 247.7 ครั้ง/ 100 คน/ปี ส่วนใหญ่เกิดเหตุในที่สว่าง ร้อยละ 81.5 เหตุการณ์ถูกเข็มตำหรือของมีคมส่วนใหญ่เกิดขณะใช้อุปกรณ์ ร้อยละ 34.7 เหตุการณ์การสัมผัสเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งปนเลือดบนเบื่อบุผิวหนังส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสผู้ป่วยขณะทำงาน ร้อยละ 66.9 และสภาพการณ์ที่นำไปสู่การสัมผัสเลือดส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ระมัดระวัง / ประมาทเอง ร้อยละ 62.0 หลังการสัมผัสเลือดกลุ่มตัวอย่างมีการรายงานการสัมผัสเลือดร้อยละ 24.4 ใช้บริการทางการแพทย์ร้อยละ 10.3 ตรวจเลือดหลังเกิดเหตุ ร้อยละ 14.4 รักษาด้วยวัคซีนหรืออิมมูโนโกลบูลิน ร้อยละ 3.2 และได้รับยาต้านเอดส์ ร้อยละ 4.0 ผลการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการเฝ้าระวังการเกิดการสัมผัสเลือดของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และเพื่อดำเนินการแก้ไขวางมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this cross-sectional descriptive study were to determine the incidence rate and associated factors of blood exposure among health care workers (HCWs) in King Chulalongkorn Memorial Hospital. Data was obtained by 2 sets of self-administered questionnaires from 1,029 and 42 HCWs respectively between March to June 2005. However 858 and 33 HCWs answered and returned the questionnaires with the response rates of 83.4 percents and 78.6 percents respectively. The results showed that the incidence rates of blood exposure were 72.7 persons per 100 HCWs per year and 157.8 times per 100 HCWs per year. When classifying into type of exposure, exposure to blood on intact skin was the most common blood exposure (with the incidence rate of 55.5 persons per 100 HCWs per year and 112.4 times/ 100 HCWs/year), followed by needle stick injuries (13.4 persons per 100 HCWs per year and 18.5 times/ 100 HCWs/year), blood on mucous membrane (6.9 persons per 100 HCWs per year and 9.8 times/ 100 HCWs/year), cutting injuries (6.5 persons per 100 HCWs per year and 8.0 times/ 100 HCWs/year), and blood on non-intact skin (5.1 persons per 100 HCWs per year and 9.1 times/ 100 HCWs/year). The highest incidence rates occurred among nurses (167.1 times/ 100 HCWs/year) and at inpatient wards (247.7 times/ 100 HCWs/year). Most blood exposure incidence occurred at the areas with adequate light (81.5 percents). Most of needle stick injuries or cutting injuries occurred during using the equipments (34.7 percents), while blood exposure on mucous membrane or skin occurred when working with the patients (66.9 percents). A review of the incidents in this study showed that 62.0 percents were caused by unawareness to prevent the blood exposure. Post-exposure managements were reported only in 24.4 percents of the incidents. Among these were post-exposure health care 10.3 percents, blood sample laboratory investigation 14.4 percents, vaccination and immunoglobulin administration 3.2 percents, and anti-retroviral medication 4.0 percents. These findings should be utilised for development of an occupational accident surveillance system to decrease the blood exposure incidents among HCWs in King Chulalongkorn Memorial Hospital in the future.en
dc.format.extent1223023 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1450-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์ -- ความเสี่ยงen
dc.titleการศึกษาอุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativeA study of incidence of occupational blood exposure and associated factors among health care workers in King Chulalongkorn Memorial Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอาชีวเวชศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWiroj.J@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNarin.H@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.1450-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amornrat.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.