Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63267
Title: การประเมินความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง
Other Titles: Agricultural Drought Risk Assessment In Lam Ta Kong Watershed
Authors: ชิษณุพงศ์ สงวนศิลป์
Advisors: เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
อนงนาฏ ศรีประโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Saowanee.W@Chula.ac.th
Anonsr@Kku.ac.th
Subjects: ภัยแล้ง -- ไทย -- นครราชสีมา
การพยากรณ์ภัยแล้ง
การจัดการภัยแล้ง
Droughts -- Thailand -- Nakhon Ratchasima
Drought forecasting
Drought management
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง โดยประยุกต์ใช้สารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับหลักการ Analysis Hierarchy Process (AHP) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดความแห้งแล้ง 3 กลุ่มปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยทรัพยากรดิน ปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดิน และปัจจัยรองจำนวน 10 ปัจจัย เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงของความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง อันนำไปสู่การกำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขอย่างมีรูปธรรมมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองมีการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ (ร้อยละ 64.02) เพื่อการเกษตรกรรม รองลงมา คือ พื้นที่ป่าไม้ (ร้อยละ 18.24) พื้นที่อาคารบ้านเรือน (ร้อยละ 11.26) พื้นที่เปิดหน้าดิน (ร้อยละ 4.93) พื้นที่แหล่งน้ำ (ร้อยละ 1.56) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองด้วยเทคนิค Analysis Hierarchy Process (AHP) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดความแห้งแล้งในลุ่มน้ำลำตะคองในลำดับแรก คือปัจจัยปริมาณน้ำฝน รองลงมาคือปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัจจัยลักษณะเนื้อดิน ปัจจัยจำนวนวันที่ฝนตก ปัจจัยระยะห่างจากแหล่งชลประทาน ปัจจัยความหนาแน่นของลำน้ำ ปัจจัยการระบายน้ำของดิน ปัจจัยความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปัจจัยความสูงของพื้นที่ และปัจจัยความลาดชัน ตามลำดับ โดยปัจจัยปริมาณน้ำฝน (w = 0.67 ) เป็นปัจจัยสภาพภูมิอากาศที่มีความสำคัญต่อการเกิดความแห้งแล้งมากที่สุด ในขณะที่ปัจจัยลักษณะเนื้อดิน (w = 0.34) เป็นปัจจัยทรัพยากรดินที่มีผลต่อความแห้งแล้งสูงสุด และปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดิน (w = 0.44) เป็นปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อการเกิดความแห้งแล้งสูงที่สุด โดยผลการวิเคราะห์การเกาะกลุ่มของปัจจัย (clustering analysis) พบว่า สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปริมาณน้ำฝน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ ลักษณะเนื้อดิน จำนวนวันที่ฝนตก และระยะห่างระหว่างแหล่งชลประทานกลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ความหนาแน่นของลำน้ำ การระบายน้ำของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความสูงของพื้นที่ ความลาดชัน ผลการประเมินระดับความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) แบ่งระดับความแห้งแล้ง 5 ระดับ ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของลุ่มน้ำลำตะคอง (ร้อยละ 46.29) มีความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในระดับสูงมาก คิดเป็นพื้นที่ 1,582.93 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงของความแห้งแล้งสูงคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 498.23 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 14.57 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงของความแห้งแล้งปานกลางคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 474.65 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 13.88 ของพื้นที่ทั้งหมดในลุ่มน้ำลำตะคอง พื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงของความแห้งแล้งต่ำคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 451.66 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 13.21 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงของความแห้งแล้งต่ำมากคิดเป็นพื้นที่ประมาณ 412.36 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 12.06 ของพื้นที่ทั้งหมดในลุ่มน้ำลำตะคอง การศึกษาในครั้งนี้เป็นการประเมินความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง เพื่อจะได้ทราบพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในระดับต่างๆ นำไปเฝ้าระวังป้องกันและหรือวางแผนวางแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
Other Abstract: This study aims to study the factors that affect to the agricultural drought in the Lam ta kong watershed. The three main factors including climate factors, soil resources, and land utilization that cover ten secondary factors were analyzed for study the risk assessment of the agricultural drought by using the Analysis Hierarchy Process (AHP) and Geographic Information System (GIS).The results indicated that the majority area (64.02%) in Lam ta kong watershed was used for agriculture (64.02%) followed by the forest area (18.24%), building area (11.26%), soil open space (4.93%), and water sources (1.56%), respectively. The result of the risk assessment by Analysis Hierarchy Process (AHP) showed that the volume of rainfall was the highest effect on the agricultural drought in the Lam ta kong followed by the land utilization, the soil texture, the number of rainy days, the distance from irrigation source, the stream density, the drainage of the soil, the soil fertility, the height of the area, and the slope of the area, respectively. The volume of rainfall (w = 0.67) was the climate factor that showed the most effect on agricultural drought. While factor of the soil texture (w = 0.34) was the soil resource factor and factor of land utilization (w = 0.44) was the land utilized factor that showed the most effect on agricultural drought. The clustering analysis can be used to categorize the factors in three groups. The first group consist of 2 factors (the volume of rainfall and land utilization). The second group consist of 3 factors (soil texture, the number of rainy days and the distance from irrigation source). The third group consist of 5 factors (the stream density, the drainage of the soil, the soil fertility, the height of the area, and the slope of the area) The results of AHP was overlaid for determination the risk assessment. The results indicated that most areas (46.295% of the watershed area) showed the risk of the agricultural drought in very high level are approximately 1,582.93 km2. The area where showed the high level of the risk of the agricultural drought is approximately 498.23 km2. The moderate risk area is approximately 474.65 km2. The areas have the low and very low of risk of agricultural drought are approximately 451.66 and 412.36 km2, respectively. This study preformed the risk assessment of agricultural drought in Lam ta kong watershed to investigate the risk level in the area for preventing and planting for solving the drought.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63267
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1373
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1373
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5587118720.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.