Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63320
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ | - |
dc.contributor.advisor | ปทีป เมธาคุณวุฒ | - |
dc.contributor.author | อุไร นิโรธนันท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T03:08:40Z | - |
dc.date.available | 2019-09-14T03:08:40Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63320 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย และการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ดีในต่างประเทศ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย 3) พัฒนารูปแบบการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย และ 4) นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาพยาบาลชาวไทยและชาวต่างชาติ ในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์นานาชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษานานาชาติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์สาระ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในภาพรวมการจัดการศึกษาพยาบาลนานาชาติ ระดับปริญญาตรีในประเทศไทยยังมีน้อย มีสถานะเป็นคณะภายใต้มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเอกชน กำหนดวิสัยทัศน์สู่การเป็นนานาชาติ และทำความร่วมมือทางวิชาการกับนานาชาติ ส่วนการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ดีในต่างประเทศ จะเน้นวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำของโลกในด้านการจัดศึกษา การวิจัย และให้บริการวิชาการ พันธกิจในการบูรณาการแหล่งทุน การวิจัย การจัดการศึกษาและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การเรียนร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ การใช้เว็บ และโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง 2. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย จากมุมมองของผู้สอนและนักศึกษาพยาบาล พบว่ารายการประเมินที่มีค่าสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1) แลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศ 2) กำหนดให้การศึกษา อบรม ดูงานในต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา 3) เปิดสอนหลักสูตรสองปริญญาร่วมกับสถาบันการศึกษาพยาบาลในต่างประเทศระบบ 4) การเบิก-จ่ายงบประมาณคล่องตัว รวดเร็ว เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการศึกษาพยาบาลนานาชาติ และ 5) แลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนกับสถาบันในต่างประเทศ 3. รูปแบบการเป็นวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย สถานภาพและโครงสร้างขององค์กร และองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยส่งเสริมระดับชาติและระดับสถาบัน แบ่งเป็น 1) ปัจจัยส่งเสริมระดับชาติ ซึ่งมี 4 องค์ประกอบย่อย คือ การสร้างพันธมิตร การสร้างรายได้และการค้าในเชิงพาณิชย์ ความร่วมมือระดับชาติและสถาบัน การพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และความเข้าใจซึ่งกันและกัน 2) ปัจจัยส่งเสริมระดับสถาบัน ซึ่งมี 4 องค์ประกอบย่อย คือ การมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ การส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานนานาชาติ การพัฒนาผู้เรียนและผู้สอน และการสร้างองค์ความรู้ องค์ประกอบที่ 2 การจัดการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติ ครอบคลุมองค์ประกอบย่อย คือ ด้านหลักสูตร การเรียนการสอน ผู้สอน และผู้เรียน และองค์ประกอบที่ 3 การบริหารจัดการ ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบย่อย คือ ทรัพยากรสนับสนุน อาคาร สถานที่ งบประมาณและการเงิน และบุคลากรสายสนับสนุน 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาพยาบาลศาสตร์นานาชาติในประเทศไทย มีประเด็นที่ควรคำนึง ดังนี้ 1) โครงสร้างองค์กร ความเป็นมาตรฐานสากล 2) การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ 3) การวิเคราะห์ต้นทุน รายได้ และงบประมาณ 4) การเตรียมอาจารย์ หลักสูตร การเรียนการสอน บุคลากร และสิ่งแวดล้อม | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were 1) to analyze situation of international nursing education in Thailand. and the good practices of nursing education management in overseas. 2) to analyze the need assessment for preparation to be an international nursing college in Thailand 3) to develop an international nursing college model in Thailand. and 4) to propose policy recommendations and practices for international nursing education management in Thailand . The samples were comprised of nursing instructors, international nursing students and Thai nursing students in international bachelor program in nursing, and experts in international nursing education. The research instruments were content analysis form and questionnaires.The data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and Modified Priority Needs Index (PNImodified) analysis. The research findings were as follows; 1) Overall, undergraduate international nursing education in Thailand was provided in a few institutes, under the faculty of public /private university, as that stated vision on internationalization and have collaborations with International academic institutes. The good practices for nursing education management in overseas were comprised of the philosophy of being the world leader in education, research and academic services , the missions to integrate scholarship, research, education and practice and the teaching -learning management based on evidence based practice, inter- professional education, web-based online learning, simulation based learning. 2) Remarks from need assessment in preparation for establishing international nursing colleges in Thailand from the perspectives of both nursing instructors and students were as follows: 1) arranging student exchange with overseas academic institutions, 2) study in abroad as a part of the educational program, 3) arranging joint program with international academic institutions, 4) setting flexible financial and budget management to promote International nursing education management, 5) arranging faculty exchange with international institutions. 3) An international nursing college model in Thailand included rationale, philosophy, vision, missions, goals, organization structures, and 3 important components. The first component was national and institutional enable factors. The national factors were composed of 1) building alliances 2) income generation and commercial trade 3) national enable and institutional collaboration and 4) social and cultural development and mutual understanding. The institutional enable factors were comprised of 1) international profile and reputation, 2)quality enhancement and international standards, 3) student and staff development and 4) research and knowledge production.The second component was educational management which included curriculum, teaching and learning method, students, and instructors. The third component, administration and management included resources, building, budget and finance and supporting staff. 4) Policy recommendations for an international nursing college management in Thailand should focus on: 1) organization structures and international standard, 2) memorandum of agreement, 3) root cost analysis, income generation and budget, 4) faculty preparation, curriculum management, teaching and learning method, staff and environment preparation. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1525 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | การพัฒนารูปแบบวิทยาลัยพยาบาลนานาชาติในประเทศไทย | - |
dc.title.alternative | Development Of An International Nursing College Model In Thailand | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Apipa.Pr@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Pateep.M@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.1525 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684259027.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.