Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63402
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐชัย ศรีสวัสดิ์-
dc.contributor.authorเกศรินทร์ ศรีรุ่งเรือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T03:13:03Z-
dc.date.available2019-09-14T03:13:03Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63402-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractโรคเลปโตสไปโรซิสเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อเลปโตสไปรา ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส การศึกษานี้ได้นำผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคเลปโตสไปโรซิสจำนวน 330 ราย มาวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลปโตสไปโรซิสตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แก่ วิธีเพาะเชื้อในเลือด หรือวิธี Microscopic Agglutination Test (MAT) หรือวิธี real time PCR ที่วิธีใดวิธีหนึ่งให้ผลเป็นบวก วัตถุประสงค์เพื่อนำวิธี quantitative Polymerase Chain Reaction (qPCR) และวิธี Droplet Digital PCR (ddPCR) มาใช้หาปริมาณเชื้อเลปโตสไปราจากตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วย และนำปริมาณเชื้อมาศึกษาความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส โดยใช้เกณฑ์ของ Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งความรุนแรงของโรคไตวายเฉียบพลัน ที่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนไข้ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน (AKI) และกลุ่มคนไข้ที่ไม่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน (Non-AKI) ผลคือ คนไข้ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเลปโตสไปโรซิสจำนวน 207 รายตามหลักเกณฑ์ของ WHO มีปัสสาวะที่นำมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธี qPCR  ให้ผลบวก 53 ตัวอย่าง  สรุปว่าวิธี qPCR ในกลุ่มAKI มีปริมาณเชื้อเฉลี่ย 12937 (1412, 101614) ตัว/มล. มีแนวโน้มของปริมาณเชื้อเลปโตสไปรามากกว่ากลุ่ม Non-AKI เฉลี่ย 3719 (1308, 15495) ตัว/มล. ค่า P-value 0.228 จึงไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและ วิธี ddPCR มีปัสสาวะที่นำมาใช้ในการศึกษา ให้ผลบวก 69 ตัวอย่าง สรุปว่าวิธี ddPCR ในกลุ่มAKI มีปริมาณเชื้อเฉลี่ย 2100 (645, 4300) ตัว/มล. มีปริมาณเชื้อเลปโตสไปรามากกว่ากลุ่ม Non-AKI เฉลี่ย 320 (150, 1700) ตัว/มล. ค่า P-value 0.005 จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ปริมาณของเชื้อเลปโตสไปราในปัสสาวะจึงมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส โดยวิธี ddPCR ถึงแม้ว่าจะไม่พบความสัมพันธ์ในวิธี qPCR แต่ก็มีแนวโน้วปริมาณเชื้อเฉลี่ยในกลุ่ม AKI สูงกว่ากลุ่ม  non-AKI ถึง 4 เท่า-
dc.description.abstractalternativeLeptospirosis is a zoonotic disease caused by Leptospira spp. which can cause acute kidney injury. This research aimed to study the correlation between the amount of leptospires in the urine and acute kidney injury in leptospirosis patients. We collected urine from patients with leptospirosis for Leptospira detection by using three standard techniques (microscopic agglutination test (MAT), culture, or real-time PCR (qPCR) technique) following World Health Organization (WHO) standardized test to confirm suspected leptospirosis in 330 patients. We then used qPCR technique and droplet digital PCR (ddPCR) to quantitate the amount of leptospires in urine. The correlation of the leptospiral load in the urine and acute kidney injury defined by Kidney Disease: Improving Global Outcomes (KDIGO) was analyzed. The suspected patients had been confirmed as leptospirosis 207 . The results from qPCR showed positive result in 53 samples . There was a non-significant (P =0.228) trend for increasing amount of leptospiral load in AKI 12937 (1412, 101614) leptospiral load/mL than Non-AKI patients 3719 (1308, 15495) leptospiral load/mL. Whereas the ddPCR technique  showed the positive results for 69 sample . There was a significant (P =0.005) trend for increasing amount of leptospiral load in AKI 2100 (645, 4300) leptospiral load/mL than Non-AKI patients 320 (150, 1700)  leptospiral load/mL. In conclusion, There was a trend for more leptospiral load in AKI than Non-AKI patients by qPCR. There was a significant trend for increasing amount of leptospiral load in AKI than Non-AKI patients by ddPCR.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1081-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของเชื้อเลปโตสไปราในปัสสาวะ กับการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส-
dc.title.alternativeThe study correlation of the amount of leptospirosis in the urine and acute kidney injury in leptospirosis patients-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorNattachai.Sr@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1081-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974002730.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.