Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63409
Title: ความชุกของความผิดปกติจากการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงในผู้สูงอายุที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยภายหลังได้รับการรักษา
Other Titles: Prevalence of Abnormal Echocardiographic Findings in Thai HIV-infected and Non-infected Aging Population After Receiving Therapy
Authors: วีระยุทธ ธิมาภรณ์
Advisors: ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย
สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง
สราวุฒิ ศิวโมกษธรรม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pairoj.Md@Gmail.com
Smonporn.B@Chula.ac.th
Drwut1@Yahoo.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ในยุคของการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดได้กลายเป็นปัญหาสำคัญในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี มีการศึกษาพบความผิดปกติหลายประการจากการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงรวมถึงความผิดปกติในช่วงการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งยังไม่มีข้อมูลนี้ในประชากรไทยสูงอายุ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของความผิดปกติของหัวใจที่ตรวจพบด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงในผู้ป่วยไทยวัยสูงอายุที่ติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่มีอาการและสามารถควบคุมปริมาณไวรัสได้เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ วิธีการศึกษา: การศึกษาโดยสังเกตการณ์ ณ จุดเวลาใด โดยมีกลุ่มควบคุมที่ได้รับการแบ่งกลุ่มตัวอย่างแบบโควตาโดยกลุ่มอายุและเพศเดียวกัน มีผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งสิ้น 398 คนที่ไม่มีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดและเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี 298 คน (ร้อยละ 75) และได้รับการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง แปลผลโดยผู้สังเกตการณ์คนเดียวที่ไม่ทราบสถานะการติดเชื้อเอชไอวีของผู้เข้าร่วมการศึกษา ผลการศึกษา: ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีมีมัธยฐานของจำนวน CD4 614 เซลล์/ลบ.มม. ร้อยละ 97.35 สามารถควบคุมปริมาณไวรัสได้ และได้รับยาต้านไวรัสเป็นระยะเวลาที่มัธยฐาน 16.2 ปี พบความชุกของความผิดปกติในช่วงการบีบตัวของหัวใจ ร้อยละ 1.1 ความผิดปกติในช่วงการคลายตัวของหัวใจร้อยละ 24.2 และความดันหลอดเลือดปอดสูง ร้อยละ 3.7 โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มไม่ติดเชื้อ และผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงระหว่างสองกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อายุ > 60ปี, ดัชนีมวลกาย > 23 กก./ตร.ม., ความเสี่ยง ASCVD สูง, ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, กลุ่มอาการเมแทบอลิก มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในช่วงการคลายตัวของหัวใจ และ เพศหญิง, การได้รับยากลุ่มสแตติน และ ดัชนีปริมาตรของหัวใจห้องบนซ้าย > 34 มล./ตร.ม. มีความสัมพันธ์กับความดันหลอดเลือดปอดสูง สรุปผล: ความชุกของความผิดปกติในช่วงการบีบตัวของหัวใจและความดันระบบไหลเวียนปอดสูงของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีชาวไทยวัยสูงอายุในการศึกษานี้ต่ำ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความผิดปกติในช่วงการคลายตัวของหัวใจและผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่ติดเชื้อที่กลุ่มอายุและเพศเดียวกัน
Other Abstract: Background: In the highly active antiretroviral therapy era, cardiovascular disease is the leading problem in HIV-infected individuals. Various abnormal echocardiographic findings included diastolic dysfunction have been reported. Little echocardiographic data was known in Thai aging HIV-infected population. Objective: To study the prevalence of echocardiographic abnormalities in asymptomatic, virally suppressed HIV-infected Thai aging individuals in comparison with comparable age and gender non HIV-infected control. Methods: A cross-sectional, study with comparable control selection using quota sampling based on age and gender. Total of 398 participants without established cardiovascular disease (298, 75% HIV-infected individuals) were enrolled and underwent standardized 2-dimensional transthoracic echocardiography and were interpreted by single experienced reader blinded to the study. Result: In HIV-infected patients, a median CD4 cell count was 614 cell/mm3, 97.35% were virally suppressed and a median 16.2 years of antiretroviral exposure. Of these, there were 1.1% with left ventricular systolic dysfunction, 24.2% with diastolic dysfunction, and 3.7% with pulmonary hypertension which were not significantly different from non HIV-infected patients. Age > 60 years, BMI > 23 kg/m2, high ASCVD risk, hypertension, diabetes, metabolic syndrome were associated with diastolic dysfunction while female, statin exposure and LAVI > 34 mL/m2 were associated with pulmonary hypertension, p < 0.05. Conclusions: Prevalence of asymptomatic left ventricular systolic dysfunction and pulmonary hypertension were low. In the new HAART era, the prevalence of structural cardiac abnormalities in Thai HIV-infected patients were not different from age and gender-based quota sampling control.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63409
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1632
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1632
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974099630.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.