Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63419
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปนัดดา ศรีจอมขวัญ-
dc.contributor.advisorคนึงนิจ กิ่งเพชร-
dc.contributor.authorธัชนันท์ พรธารักษ์เจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-09-14T03:13:15Z-
dc.date.available2019-09-14T03:13:15Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63419-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractที่มา/วัตถุประสงค์: สารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 เป็นวิธีหนึ่งในการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ที่มีประสิทธิภาพ สารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 สามารถผ่านเข้าสู่ต่อมไทรอยด์โดยผ่านทางโซเดียมไอโอไดด์ซิมพอเตอร์ เพื่อทำลายเนื้อไทรอยด์ที่ยังเหลืออยู่หลังผ่าตัด มีการศึกษาพบโซเดียมไอโอไดด์ซิมพอเตอร์ในเนื้อเยื่อของตับอ่อนโดยวิธีการย้อมทางจุลชีวะภูมิคุ้มกันเคมี และการศึกษาการแสดงออกของยีน ดังนั้นการได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ขนาดสูงอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์เบต้าในตับอ่อน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อการหลั่งอินซูลิน วิธีการ: ผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ 16 ราย ค่ามัธยฐานอายุ 46 ปี  ที่ได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 หนึ่งครั้ง (ขนาดตั้งแต่ 100-150 มิลลิคูรี่) ได้รับการตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคสขนาด 75 กรัม ก่อนและหลังได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ที่ 3 และ 6 เดือน โดยจะได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาล, อินซูลิน, C-peptide ที่ 0, 30, 60, 90, 120 นาที โดยก่อนรับประทานน้ำตาลจะตรวจวัดระดับไขมัน, น้ำตาลสะสม, ค่าฮอร์โมนไทรอยด์, thyroglobulin, anti-thyroglobulin หลังจากนั้นจะคำนวณดัชนีการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนโดยวัดค่า insulinogenic index, HOMA-B และดัชนีความดื้อต่ออินซูลิน ได้แก่ HOMA-IR, Matsuda index, Disposition index, พื้นที่ใต้กราฟอินซูลินต่อน้ำตาลกลูโคสและอินซูลินที่ 120 นาที ผลการวิจัย: ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยก่อนได้รับการรักษามีค่า 84 มก./ดล. และมีค่า มีค่า 84 และ 87 มก./ดล. ที่ 3 และ 6 เดือนหลังได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 (P=0.021) ไม่พบความแตกต่างของดัชนีการหลั่งอินซูลิน ดัชนีความดื้อต่ออินซูลิน แต่พบว่าดัชนีการหลั่งอินซูลิน ได้แก่ HOMA-B มีแนวโน้มลดลง จาก 65.5 เป็น 62.9 และ 61.1 ที่ 3 และ 6 เดือนหลังได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย: การได้รับสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131ขนาดสูงไม่มีผลต่อความบกพร่องของการหลั่งอินซูลิน แต่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสขณะอดอาหารสูงขึ้นที่ 6 เดือนหลังได้รับสารกัมมันตรังสี อย่างไรก็ตามสารกัมมันตรังสีขนาดสูงกว่านี้ หรือการติดตามที่ยาวนานขึ้นอาจเห็นผลกระทบต่อความทนต่อน้ำตาลกลูโคสได้-
dc.description.abstractalternativeIntroductions: Radioactive iodine (I-131) is an effective therapy for differentiated thyroid carcinoma (DTC). Radioactive iodine (I-131) enters thyroid follicular cells via sodium iodide symporter (NIS) to destroy the residual thyroid tissue. NIS was also found on pancreatic tissue by immunohistochemistry and gene expression study (1, 2). We make a hypothesis that high doses radioactive iodine may have harmful effect to beta cell function and result in impair insulin secretion. Methods: Sixteen DTC patients (median age at evaluation was 46 years) treated with a single doses radioactive iodine (range 100-150 mCi ) were evaluated for glucose tolerance by 75 grams oral glucose tolerance test at before , 3 months and 6 months after radioactive iodine treatment. We measured plasma glucose, insulin level and C-peptide level every at 0, 30, 60, 90 and 120 minutes. At baseline we also measured lipid profile, HbA1C, free thyroxine (FT4), thyroid stimulation hormone (TSH), thyroglobulin (Tg) and anti-thyroglobulin (anti-Tg). Indices of beta cells function were calculated. Indices of insulin secretion were determined using 1) Insulinogenic index 2) HOMA-B. Indices of insulin sensitivity were determined using 1) HOMA-IR) 2) Matsuda Index 3) oral disposition index. Indices based on the areas under the concentration curves were computed as AUCinsulin (0-120)/AUCglucose(0-120). Results: Fasting plasma glucose level were increased significantly (84, 84 and 87 at baseline, 3 months, 6 months; P=0.021). No significant difference were observed in metabolic parameters, indices of beta cells function and indices of insulin sensitivity. Interestingly, the indices of beta cells function, HOMA-B but not insulinogenic index, were declined following radioactive iodine treatment but not statistically significant (65.5, 62.9 and 61.1, at baseline, 3 months and 6 months after radioactive iodine treatment, respectively, P=0.368). Conclusions: The results of this study could not prove the probable effect of high dose radioactive iodine on glucose tolerance at 6 months after receive radioactive iodine. Whether higher dose of radioactive iodine or longer follow up time might have harmful effects to glucose tolerance are still needed to explore.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1496-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleการศึกษาความทนต่อน้ำตาลกลูโคสในผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ก่อนและหลังการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 ความแรงสูง-
dc.title.alternativeEvaluation of Glucose Tolerance in High Dose Radioactive iodine-131 Treated Thyroid Carcinoma Patients-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorKanaungnit.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1496-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074013030.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.