Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63436
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทศพร วิมลเก็จ | - |
dc.contributor.advisor | ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์ | - |
dc.contributor.advisor | นภางค์ เกษโกวิท | - |
dc.contributor.author | ชัชฎาภรณ์ ไกรศรพรสรร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2019-09-14T03:13:29Z | - |
dc.date.available | 2019-09-14T03:13:29Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63436 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | บทนำ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมองเห็นที่เปลี่ยนแปลงไปเทียบก่อนและหลังการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูงในระยะเวลาที่แตกต่างกันของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแดงจอประสาทตาอุดตันเฉียบพลันและผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแดงจอประสาทตาอุดตันเฉียบพลันทุกคนที่เข้ารับการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูงในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 จำนวนทั้งหมด 41 คน ทำการเก็บข้อมูลด้วยการทบทวนเวชระเบียนและใช้แบบฟอร์มเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบระดับสายตาที่เปลี่ยนแปลงไปเทียบก่อนและหลังรับการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูงและเก็บข้อมูลเรื่องผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังรับการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง ผลการศึกษา: จากข้อมูลผลการรักษาโรคเส้นเลือดแดงจอประสาทตาอุดตันกับการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง พบว่ากลุ่มที่ระยะเวลาเกิดโรคน้อยกว่าหรือเท่ากับ 24 ชั่วโมง ระดับการมองเห็นดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 60 และกลุ่มระยะเวลาเกิดโรคนานกว่า 24 ชั่วโมง ระดับการมองเห็นดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 25 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแดงจอประสาทตาอุดตันเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูงคิดเป็นร้อยละ 29.27 ส่วนใหญ่เป็นการบาดเจ็บจากแรงดันต่อหูชั้นกลางคิดเป็นร้อยละ 26.83 ภาวะเป็นพิษจากออกซิเจนต่อปอดคิดเป็นร้อยละ 2.44 วิจารณ์และสรุปผลการศึกษา: ในปัจจุบันการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคเส้นเลือดแดงจอประสาทตาอุดตัน สามารถทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยดีขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยได้รับกาาารักษาภายใน 24 ชั่วโมง และพบว่าภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ที่เกิดจากการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง คือ การบาดเจ็บจากแรงดันต่อหูชั้นกลาง | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were to treatment outcome of central artery occlusion with hyperbaric oxygen therapy and complication in Somdech Phra Pinklao Hospital, Naval Medicine department. This study was a retrospective descriptive study of 41 central retinal artery occlusion patients who received hyperbaric oxygen therapy. Data was collected by review Medical record and use Collect data form. Data was analyzed by Fisher’s exact test. To compare visual acuity that changed before and after HBOT in different periods of CRAO patients. It was found that visual outcome improved 19 patients (46.34%) if classified according to the duration of the disease, the early onset group (less than or equal 24 hours) have improved treatment result 15 patients (96%) and the late onset group (more than 24 hours) have improved result 4 patients (25%), significantly different. There are patients with CRAO resulting in complications from HBOT 12 patients (29.27%) , most are middle ear barotrauma 11 patients (26.83%) and pulmonary oxygen toxicity 1 patients (2.44%). At present, HBOT is the treatment of choice to treat CRAO patients, can improve visual acuity. Especially when the patient treated within 24 hours. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.696 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Medicine | - |
dc.title | ผลการรักษาโรคเส้นเลือดแดงจอประสาทตาอุดตันกับการบำบัดด้วยออกซิเจนแรงดันสูง ในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ | - |
dc.title.alternative | Treatment Outcome of Central Retinal Artery Occlusion With Hyperbaric Oxygen Therapy in Somdech Phra Pinklao Hospital, Department of Naval Medicine | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Thosporn.V@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Thanapoom.R@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.696 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6074056030.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.