Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63462
Title: | การแปรผันของยีนดี-ลูปในประชากรธรรมชาติของนกยูงเขียว Pavo muticus Linnaeus, 1766 ในประเทศไทย |
Other Titles: | D-Loop Gene Variation In Natural Populations Of Green Peafowl Pavo Muticus Linnaeus, 1766 In Thailand |
Authors: | ธนาพร แสวงธรรม |
Advisors: | อัมพร วิเวกแว่ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Amporn.W@Chula.ac.th |
Subjects: | นกยูงไทย นกยูงไทย -- ความผันแปร -- ไทย ความหลากหลายของสัตว์ -- ไทย Green peafowl Green peafowl -- Variation -- Thailand Animal diversity -- Thailand |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประชากรนกยูงไทยหรือนกยูงเขียวในประเทศไทยได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุหลักๆ อันเนื่องมาจากป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกยูงลดจำนวนลง และจากการโดนล่าโดยมนุษย์ ทำให้ปัจจุบันนกยูงในประเทศไทยที่สามารถอยู่รอดได้ในธรรมชาติ มีการกระจายตัวอยู่เพียง 2 บริเวณหลัก ๆ คือ ทางภาคเหนือและทางตะวันตกเท่านั้น ซึ่งงานวิจัยทางด้านพันธุกรรมยังมีจำนวนน้อย ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบความแปรผันทางพันธุกรรมของนกยูง ด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา โดยทำการเก็บขนนกยูงและเปลือกไข่ จาก 4 พื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด 123 ตัวอย่าง ประกอบด้วยพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (HHK) จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 27 ตัวอย่าง พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ (WLO) จังหวัดพะเยา จำนวน 47 ตัวอย่าง พื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอ (TPL) จังหวัดเชียงราย จำนวน 27 ตัวอย่าง และพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (HKK) จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 22 ตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์พบจำนวนตำแหน่งที่แตกต่างกันทั้งสิ้น 23 (2.11%) ตำแหน่ง จากลำดับนิวคลีโอไทด์ของดีลูปในไมโทคอนเดรียลดีเอ็นเอทั้งหมด 1,090 คู่เบส มีจำนวนของแฮพโพลไทป์ที่แตกต่างกัน 25 แฮพโพลไทป์ โดยจำนวนของแฮพโพลไทป์ จาก WLO, TPL, HKK และ HHK มีจำนวน 13, 9, 9 และ 7 แฮพโพลไทป์ ตามลำดับ ความถี่ของแฮพโพลไทป์อยู่ระหว่าง 0.79% - 40.65% ค่าความหลากหลายของแฮพโพลไทป์และค่าความหลากหลายของนิวคลีโอไทด์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.811 และ 0.00314 ตามลำดับ ผลจากการวิเคราะห์ mtDNA haplotype network และแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ พบว่าประชากรนกยูงทางภาคเหนือและภาคตะวันตก ยังไม่แยกออกจากกันเป็นกลุ่มย่อยตามพื้นที่การกระจายตัว นอกจากนี้ในการวิเคราะห์ population genetic ยังพบว่าระหว่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมน้อยมาก (5.20%) และไม่มีความแตกต่างกันทางพันธุกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบกับค่า Fst ที่ได้โดยรวมมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ แสดงให้เห็นว่าประชากรนกยูงเขียวในสภาพธรรมชาติของประเทศไทยยังไม่แยกออกจากกันเป็นกลุ่มประชากรย่อย (population subdivision) |
Other Abstract: | The population size of Pavo muticus (Green Peafowl) has declined dramatically in Thailand due to the habitat loss and human exploitation. At present, P. muticus is distributed in patchy areas only in northern and western Thailand. However, research on population genetics is rear. In order to determine how much genetic diversity differs between northern and western populations in Thailand, this study aimed to examine the genetic variation of P. muticus using a molecular genetic approach. To achieve this goal, 123 molting feathers or egg shells were collected from four locations: Huai Hong Khrai Royal Development Study Center, Chiang Mai (HHK; n=27), Wiang Lor Wildlife Sanctuary, Phayao (WLO; n=47), Tapayalor Non-Hunting Area, Chiang Rai (TPL; n=27) and Huai Kha Khaeng Wildlife Sanctuary, Uthai Thani (HKK; n=22). This study found 23 (2.11%) variable nucleotides from 1,090 bps of the aligned mitochondrial D-loop (control region) sequences, resulting in 25 haplotypes, of which 13, 9, 9 and 7 haplotypes were from the WLO, TPL, HKK and HHK population, respectively. The haplotype frequency ranged from 0.79% - 40.65%. Overall diversity indices were 0.811 and 0.00314 for haplotype and nucleotide diversities, respectively. The results from mtDNA haplotype network and phylogenetic analyses revealed that P. muticus from northern and western populations were not clearly subdivided, regardless of their distribution ranges. In addition, the population genetic analyses showed low genetic difference (5.20%) and no significant differences in genetic diversity between the two populations. Moreover, low overall Fst value indicated that the population did not differentiated from each other. These results indicate that the wild populations of green peafowl in Thailand are not population subdivision. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สัตววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63462 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.858 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.858 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5571995023.pdf | 8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.