Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63481
Title: | การเตรียมโฟมพอลิไอโซไซยานูเรตเร่งปฎิกิริยาด้วยสารผสมของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนและโพแทสเซียมออกโทเอต |
Other Titles: | Preparation Of Polyisocyanurate Foams Catalyzed By Mixture Of Copper-Amine Complexes And Potassium Octoate |
Authors: | วรท รักศีล |
Advisors: | นวลพรรณ จันทรศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nuanphun.C@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการเตรียมระบบตัวเร่งปฏิริยาที่ไม่มีกลิ่นเหม็นเพื่อใช้เตรียมโฟมพอลิไอโซไซยานูเรต ระบบตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ คือ สารผสมของสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีนและโพแทสเซียมออกโทเอต การสังเคราะห์สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์-แอมีน ใช้ปฏิกิริยาจากปฏิกิริยาระหว่างคอปเปอร์แอซิเทตและแอมีน แอมีนที่ใช้ คือ เอทิลีนไดเอมีนและไตรเอทิลีนเตตระมีน นำตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้มาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเตรียมโฟมพอลิไอโซไซยานูเรต ซึ่งเตรียมโดยใช้ปฏิกิริยาระหว่างพอลิเมอริก4,4'-มีเทนไดฟีนิลไดไอโซไซยาเนตและพอลิอีเทอร์พอลิออล โดยเตรียมโฟมที่ค่าดัชนีไอโซไซยาเนต 160, 180 และ 200 ศึกษาเวลาที่ใช้ในการเกิดปฏิกิริยาของการเกิดโฟม 4 ช่วง คือ เวลาที่สารผสมเป็นครีม เวลาที่สารผสมเป็นเจล เวลาที่ผิวหน้าของโฟมไม่เกาะติดวัสดุสัมผัส และเวลาที่โฟมหยุดฟู จากผลการทดลองพบว่า ความสมบูรณ์ของปฏิกิริยาการเกิดโฟมดูได้จากร้อยละของปริมาณไอโซไซยาเนตที่ทำปฏิกิริยาซึ่งมีค่าที่สูง ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณจากเอฟทีไออาร์สเปกตรัมของโฟม สัณฐานวิทยาของโฟมแสดงว่าโฟมมีเนื้อที่ละเอียดสีสม่ำเสมอ เมื่อดูผลของการเร่งปฏิกิริยาและความหนาแน่นของโฟมที่ได้ พบว่า สารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์แอซิเทต-เอทิลีนไดเอมีน/โพแทสเซียมออกโทเอตเร่งปฏิกิริยาได้ดีกว่าระบบตัวเร่งปฏิกิริยาสารประกอบเชิงซ้อนคอปเปอร์แอซิเทต-ไตรเอทิลีนเตตระมีน/โพแทสเซียมออกออกโทเอต |
Other Abstract: | In this research, a catalyst system which have no odor for the preparation of polyisocyanurate foams was developed. The catalyst system used was a mixture of copper-amine complexes and potassium octoate. Copper-amine complexes were synthesized from the reaction between copper acetate and amines. The amines used are ethylenediamine and triethylenetetramine. Copper-amine complexes/potassium octoate system is used as a catalyst in the preparation of polyisocyanurate foams. Polyisocyanurate foams were prepared from the reaction between polymeric 4,4'-methanediphenyldiisocyanate and polyether polyol at the isocyanate indexes of 160, 180 and 200. The reaction times in the foam formation, namely cream time, gel time, tack-free time and rise time are studied. The completeness of the foaming reaction was determined from % NCO conversion which was high. This value was calculated from the FTIR spectrum of foam. Morphology of foams showed good texture and uniform color. From the results of the catalyst and the density of the foam. It was found that copper-ethylenediamine complex/potassium octoate system showed better catalytic activity than copper-triethylenetetramine complex/potassium octoate system. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63481 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5672074223.pdf | 6.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.