Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63561
Title: การหาค่าเหมาะที่สุดของภาวะการผสมต่อสมบัติทางกายภาพและการเสียดทานของผ้าเบรก
Other Titles: Optimization Of Mixing Conditions On Physical And Tribological Properties Of Brake Pads
Authors: กษิดิ์เดช รูปิยะเวช
Advisors: วันทนีย์ พุกกะคุปต์
พรนภา สุจริตวรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Wantanee.B@Chula.ac.th
Pornapa.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาวะการผสมวัตถุดิบอันได้แก่ อัตราเร็วรอบการหมุนของใบพัดการผสม เวลา และปริมาตรของส่วนผสมที่ทำการผสมต่อสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางกล และสมบัติการเสียดทานได้แก่ ความหนาแน่นบัลค์ของวัตถุดิบหลังผสม ความแข็ง ปริมาณรูพรุน ความถ่วงจำเพาะ โมดูลัสยืดหยุ่น สภาพอัดตัวได้ รวมทั้งอัตราการสึกหรอและสัมประสิทธิ์การเสียดทานของผ้าเบรก การทดลองนี้ผสมวัตถุดิบด้วยการปรับภาวะการผสม 3 ภาวะคือ อัตราเร็วรอบในการผสม (ที่ 3,000 4,500 และ 6,000 รอบต่อนาที) เวลาในการผสมวัตถุดิบ (ที่ 2, 4, 6 และ 8 นาที) และปรับปริมาตรวัตถุดิบที่ใช้ในการผสม (ที่ร้อยละ 35, 50 และ 65 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรของเครื่องผสม) จากการทดลองพบว่าการปรับเปลี่ยนภาวะการผสมทั้งอัตราเร็ว เวลา และปริมาตรที่ผสมวัตถุดิบทำให้ค่าความหนาแน่นบัลค์ของวัตถุดิบหลังผสมต่างกันไม่มากนัก โดยเปรียบเทียบแล้วเวลาในการผสมเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าความหนาแน่นบัลค์ของวัตถุดิบหลังผสมมากที่สุด และพบว่าสมบัติทางกายภาพ ทางกล และการเสียดทานของผ้าเบรก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อค่าความหนาแน่นบัลค์ของวัตถุดิบหลังผสมเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ จากการทดลองนี้พบว่าอัตราเร็วรอบ 4,500 รอบต่อนาที เวลาในการผสม 4 นาทีและปริมาตรการผสมที่ 65 เปอร์เซนต์โดยปริมาตรของเครื่องผสมเป็นภาวะการผสมที่เหมาะสม ที่อัตราเร็วรอบ 4,500 รอบต่อนาทีเนื่องจากให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานเสถียรที่สุด ในขณะที่เวลาในการผสม 4 นาที ปริมาตรในการผสมที่ร้อยละ 65 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรของเครื่องผสมเนื่องจากเป็นการผสมที่ใช้เวลาน้อยและได้ปริมาณในการผสมมากที่สุดตามลำดับ
Other Abstract: This research investigates the effects of mixing conditions i.e. rotating speed, mixing time and volume loading on physical, mechanical and tribological properties. Bulk density values of mixture were particularly focused, along with hardness, porosity, specific gravity, elastic modulus, compressibility, wear, and friction characteristics of automotive brake materials. In the experiment, mixing raw materials with three different conditions: impeller speed (3000, 4500, and 6000 rpm), mixing duration (2, 4, 6 and 8 min) and loading based on a mixer volume (35, 50 and 65 vol%) were determined using the formulated mixture composition. The results showed that the variation of mixing conditions on the bulk density values was fairly small. The most influential factor on bulk density was mixing duration. The variation in bulk density values of mixture on physical, mechanical and tribological properties of brake pads was not very significant. Mixing speed, mixing time and volume loading of the mixture of 4500 rpm, 4 minutes and 65 vol%, respectively, were the optimum mixing condition according to the experiment. The mixing speed of 4500 rpm gave the most stable friction coefficient meanwhile the latter two provided homogeneous mixing with the shortest time and largest volume, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63561
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.945
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.945
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6072159723.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.