Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63575
Title: การลดของเสียจากข้อบกพร่องประเภทความไม่สมบูรณ์ของการกดและรอยจากการปั๊มทับของแผ่นรองเครื่องเล่นซีดี
Other Titles: Reduction of defective from incomplete pressing and dent from re-pressing defects of CD player bracket
Authors: ปกรณ์ วิริยะกอบบุญ
Advisors: นภัสสวงศ์ โอสถศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Napassavong.O@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายรวมต่อหน่วยการผลิตที่เกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องประเภทความไม่สมบูรณ์ของการกด และรอยจากการปั๊มทับที่เกิดจากกระบวนการตัดเฉือนของแผ่นรองเครื่องเล่นซีดี ผู้วิจัยได้ศึกษาผลกระทบของ 6 ปัจจัยอันได้แก่ 1. แรงกำหนดของเครื่องปั๊ม 2. ความแข็งของยางยูรีเทน 3. ระยะห่างระหว่างขอบชิ้นงานและขอบแผ่นเหล็ก 4. อายุการใช้งานของแท่งตัดและแผ่นดายตัด 5. อายุการใช้งานของยางยูรีเทน และ 6. ความเร็วในการตัดเฉือน ที่มีต่อค่าใช้จ่ายรวมต่อหน่วยการผลิต โดยค่าใช้จ่ายรวมต่อหน่วยการผลิตเกิดจากผลรวมของค่าใช้จ่ายของของเสียจากข้อบกพร่องประเภทความไม่สมบูรณ์ของการกด และรอยจากการปั๊มทับ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงแท่งตัดและแผ่นดายตัด และค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนยางยูรีเทน ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า 1. แรงกำหนดของเครื่องปั๊มขนาด 80 ตัน เพียงพอในการรับแรงตัดเฉือนสำหรับชิ้นงานกรณีศึกษา 2. ระยะห่างระหว่างขอบชิ้นงานและขอบแผ่นเหล็ก ควรมีค่ามากกว่า 1.5 เท่าของความหนาของชิ้นงาน ซึ่งสามารถทำให้ระยะห่างเพียงพอได้โดยการลดขนาดของตัวบังคับแผ่นเหล็ก 3. ผลจากการทดลองแบบพื้นที่ผิวตอบสนองชนิดส่วนประสมกลางแบบ Faced-Center เพื่อหาค่าใช้จ่ายรวมต่อหน่วยผลิตที่ต่ำที่สุด พบว่าควรใช้อายุการใช้งานของแท่งตัดและแผ่นดายตัด อายุการใช้งานของยูรีเทน และความเร็วในการตัดเฉือนที่ค่าน้อย คือที่ค่า 30,000 สโตรก 30,000 สโตรก และ 15 สโตรกต่อนาที ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายของของเสียจากข้อบกพร่องประเภทความไม่สมบูรณ์ของการกด และรอยจากการปั๊มทับมีค่าต่ำที่สุด และจะทำให้ค่าใช้จ่ายรวมต่อหน่วยผลิตต่ำที่สุดด้วย เนื่องจากค่าใช้จ่ายของของเสียจากข้อบกพร่องประเภทรอยเป็นสัดส่วนที่มากในค่าใช้จ่ายรวม 4. ความแข็งของยางยูรีเทนไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายรวมต่อหน่วยการผลิต จากผลการดำเนินการวิจัยพบว่าค่าใช้จ่ายรวมต่อหน่วยผลิตลดลงจาก 5.832 บาทต่อชิ้น เป็น 0.177 บาทต่อชิ้น ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ 640,530 บาทต่อเดือน และหลังการปรับปรุงไม่พบของเสียจากข้อบกพร่องประเภทประเภทความไม่สมบูรณ์ของการกด และรอยจากการปั๊มทับ
Other Abstract: The objective of this research is to reduce total expense per unit related to incomplete pressing and dent from re-pressing defects of CD player bracket. This research studied the effect on total expense of six factors, which are 1. Nominal force of pressing machine 2. Hardness of urethane rubber 3. Distance between the edge of scrap strip and the edge of work piece. 4. Tool life of punch and die 5. Tool life of urethane rubber, and 6. Cutting speed. Related total expense per unit consists of defective expense from incomplete pressing and dent from re-pressing, maintenance expense of punch and die, and expense of replacing urethane rubber. The results were found that 1. Nominal force of pressing machine of 80 tons were enough to handle shearing force of the case study work piece. 2. Distance between the edge of scrap strip and the edge of work piece had to be greater than 1.5 times of work piece thickness. This distance could be accommodated by reducing the diameter of the stopper. 3. The result of the experiment using Faced-Center Central Composite Design suggested that the minimal total expense per unit could be obtained by using small tooling life of punch and die and tooling life of urethane rubber at 30,000 strokes, and low cutting speed of 15 spm. These levels resulted in the minimal defective expense because it was a major portion of the total expense. 4. The hardness of urethane rubber was not statistically significant to the total expense. After improvement, the total expense per unit was reduced from 5.832 baht per unit to 0.177 baht per unit. This improvement resulted in the expense reduction of 640,530 baht per month. In addition, there was no defectives found from incomplete pressing and dent from re-pressing defects. 
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63575
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1078
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1078
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770935321.pdf8.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.