Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/635
Title: ละครคุณสมภพ
Other Titles: Lakon Khun Somphop
Authors: ธีรภัทร์ ทองนิ่ม
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Surapone.V@Chula.ac.th
Subjects: สมภพ จันทรประภา
ละคร--ไทย
บทละครไทย
ละครดึกดำบรรพ์
ละครร้อง
ละครพูด
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษานาฏยลักษณ์ ตลอดจนรูปแบบวิธีทำงาน การสร้างงานละคร ของสมภพ จันทรประภา ที่เรียกกันว่า "ละครคุณสมภพ" โดยพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ตัวบท วิดีทัศน์บันทึกการแสดงละครการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน และประสบการณ์ตรงของผู้ศึกษา ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เลือกงานละคร 4 เรื่อง ได้แก่ ละครพูด เรื่อง ฉัตรแก้ว ละครร้อง เรื่อง สาวเครือฟ้า ละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง นางเสือง และละครพูดสลับลำ เรื่อง สามัคคีเภท มาใช้เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ด้านนาฏยวรรณกรรมนั้น เนื้อเรื่องละครคุณสมภพมีที่มาจาก 2 แหล่ง ด้วยกัน คือ ประวัติศาสตร์ และวรรณคดี สำหรับด้านนาฏยลักษณ์ นิยมใช้วิธีนำเสนอการเปิดเรื่อง 6 ลักษณะ ได้แก่ การเปิดเรื่องด้วยการบรรยาย หรือเกริ่นนำ การแสดงระบำหมู่ การบรรเลงเพลงนำอารมณ์ การขับลำนำ หรือเสภา การแสดงภาพนิ่ง (Tableaux Vivantes) และการเริ่มเรื่องทันที ในส่วนของการปิดเรื่องนั้น มี 2 ลักษณะ คือ การปิดเรื่องด้วยการสร้างอารมณ์โศกให้แก่ผู้ชม และการสร้างความประทับใจให้ติดตรึงตาผู้ชมด้วยนาฏยอลังการ อย่างไรก็ตาม แม้ละครคุณสมภพทุกเรื่องจะต้องมีการขับร้อง และ/หรือ บรรเลงเพลงไทยประกอบ แต่ต้นร่างตัวบทมักจะไม่มีการบรรจุเพลงลงไว้ เพราะผู้เขียนบทมักจะมอบต้นร่างตัวบทให้ครูดนตรี และครูขับร้อง ทำหน้าที่เป็นผู้บรรจุเพลงเสมอ ด้านการคัดเลือกผู้แสดงให้รับบทเป็นตัวละคร มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ คัดเลือกผู้แสดงก่อน แล้วจึงเขียนบทให้เหมาะกับบุคลิกลักษณะ ความงาม และความสามารถของผู้แสดงคนนั้นๆ หรือเขียนบทขึ้นก่อน แล้วจึงคัดเลือกผู้แสดงให้เหมาะสมลงตัวกับบทบาทที่จะต้องรับบทบาท สำหรับวิธีการซ้อม ส่วนใหญ่จะแยกซ้อมเฉพาะผู้แสดงเป็นตัวละครเอกเป็นรายบุคคลก่อน โดยฝึกหัดการตีท่ารำ การพูด เจรจา และการขับร้องกับครู และ/หรือ จากการหารือ และช่วยกันคิด ฝึกหัดโดยคณะผู้ร่วมงานเอง ส่วนผู้แสดงประกอบ ระบำ และกองทัพนั้น มักจะแยกซ้อมต่างหาก ต่อเมื่อถึงกำหนดวันซ้อม ณ เวที และ/หรือ สถานที่แสดงจริง จึงจะซ้อมเข้าเรื่องต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีการปรับเปลี่ยนท่ารำ การแปรแถว การตั้งซุ้ม และการแสดงให้เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง นาฏยลักษณ์ของละครคุณสมภพซึ่งปรากฏสู่สายตาผู้ชม ในส่วนที่เกี่ยวกับการแสดงนั้น มีลักษณะเด่นที่การร้อง พูด เจรจา ท่ารำ และแสดงกิริยาประกอบบทบริภาษ ตามศักดิ์ของตัวละคร และ/หรือ ตามสถานการณ์ของเรื่องและนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นใหม่ 3 ลักษณะ คือ ระบำหมู่ที่เน้นความงามทางนาฏยศิลป์ ระบำกองทัพที่คึกคักแข็งขันและขบวนแห่ซึ่งใช้ผู้แสดงจำนวนมาก ด้านการออกแบบ และการกำกับศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นทรงผม การแต่งหน้า เครื่องแต่งกาย ฉาก หรืออุปกรณ์ประกอบฉาก ก็ตาม จะมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อความถูกต้อง และ/หรือ ใกล้เคียงกับยุคสมัย และเชื้อชาติของตัวละครในเรื่อง เช่นเดียวกับการเขียนบทละคร เป็นเบื้องต้นก่อน ต่อเมื่อถึงขั้นตอนการสร้าง และ/หรือ ผลิตจึงจะปรับเปลี่ยนให้สะดวกแก่การผลิต และการแสดงละครอีกครั้ง โดยคำนึงถึงความงาม และความกลมกลืนกันของสีสันที่จะปรากฏสู่สายตาผู้ชมเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้เกิดนาฏยอลังการเป็นสำคัญ
Other Abstract: The aim of this thesis is to study characteristics of stage performances, work process and production of plays written by Somphop Chandraprabha, widely known as “Lakon Khun Somphop” (“plays by Khun Somphob”). The scripts, play performances recorded on video, interviews of the crew and my direct experience have been analyzed and I have chosen four plays for a case study. These four plays include Chatra Kaew—a dialogue play, Sao Krua-fah—a musical play, Nang Sueng—a Duk-dam ban or antiquity drama and Samukkhibhate—a combination of a dialogue and musical play. The study has found that in terms of literary background, the plots of Lakon Khun Somphob are derived from two sources—history and literature. As for performing characteristics, the induction is presented in six ways, namely, an introduction by a narration, a dance recital, a musical performance to enhance the mood, a poetic or a sepha recitation, tableaux vivantes and immediate beginning. The ending falls into two types—an ending which creates a sad mood in the audience or the grand finale that makes a strong impression on the audience. However, though all of Lakon Khun Somphop consist of melodies and/or accompanying Thai music, the drafts of the scripts would not contain any songs or music. The playwright would present the scripts to music teachers or singing masters to provide them with songs. The audition process was carried out in two ways—selecting the cast before writing a script to match with characteristics, attractive physical appearance and talent of the chosen performers, or writing the script before selecting the cast appropriate for the roles they were going to portray. In terms of rehearsal, performers who played major roles would rehearse individually. They had to practice dancing, reciting lines and dialogue and singing with their teachers and/or through discussions as well as co-operation and training with their staff. Those who played minor roles, dancers and members of the military troop would rehearse separately. On the fixed date when the rehearsal took place on stage and/or at the venue of the performance, a full cast would rehearse the play from the beginning until the end. There would be adjustment in dancing styles, the change in the row of performers, the place where performers would remain steadfast and their actions as appropriate. The distinctive characteristics of Lakon Khun Somphop were in their songs, dialogue, dance styles and actions accompanying the dialogue according to the status of the characters and/or the situations. Three kinds of accompanying performances were introduced—group dances emphasizing the aesthetics of dances, military dances to stress strength and vitality and processions which required a large number of cast. In terms of design and art directing which involved the hair-style, make-up, clothes, settings and props, an extensive study was done in advance, in the same way as script writing, for accuracy and/or for rendering the verisimilitude to the period and racial background of the characters. During the production, there would be adaptation or adjustment to suit the performance, with emphasis on beauty, the harmony of colours in order to create a majestically visual effect to the audience.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/635
ISBN: 9741762879
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Theeraphut.pdf12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.