Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63668
Title: ผลของ SO2 ต่อความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ที่ได้รับการปรับสภาพด้วยกรดกำมะถันในการกำจัด NO และโทลูอีนร่วมกัน
Other Titles: Effects of SO2 on the activity of V2O5/TiO2 catalyst modified with sulphuric acid  in co-removal of NO and toluene
Authors: ลิ้นจี่ พอสูงเนิน
Advisors: ธราธร มงคลศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Tharathon.M@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยา V2O5/TiO2 ที่ได้รับการปรับสภาพด้วยกรดกำมะถันในการกำจัด NO และโทลูอีนร่วมกัน การศึกษาแยกออกเป็น 3 ระบบ ได้แก่ 2 ระบบปฏิกิริยาเดี่ยวคือ ระบบการกำจัดโทลูอีน ระบบการกำจัด NO และระบบปฏิกิริยาร่วมคือ ระบบการกำจัด NO ร่วมกับการกำจัดโทลูอีน โดยทั้ง 3 ระบบ ใช้ SO2 ที่ 30, 90 หรือ150 ppm และใช้ O2 ที่ 5% หรือ 15% ในช่วงอุณหภูมิ 120-450°C พบว่า  ในระบบการกำจัดโทลูอีน ความเข้มข้น SO2 ไม่ส่งผลต่อความสามารถของตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดโทลูอีน แต่ส่งผลในทางลบเล็กน้อยต่อการเลือกเกิดของโทลูอีนไปเป็น CO2 และความเข้มข้น O2 ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการกำจัดโทลูอีนและการเลือกเกิดของโทลูอีนไปเป็น CO2 เพิ่มขึ้น  ในระบบการกำจัด NO ตัวเร่งปฏิกิริยามีความสามารถกำจัด NO ได้สูงที่อุณหภูมิ 300°C ความเข้มข้นของ SO2 และ O2 มีผลต่อการกำจัดเล็กน้อย  ในระบบปฏิกิริยาร่วม ความเข้มข้น SO2 ไม่ส่งผลต่อความสามารถของตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดโทลูอีน  แต่ส่งผลทางลบต่อการเลือกเกิดของโทลูอีนให้กลายเป็น CO2 และการกำจัด NO  ความเข้มข้น O2 ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการกำจัดโทลูอีนและการเลือกเกิดของโทลูอีนไปเป็น CO2  และยังทำให้การกำจัด NO เพิ่มขึ้นด้วย  เมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดโทลูอีน การกำจัด NO การเลือกเกิดของโทลูอีนไปเป็น CO2 ทั้งในระบบปฏิกิริยาเดี่ยวและระบบปฏิกิริยาร่วม พบว่า การกำจัดโทลูอีน การเลือกเกิดของโทลูอีนไปเป็น CO2 ในระบบปฏิกิริยาเดี่ยวสามารถกำจัดได้ดีกว่า ส่วนการกำจัด NO ในระบบปฏิกิริยารวมสามารถกำจัดได้ดีกว่า
Other Abstract: This research studied the activity of V2O5/TiO2 modified with H2O4 in co-removal of NO and toluene. The study was divided into 3 systems i.e. 2 single-reaction systems (the removal of toluene and the removal of NO) and a mixed reaction system (the simultaneous removal of NO and toluene).  All the systems used SO­2 at 30, 90 or 150 ppm, and O2 5% or 15%, in the temperature range 120-450 °C.  In the toluene removal system, SO2 concentrations do not affect catalytic activity in this reaction.  However, it has a little negative effect on the CO2 selectivity.  Increased O2 concentrations enhanced the removal of toluene and CO2 selectivity.  In the NO removal system, highest NO elimination was achieved at a temperature of 300°C.  SO2 and O2 concentrations have a slight impact on the NO elimination.  In the mixed reaction system, SO2 concentrations do not affect the ability of the catalyst in the elimination of toluene, but negatively affect the CO2 selectivity and the elimination of NO. Increased O2 concentrations affect the increase the NO removal and the CO2 selectivity.  When toluene and NO removals, CO2 selectivity in both single reaction systems and the mixed reaction system were compared, it is found that the removal of toluene and, CO2 selectivity in the single reaction system was better than in the mixed reaction system. The NO removal in the mixed reaction system, however, is better than in the single reaction system.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63668
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1184
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1184
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070295021.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.